โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

'เชฟรอน'เปิดทาง'ปตท.สผ.' ส่งมอบแหล่งเอราวัณ ปี65

กรุงเทพธุรกิจ

อัพเดต 22 มิ.ย. 2563 เวลา 09.41 น. • เผยแพร่ 22 มิ.ย. 2563 เวลา 09.27 น.

กลายเป็นปัจจัยที่เสริมสร้างความมั่นคงด้านพลังงานของไทย โดยการประมูลแหล่งเอราวัณและแหล่งบงกช ภาครัฐยังกำหนดเงื่อนไขสำคัญ ในช่วงรอยต่อของวันที่ 24 เม.ย. 2565 เวลา 00.01น. การผลิตก๊าซฯ ต้องไม่สะดุด และกำหนดผูกพันปริมาณการผลิตก๊าซฯขั้นต่ำ 10 ปีแรกของการผลิตหลังสิ้นสุดสัมปทานเดิมช่วงปี 2565-2566

สำหรับแหล่งเอราวัณ ต้องอยู่ที่ 800 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และแหล่งบงกช อยู่ที่ 700 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน จากปัจจุบันแหล่งเอราวัณ ผลิตก๊าซฯประมาณ 1,200 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และแหล่งบงกช ผลิต 900 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ทั้ง 2 แหล่ง คิดเป็น 60% ของปริมาณการผลิตก๊าซฯ ของประเทศ

159281858357
159281858357

ไพโรจน์ กวียานันท์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด ในฐานะผู้ดำเนินการ (Operator) แหล่งเอราวัณในปัจจุบัน ระบุว่า กระบวนการเปลี่ยนผ่านการดำเนินงานแหล่งเอราวัณ มีรายละเอียดซับซ้อน ต้องอาศัยความร่วมมือของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การผลิตก๊าชฯมีความต่อเนื่องและปลอดภัย ที่ผ่านมา บริษัทฯ พร้อมทำงานร่วมกับกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ และ ปตท.สผ. ในฐานะผู้ดำเนินการ(Operator) รายใหม่ อย่างต่อเนื่อง

โดยมีการลงนามข้อตกลงการเข้าพื้นที่ (Site Access Agreement) ฉบับที่ 1 เมื่อเดือน ส.ค. 2562 ระหว่าง เชฟรอนฯ กับ ปตท.สผ. ซึ่งถือเป็นการเปิดทางให้ ปตท.สผ.เข้าพื้นที่ของแหล่งเอราวัณ เพื่อเตรียมความพร้อมกิจกรรมต่างๆภายใต้ข้อตกลงนี้ ซึ่งปัจจุบันดำเนินการไปแล้วกว่า 90%

คาดว่า ในเร็วๆนี้ จะสามารถลงนามในข้อตกลงการเข้าพื้นที่ฉบับที่ 2 ซึ่งจะสนับสนุนให้ ปตท.สผ. เข้าพื้นที่เพื่อทำกิจกรรมที่มีความซับซ้อน เช่น การติดตั้งแท่นหลุมผลิต การขุดเจาะหลุม และการติดตั้งเรือกักเก็บปิโตรเลียม เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการผลิตเมื่อเข้ามาเป็นผู้ดำเนินการในปี 2565

นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังอยู่ในระหว่างหารือร่วมกับกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ และ ปตท. สผ. เพื่อดำเนินกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการส่งมอบแท่นและสิ่งติดตั้งให้แก่รัฐ รวมถึงกระบวนการรับสมัครและคัดเลือกพนักงานที่มีการพูดคุยอย่างต่อเนื่องเช่นกัน

ส่วนความคืบหน้าเรื่องการรื้อถอนแท่นผลิต ยืนยันว่า บริษัทฯมีความพร้อมที่จะดำเนินการ และที่ผ่านมาได้ดำเนินการไปบ้างแล้ว เช่น โครงการนำร่องการนำส่วนบนของขาแท่นปิโตรเลียม จำนวน 4 แท่นไปจัดการบนฝั่ง และในเร็วๆนี้ จะร่วมมือกับกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและศูนย์บริการวิชาการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศึกษาการนำขาแท่นปิโตรเลียมไปจัดวางเป็นปะการังเทียมเพื่อการอนุรักษ์ทะเลไทย

