โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

เดินหน้าประมูล 5 จี กสทช.สัญญาณต้องชัด

ฐานเศรษฐกิจ

เผยแพร่ 07 ธ.ค. 2562 เวลา 11.00 น.

 

เดินหน้าประมูล 5 จี

กสทช.สัญญาณต้องชัด

 

     สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเวทีรับฟังความเห็นสาธารณะ ร่างประกาศ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ย่าน 700 เมกะเฮิรตซ์ (MHz) 1800 MHz 2600 MHz และ 26 กิกะเฮิรตซ์ (GHz) เพื่อนำไปสู่การเปิดประมูลผู้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ 5 จีในวันที่ 16 ก.พ. 2563 โดยคลื่น 2600 MHz เป็นคลื่นที่ได้รับความสนใจมากที่สุดจากผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ เนื่องจากเป็นคลื่นที่มีศักยภาพทั้งในแง่ความกว้าง และความเหมาะสมด้านเทคนิคและอุปกรณ์ที่มีผู้ผลิตพร้อมรองรับในท้องตลาดทั้งอุปกรณ์เครือข่ายและเครื่องลูกข่าย และมีการใช้งานในสหรัฐฯและจีนแล้ว

 

     การประมูล 5 จีที่กำลังจะเกิดขึ้นกสทช. ได้ปรับราคาคลื่น 2600 MHz จำนวน 2700 เมกะเฮิรตซ์ จากเดิมใบอนุญาตละ 300 ล้านบาท เป็น 423 ล้านบาท โดยจะนำมาประมูล 27 ใบอนุญาต ใบอนุญาตละ 100 เมกะเฮิรตซ์ ผู้เข้าร่วมการประมูลต้องวางหลักประกันการประมูลเป็นจำนวนเงิน 507.6 ล้านบาท เคาะราคาเพิ่มขึ้นครั้งละ 22 ล้านบาท ส่วนคลื่นความถี่ย่าน 700 ราคาใบอนุญาตละ 8,792 ล้านบาท กำหนดวางหลักประกัน 2,637 ล้านบาท เคาะราคาเพิ่มครั้งละ 440 ล้านบาท

 

 

     ขณะที่คลื่นความถี่ย่าน 1800 ราคาใบอนุญาตละ 12,486 ล้านบาท ผู้เข้าร่วมการประมูลต้องวางหลักประกัน 4,994 ล้านบาท เคาะราคาเพิ่มขึ้นครั้งละ 25 ล้านบาท กำหนดประมูลได้สูงสุด 4 ใบอนุญาต และคลื่นความถี่ย่าน 2600 MHz ราคาเริ่มต้นการประมูล 1,862 ล้านบาท ผู้เข้าร่วมการประมูลต้องวางหลักประกันการประมูลเป็นจำนวนเงิน 1,862 ล้านบาท เคาะราคาเพิ่มขึ้นครั้งละ 93 ล้านบาท เป็นใบอนุญาตทั่วประเทศ มีอายุ 15 ปี โดยคลื่นย่านนี้ผู้เข้าร่วมการประมูลสามารถประมูลได้สูงสุด 10 ใบอนุญาต เคาะราคาเพิ่มขึ้นครั้งละ 93 ล้านบาท

 

     อย่างไรก็ตามยังมีความกังวลเกี่ยวกับการเปิดประมูลคลื่นความถี่ 2600 MHz ที่กสทช.กำหนดให้เอกชนแต่ละรายสามารถประมูลได้ถึง 100 เมกะเฮิรตซ์ ถือว่ามากเกินไป เนื่องจากคลื่นมีจำนวน 190 เมกะเฮิรตซ์เท่านั้น นั่นหมายความว่าจะมีเอกชนเพียง 1-2 รายเท่านั้นที่จะได้คลื่นความถี่นี้ไปให้บริการ แต่ผู้เชียวชาญด้านโทรคมนาคม “สืบศักดิ์ สืบภักดี” แห่งสำนักวิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพเชื่อว่าการประมูล 5 จีจะมีการแข่งขันด้านราคาที่ไม่ดุเดือดถึงขนาดต้องเคาะราคาเพื่อแย่งชิงคลื่นความถี่เหมือนเมื่อครั้งการประมูล 4 จีที่ผ่านมา การเปิดประมูลครั้งนี้ กสทช.จึงต้องส่งสัญญาณให้ชัดเจนว่า เป็นการนำคลื่นความถี่ ซึ่งเป็นสาธารณะสมบัติของประเทศที่มีอยู่ถูกนำไปใช้ประโยชน์ในการสร้างเครือข่าย 5จี เพื่อให้บริการแก่ประชาชน มากกว่าการแข่งขันด้านราคาที่สูงเกินจริง

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0