โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

เช็คตัวเอง คุณกำลังกลัวหรือนอยด์มากเกินไปรึเปล่า?

HealthyLiving

อัพเดต 07 พ.ย. 2561 เวลา 01.30 น. • เผยแพร่ 07 พ.ย. 2561 เวลา 08.00 น. • Healthy Living
See-doctor-now_thumnail.jpg

เป็นเรื่องปกติที่คนเราจะมีความวิตกกังวล หรือกลัวในบางสิ่งบางอย่าง แต่ถ้ามันเกิดแทบจะตลอดเวลา หรือเกิดกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นพิเศษ ความรู้สึกเหล่านั้นก็อาจไม่ปกติซะทีเดียวแต่อาจเป็นความผิดปกติบางอย่างของจิตใจที่สามารถเกิดขึ้นได้ในหลายรูปแบบ เช่น ความรู้สึกหวาดกลัวในเผชิญหน้าทางสังคมบางอย่าง หรือความวิตกกังวลอย่างหนักเกี่ยวกับสุขภาพ การงาน หรือครอบครัว
ความกลัวหรือวิตกกังวลที่ระดับที่ไม่ปกติมีได้หลายแบบ มาลองเช็คกันดูหน่อยว่า ความกลัวหรือวิตกกังวลของคุณนั้นเป็นในเรื่องใด และมันยังอยู่ในระดับที่สามารถรับมือได้เอง หรือต้องอาศัยความช่วยเหลือจากมืออาชีพแล้ว?
โรควิตกกังวลทั่วไป (Generalized anxiety disorder) 

 
คือความกลัวเกี่ยวกับเรื่องง่าย ๆ และปกติธรรมดาของชีวิตประจำวัน โดยที่บางครั้งอาจจะดูไม่มีเหตุผลหรือแรงกดดันใด ๆ เลย เช่น เรื่องเงิน สุขภาพ ครอบครัว หรือการทำงาน แต่ถ้าหากคุณมีความวิตกจริตจนถึงขั้นที่มักจะคิดหรือคาดการณ์ถึงสิ่งเลวร้ายที่สุดก่อน แม้ว่าเรื่องนั้น ๆ จะเป็นเพียงเรื่องเล็กน้อยที่ไม่น่าจะต้องกังวลก็ตาม และเป็นเรื่องยากที่จะควบคุมได้ความกลัวเหล่านี้ได้ คุณก็อาจก้าวข้ามความวิตกจริตปกติของคนธรรมดาไปแล้วก็ได้
เมื่อคุณไม่สามารถควบคุมความวิตกจริตเหล่านี้ได้ จนเริ่มส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน จนกระทั่งส่งผลไปยังร่างกาย ทำให้มีอาการต่าง ๆ อย่างเช่น รู้สึกอ่อนล้ามาเป็นพิเศษ ปวดหัว คลื่นไส้ กล้ามเนื้อเกร็ง ปวดกล้ามเนื้อ กลืนไม่ลง ท้องเสีย หายใจไม่ออก รวมทั้งส่งผลต่ออารมณ์ด้วย อย่างเช่นทำให้ไม่มีสมาธิ หงุดหงิด จิตใจไม่สงบ นอนไม่หลับ  
โรคกลัวการเข้าสังคม (Social Anxiety Disorder) 

  การกลัวการเข้าสังคมมีอาการคล้ายกับมีความอาย แต่มันค่อนข้างต่างกันสิ้นเชิง เพราะคนที่กลัวการเข้าสังคมในระดับที่ไม่ปกติจะไม่พยายามเข้าไปมีส่วนร่วมกับสังคมหรือสถานการณ์ต่าง ๆ เลย เพราะกลัวว่าจะทำเรื่องขายหน้า หรือน่าอับอายต่อหน้าคนอื่น ซึ่งสามารถเกิดได้ตั้งแต่เด็ก ๆ บางคนเมื่อโตขึ้นอาการก็อาจจะหายไปเองได้ ช่วงวัยรุ่นตอนต้นก็เป็นอีกช่วงวัยที่พบอาการผิดปกติแบบนี้ได้มาก บางคนแม้มีอายุมากแล้ว ก็ยังอาจมีอาการของโรคนี้ได้เช่นกัน
ความกลัวการเข้าสังคมสามารถเป็นอุปสรรคในการใช้ชีวิต ทำให้ขาดประสบการณ์ในหลาย ๆ เรื่อง และทำให้รู้สึกว่าตัวเองอ่อนแอ ไร้อำนาจ และมีความนับถือตนเองต่ำ ซึ่งสารถทำให้เกิดปัญหาอื่น ๆ ตามมาได้อีกในระยะยาว หากไม่ได้รับการเยียวยา
อาการของโรคหลัก ๆ ก็คือ มีความกลัวอย่างฝังลึกว่าจะโดนจ้องมอง หรืออาจจะโดนวิจารณ์ มีความกลัว กังวล เครียดเมื่อต้องอยู่ในสถานการณ์ทางสังคมที่ไม่คุ้นเคย ประหม่าเมื่อต้องเผชิญกับสถานการณ์ทางสังคมใหม่ ๆ และกลัวว่าจะมีคนรู้ถึงความประหม่านี้ และมักจะกังวลเมื่อต้องอยู่ในที่สาธารณะคนเดียว หรือประหม่าเมื่อต้องไปไหนมาไหนคนเดียว 