โดยจะนำขาแท่นปิโตรเลียมจำนวน 7 ขาแท่น ไปจัดวางที่บริเวณเกาะพะงัน จ.สุราษฎร์ธานี ในเดือน ก.ค.นี้ ซึ่งเป็นแนวทางการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลที่มีการดำเนินงานอยู่ในหลายพื้นที่ทั่วโลก

159281861260
159281861260

ไพโรจน์ มองว่า กิจกรรมการรื้อถอนจะช่วยให้เกิดการลงทุนและการจ้างงานโดยตรงและในธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องในช่วงรอยต่อการส่งมอบแหล่งเอราวัณให้ผู้ดำเนินการรายใหม่ ซึ่งนอกเหนือจากการนำส่วนบนของขาแท่นปิโตรเลียม 4 แท่นมาจัดการบนฝั่งแล้ว ในส่วนบนของขาแท่นที่นำขึ้นฝั่งได้ถูกนำไปจัดการที่สถานที่แยกชิ้นส่วนและจัดการวัสดุและของเสียจากการรื้อถอน (Dismantling Yard) ของผู้ประกอบการไทยในจ.ชลบุรี ซึ่งจะสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจอีกมาก เพราะไทยมีแท่นผลิตอยู่เกือบ 400 แท่น ที่อาจต้องทยอยรื้อถอนต่อไป

“บริษัทฯ มีเป้าหมายรื้อถอนแท่นผลิตและสิ่งติดตั้งที่รัฐไม่ได้เลือกที่จะนำไปใช้ประโยชน์ให้แล้วเสร็จอย่างปลอดภัยก่อนสิ้นสุดสัมปทานในเดือนเม.ย.2565 และยังมุ่งมั่นต่อพันธกิจจัดหาพลังงาน เพราะเรายังเป็นผู้ดำเนินการแปลงสัมปทานฯอื่นๆในอ่าวไทย ที่ไม่ได้หมดอายุในปี 2565 เช่น แหล่งไพลิน”

อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ ยังมองหาโอกาสการลงทุนและความเป็นไปได้ในการสนับสนุนแนวนโยบายด้านพลังงานของรัฐอื่นๆ เช่น การพัฒนาแหล่งปิโตรเลียมในพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลไทย-กัมพูชา การจัดหาและจำหน่ายก๊าซธรรมชาติเหลว(LNG) รวมทั้งการลงทุนที่เกี่ยวเนื่องกับ LNG เป็นต้น

159281863066
159281863066

พงศธร ทวีสิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. กล่าวว่า แผนการดำเนินงานของบริษัทฯในปีนี้ ยังมุ่งเน้นพันธกิจเปลี่ยนผ่านสู่การบริหารงาน 2 แหล่งก๊าซฯ คือ เอราวัณ และบงกช ก่อนที่ ปตท.สผ. จะเข้าไปดำเนินงานตั้งแต่วันที่ 24 เม.ย.2565 เป็นต้นไป โดยที่ผ่านมา ได้ประสานงานกับผู้รับสัมปทานในปัจจุบัน และกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติอย่างใกล้ชิด เพื่อให้การผลิตก๊าซฯมีความต่อเนื่อง และเป็นไปตามสัญญา PSC

“ขณะนี้ ปตท.สผ. อยู่ระหว่างการทำข้อตกลงการเข้าพื้นที่ เพื่อให้สามารถเข้าไปติดตั้งแท่นและเจาะหลุมผลิตได้ตามแผนการลงทุนที่กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติได้อนุมัติ”

159281865565
159281865565

ก่อนหน้านี้ สราวุธ แก้วตาทิพย์ อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ระบุว่า กรมฯ จะทำหน้าที่ประสานงานระหว่างผู้รับสัมปทานในปัจจุบัน และรายใหม่ เพื่อไม่การผลิตก๊าซฯช่วงรอยต่อต้องสะดุด โดยเชื่อมั่นในความเป็นมืออาชีพระดับโลกในอุตสาหกรรมสำรวจและผลิตปิโตรเลียมของเชฟรอน และประสบการณ์ของ ปตท.สผ. จะช่วยให้การเปลี่ยนผ่านการผลิตครั้งนี้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0