โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

เช็ก 6 สัญญาณส่อแวว “หมดไฟทำงาน”

Wealth Me Up

เผยแพร่ 19 ก.ค. 2562 เวลา 12.26 น. • Wealth Me Up

 

ใช้แรงทำเงิน & ให้เงินทำงาน กด Subscribe รอเลย…

Facebook | Line | Youtube | Instagram

 

ภาวะเมื่อยล้าหมดไฟ หรือ Burnout  มักจะเกิดกับบุคคลที่สะสมความเครียดจากเรื่องต่างๆ ไว้มากเกินไป โดยเฉพาะความเครียดที่เกิดจากการทำงาน และไม่ได้รับการแก้ไขอย่างเหมาะสม จนส่งผลกระทบต่อทั้งร่างกาย คือ นอนไม่หลับ รู้สึกเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย อาจมีอาการปวดศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน ปวดเมื่อยตามร่างกาย ประสิทธิภาพการทำงานถดถอยลง  และนำไปสู่การเกิดโรคซึมเศร้าได้

 

แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าเรากำลังอยู่ในภาวะหมดไฟในการทำงาน ?

 

เช็ก 6 สัญญาณส่อแววว่าจะหมดไฟทำงาน  

ใครสงสัยว่าตัวเองอยู่ในโหมดหมดไฟทำงาน สามารถสังเกตตัวเองได้ง่ายๆ ดังนี้ 

 

พฤติกรรมแบบไหนควรลด ละ เลี่ยง เพื่อไม่ให้เกิดภาวะหมดไฟทำงานง่ายขึ้น 

1.ทำงานอย่างหักโหม เพราะจะมีผลให้ร่างกายถูกใช้งานมาก เสื่อมโทรมเร็ว ภูมิต้านทานโรคจะลดลง

  • หอบงานกลับไปทำต่อที่บ้าน เพราะจะทำให้เวลาในการพักผ่อนของคุณกับคนในครอบครัวหายไป 
  • ท่องโลกโซเซียลยามว่าง  เพราะอาจเบียดบังเวลาพักผ่อน 
  • นำปัญหาในที่ทำงานกลับไปบ้านหรือนำปัญหาจากบ้านไปที่ทำงาน เนื่องจากพฤติกรรมเหล่านี้จะทำให้สะสมความเครียด รวมทั้งเบียดเบียนเวลาในการพักผ่อนให้น้อยลงไปด้วย

 

อยากเติมไฟในการทำงาน…ต้องทำอย่างไร 

แพทย์หญิงภรทิตา  เลิศอมรวณิช จิตแพทย์ประจำโรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมาราชนครินทร์ มีคำแนะนำดังนี้ 

1.ให้ยึดหลักสมดุลชีวิต แบ่งเวลาแต่ละวันออกเป็น 3 ส่วน คือทำงาน 8 ชั่วโมง นอนหลับพักผ่อนเพียงพอ 8 ชั่วโมง และอีก 8 ชั่วโมง ใช้เพื่อพักผ่อนหย่อนใจได้ทั้ง ส่วนตัว ครอบครัวหรือเพื่อนฝูง

  • ควรจัดลำดับงานสำคัญหรือเร่งด่วน
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยวันละ 30 นาที สัปดาห์ละอย่างน้อย 3 วัน 
  • รับประทานอาหารที่มี ประโยชน์ โดยเฉพาะประเภทผัก ผลไม้ ที่มีสารช่วยต้านอนุมูลอิสระได้ดี เเช่น ฝรั่ง ส้ม  มะขามป้อม พืชผักที่มีสีเขียวเข้ม เป็นต้น
  • พูดคุยสร้างอารมณ์ขันในหมู่เพื่อนร่วมงาน 

 6.เมื่อมีปัญหาเกี่ยวกับการทำงาน ให้ปรึกษาเพื่อนร่วมงานหรือหัวหน้างาน อย่าอาย เนื่องจาก การปรึกษาจะช่วยให้เราคลายข้อ คับข้องใจและหาทางออกได้เหมาะสมขึ้น

 

องค์การอนามัยโลก แนะนำให้จัดการสิ่งแวดล้อมในการทำงาน 

ขณะทีองค์การอนามัยโลก หรือ  WHO  แนะนำให้จัดการกับสิ่งแวดล้อมในการทำงาน ซึ่งต้องอาศัยวิสัยทัศน์และนโยบายของผู้บริหาร เช่น สร้างเป้าหมายเส้นทางอาชีพให้พนักงานอย่างชัดเจน สร้างการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจของพนักงาน นโยบายดูแลสุขภาพกายและใจของพนักงาน เพื่อช่วยเหลือและดูแลอย่างเหมาะสม 

อย่าลืม! องค์การอนามัยโลก ได้บรรจุอาการ หมดไฟในการทำงานเป็นโรคใหม่แล้ว  เพราะนี่คือเรื่องที่น่ากังวล และควรได้รับการดูแลทางการแพทย์ ก่อนจะขยายความรุนแรงไปยังส่วนอื่น ๆ ของชีวิตนอกเหนือจากการทำงาน

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0