 
โรคแพนิค (Panic Disorder) 

 
โรคนี้มีความแตกต่างจากโรควิตกกังวลทั่วไปตรงที่ความวิตกกังวลหรือความกลัวอย่างรุนแรงจะเกิดขึ้นอย่างจู่โจม หรือเกิดตื่นตระหนก (Panic) ขึ้นอย่างทันทีโดยไม่คาดคิด มักจะเกิดขึ้นมาเองโดยไม่ทราบสาเหตุ สามารถเกิดขึ้นที่ไหนและเมื่อไหร่ก็ได้ สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาแม้ในขณะที่หลับ อาการแต่ละครั้งอาจจะเป็นอยู่ไม่นานก็หายไป แต่อาการจะกำเริบซ้ำ ๆ ได้อีกเป็นครั้งคราว จนทำให้ผู้ที่เกิดอาการนี้กลัวว่าตัวเองจะเสียชีวิต แต่ถ้าหากได้รับการรักษาอย่างจริงจังและต่อเนื่อง ก็จะสามารถช่วยให้ดำเนินชีวิตได้อย่างเป็นปกติสุข
บางรายอาจมีอาการตื่นตระหนกแบบนี้ 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ หรือบางรายที่เป็นมากก็อาจจะเป็นวันละหลาย ๆ ครั้ง โดยจะมีอาการทางร่างกาย คือ ใจสั่น หัวใจเต้นแรง มือสั่นหรือตัวสั่น เหงื่อแตก หายใจติดขัด หายใจไม่อิ่ม หรือแน่นในหน้าอก คลื่นไส้ ไม่สบายท้องหรือปั่นป่วนในท้อง รู้สึกมึนงง วิงเวียนศีรษะ โคลงเคลง หรือรู้สึกว่าตัวเองแปลกไป เช่น รู้สึกหนาวสั่น หรือร้อนวูบวาบไปทั้งตัว จนกลัวว่าจะควบคุมตัวเองไม่ได้ หรือกลัวว่าตัวเองจะเป็นบ้า และกลัวว่าจะเสียชีวิต
อาการทางกายบางอย่าง เช่น ใจสั่น ปวดหัว นอนไม่หลับ อาจคล้ายกับที่เกิดในผู้เป็นโรควิตกกังวลทั่วไป แต่มักจะมีอาการรุนแรงกว่า
ผู้มีอาการนี้มักจะพยายามหลีกเลี่ยงวัตถุ หรือสถานการณ์ที่เข้าใจว่าเป็นสาเหตุของการเกิดอาการ เช่น หากคิดว่าสถานที่ซึ่งมีผู้คนมาก ๆ ทําให้หายใจไม่ออกและเจ็บ แน่นหน้าอก ก็จะพยายามหลีกเลี่ยงการไปตลาด ห้างสรรพสินค้า หรือที่ใดก็ตามซึ่งมีผู้คนหนาแน่น
แต่คนส่วนใหญ่ที่เป็นโรคนี้ มักจะเข้าใจว่าตัวเองเป็นโรคที่เกี่ยวกับโรคลม จึงหันมาพึ่งอะไรก็ตามที่คิดว่าจะช่วยให้อาการดีขึ้นได้ เช่น ยาดม ยาหอม  หรือบางคนก็คิดว่าเป็นเพราะไม่ได้กินอาหารมื้อเช้า จึงเปลี่ยนเป็นกินอาหารเช้าทุกวัน หรือจะต้องมีคนไปเป็นเพื่อนเสมอเมื่อออกจากบ้าน เป็นต้น
โรคกลัวชุมชน (Agoraphobia)  

