โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

สุขภาพ

เชื่อหรือไม่? คนเราสามารถตายเพราะความเศร้าโศกได้

issue247.com

อัพเดต 04 เม.ย. 2562 เวลา 05.31 น. • เผยแพร่ 05 เม.ย. 2562 เวลา 00.00 น.

Photo Credit : Mike Blake/Reuters

เราไม่รู้หรอกว่าเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นกับเด็บบี้ เรย์โนลส์หรือไม่? แต่เรารู้ว่าความเศร้าโศกนั้นสามารถส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตได้อย่างลึกซึ้งเลยทีเดียว เพียงไม่กี่ชั่วโมงหลังจากที่แคร์รี่ ฟิชเชอร์ เสียชีวิตด้วยโรคหัวใจเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม ปี 2016 ก็มีรายงานว่านักแสดงหญิงเด็บบี้ เรย์โนลส์ ซึ่งเป็นคุณแม่ของแคร์รี่ก็เสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดในสมองขณะที่อายุ 84 ปีเช่นกัน ทอดด์ ฟิชเชอร์ ลูกชายของเรย์โนลส์กล่าวว่า “ตอนนี้ท่านไปอยู่กับแคร์รี่แล้วและเราทุกคนก็รู้สึกหัวใจสลาย แม่มีอาการเครียด “มากเกินไป” จากการเสียชีวิตของแคร์รี่”

แม้เราจะไม่สามารถยืนยันได้ว่าความทุกข์ใจอย่างสาหัสคือสาเหตุการเสียชีวิตของเรย์โนลส์ แต่ในทางการแพทย์เป็นไปได้ว่าความเครียดที่รุนแรงสามารถส่งผลกระทบต่อสุขภาพจนถึงแก่ชีวิตได้ ดร.โจเซ่ บิลเลอร์ ศาสตราจารย์และประธานศูนย์โรคหลอดเลือดสมองแห่งมหาวิทยาลัยชิคาโก้กล่าวว่า “ความเศร้าโศกถือเป็นประสบการณ์ส่วนตัวล้วนๆ” ความเศร้าโศกต่อการเสียชีวิตของคนสำคัญจะไปเพิ่มโอกาสเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด อันที่จริงมีการวิจัยเกี่ยวกับปรากฏการณ์ที่เรียกว่า “การตรอมใจตาย” โดยเมื่อคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเสียชีวิต อีกฝ่ายที่ยังมีชีวิตอยู่ก็มีจะโอกาสเสียชีวิตเพิ่มขึ้น

กลุ่มนักวิจัยพบว่าภายในหนึ่งเดือนหลังจากที่คู่สมรสของผู้เข้าร่วมการทดลองเสียชีวิต อีกฝ่ายที่ยังมีชีวิตอยู่จะมีโอกาสเสี่ยงในการเป็นโรคหลอดเลือดสมองหรือโรคหัวใจเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับผู้เข้าร่วมการทดลองที่ไม่ได้สูญเสียคู่สมรสของตัวเอง (แต่โอกาสเสี่ยงดังกล่าวจะลดลงไปเมื่อเวลาผ่านไป 30 วัน)

 

ภาวะหัวใจ “สลาย” และ “เปี่ยมสุข”

นอกจากนี้ก็ยังมีปรากฏการณ์ที่เรียกว่าภาวะ “หัวใจสลาย” หรือ Takotsubo Cardiomyopathy ซึ่งจะคล้ายคลึงกับอาการของโรคหัวใจ เช่น เจ็บหน้าอกและหายใจติดขัด เนื่องจากเกิดความตึงเครียดทั้งทางร่างกายและจิตใจ ปรากฏการณ์นี้สามารถเกิดขึ้นได้แม้ว่าจะไม่มีอาการหลอดเลือดหัวใจตีบ ภาวะ “หัวใจสลาย” ไม่ค่อยอันตรายจนถึงแก่ชีวิตและคนส่วนใหญ่ก็มักจะได้รับการฟื้นฟูอย่างรวดเร็วโดยที่ไม่มีการเสียหายจากภาวะความดันโลหิตต่ำ อาการเจ็บหน้าอก หรืออาการหายใจติดขัดในระยะยาวด้วย

แม้ว่าประสบการณ์ที่ไม่ดีในชีวิตมีแนวโน้มที่จะกระตุ้นให้เกิดภาวะหัวใจสลายได้มากกว่าประสบการณ์ดีๆ แต่ปรากฏว่าความเครียดที่เกิดจากประสบการณ์ดีๆ (เช่นงานเลี้ยงเซอร์ไพรส์วันเกิด) กลับสร้างปัญหาต่อสุขภาพหัวใจได้เช่นเดียวกัน ทั้งภาวะหัวใจ “สลาย” และ “เปี่ยมสุข” มักจะเกิดกับผู้หญิงเป็นส่วนใหญ่ อย่างไรก็ตามแม้ว่ากลุ่มนักวิจัยจะไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดแต่พวกเขาคิดว่าน่าจะมีการเชื่อมโยงระหว่างระดับเอสโตรเจนที่ลดลงของผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนกับภาวะหัวใจสลาย

แม้ว่าการเสียชีวิตจากภาวะหัวใจสลายจะเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นได้ยาก แต่อาการเศร้าโศกก็สามารถทำให้เกิดความเสียหายต่อหัวใจได้ในระยะยาวโดยเฉพาะถ้าคุณมีโอกาสเสี่ยงในการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจอยู่แล้ว จากการวิจัยเมื่อปี 2012 พบว่าผู้ที่รอดชีวิตจากภาวะหัวใจวายจะมีโอกาสเสี่ยงเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 21 หลังจากที่สูญเสียคนรักภายใน 24 ชั่วโมงและยังสูงกว่าคนปกติประมาณ 6 เท่าเมื่อเวลาผ่านไปอีกหนึ่งสัปดาห์ หนึ่งในบทสรุปสำคัญที่ได้จากการเสียชีวิตของเรย์โนลส์คือทั้งสมองและหัวใจมีการเปลี่ยนแปลงหลังจากที่เกิดความเศร้าโศก ดร.บิลเลอร์ กล่าวว่า “มนุษย์เราไม่ได้เป็นแค่ก้อนเนื้อแต่ยังมีอารมณ์ จิตใจ และจิตวิญญาณ มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีความซับซ้อนสุดๆ”

 

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0