“อะโกรา (Agora)” เป็นชื่อของตลาดใหญ่ในสมัยโบราณ อะโกราโฟเบีย (Agoraphobia) จึงเป็นใช้คำที่เรียกอาการของการกลัวที่ชุมชน สถานที่โล่ง หรือสถานที่ซึ่งรู้สึกไม่คุ้นเคย โดยส่วนใหญ่จะเป็นที่สาธารณะ เช่น สนามกีฬา สถานีรถไฟใต้ดิน หรือห้างสรรพสินค้า เนื่องจากเป็นที่ซึ่งกว้างใหญ่ ผู้คนเยอะ ทำให้ควบคุมสถานการณ์ได้ยาก รวมถึงคิดว่าเป็นที่ซึ่งไม่สามารถได้รับความช่วยเหลือได้เมื่อมีอันตราย อาการของผู้เป็นโรคกลัวชุมชนก็คือ กลัวว่าจะไม่ได้รับความช่วยเหลือเมื่อมีปัญหาเวลาอยู่ในที่สาธารณะซึ่งโล่งแจ้งและมีคนเยอะ ๆ จนเกิดความวิตกกังวลอย่างรุนแรง ทำให้คน ๆ นั้นไม่กล้าอยู่คนเดียว ไม่กล้าที่จะไปไหนมาไหนตามลำพังหรือในกรณีที่รุนแรง ก็อาจถึงขั้นไม่กล้าที่จะออกไปนอกบ้าน หรือนอกพื้นที่ซึ่งตัวเองมีความคุ้นเคยและรู้สึกปลอดภัย และจำกัดตัวเองอยู่แค่ในสถานที่เหล่านี้เท่านั้น
โรคกลัว (Phobias) 

 
เราทุกคนก็ล้วนมีสิ่งที่เรากลัว อย่างเช่น แมงมุม ความสูง หรือกลัวหมอฟัน แต่คนส่วนใหญ่ก็จัดการกับความกลัวเหล่านี้ได้ แต่เมื่อคนเรากลัวอย่างใดอย่างหนึ่งมาก จนรู้สึกว่าส่งผลต่อชีวิต ก็อาจเข้าข่ายของการเป็น “โรคกลัว (Phobias)” ได้ครับ อาการคือมีความกลัวอย่างไร้เหตุผล เมื่อเห็น อยู่ใกล้ หรือได้ยินถึงสิ่งนั้น ๆ แล้วชวนให้รู้สึกไม่สบายตัว ไม่สบายใจ หรือการกลัวอะไรเล็ก ๆ น้อย ๆ ทั้งที่สิ่งเหล่านั้นไม่ได้มีอันตราย ซึ่งโรคนี้บางคนฟังแล้วอาจดูไร้สาระ แต่จริง ๆ แล้วสามารถกระทบทั้งอารมณ์และจิตใจของผู้ที่เป็นได้  เห็นมั้ยครับว่า ความกลัวหรือความวิตกกังวลของคนเรานั้น เกิดขึ้นได้หลายรูปแบบแต่ก็ล้วนส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นเมื่อเช็คอาการดูแล้วว่า คุณเข้าข่ายอย่างใดอย่างหนึ่งเหล่านี้ และไม่สามารถที่จะรับมือกับมันได้ด้วยตัวเอง การปรึกษาพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ไม่ว่าจะเป็นจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาคลินิก จะสามารถช่วยคุณในการรับมือกับมันได้ครับ และหากคุณไม่สะดวกในการออกไปข้างนอกเพื่อพบกับผู้เชี่ยวชาญ เทคโนโลยี Telemedicine สามารถช่วยให้คุณได้ปรึกษาพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญได้ในบ้านของคุณเอง และยังเป็นเทคโนโลยีที่มีความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวสูง ซึ่งทุกคนสามารถไว้วางใจได้ครับ สนใจในบริการ Telemedicine สามารถสอบถามได้ผ่านแอพพลิเคชั่น See Doctor Now เรามีพยาบาลวิชาชีพรอให้คำแนะนำ และช่วยเหลือคุณในเบื้องต้น โดยไม่มีค่าใช้จ่ายครับ 

ขอบคุณข้อมูลจาก See Doctor Now

     

เพิ่มช่องทางการรับข่าวสารและข้อมูลดี ๆ ผ่าน Line Official AZAYfan ที่จะช่วยทำให้ใกล้ชิดกันมากยิ่งขึ้น ได้ที่ 

เพิ่มเพื่อน
เพิ่มเพื่อน

       

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0