โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

“หุ้นกู้แปลงสภาพทั่วโลก”...โอกาสการลงทุนที่เข้าถึงได้แล้วผ่าน ‘กองทุนรวม’ !!!

Wealthy Thai

อัพเดต 09 ส.ค. 2566 เวลา 03.04 น. • เผยแพร่ 01 ธ.ค. 2564 เวลา 15.48 น. • กฤษฎิ์ รัตนธีระธาดา

“หุ้นกู้แปลงสภาพ (Convertible Bond)” สินทรัพย์การลงทุนหนึ่งประเภทที่ไม่ได้ถูกกล่าวถึงหรือมีออกมาให้นักลงทุนเห็นผ่านหูผ่านตาในที่แพร่หลายมากนัก ซึ่งในวันนี้เราจะทำความรู้จักกับสินทรัพย์ดังกล่าวไปพร้อมๆ กันว่ามีหน้าตาเป็นเช่นไร
โดยสินทรัพย์ดังกล่าวก็คือตราสารหนี้หรือหุ้นกู้ที่ออกโดยบริษัทเอกชน แต่ผู้ลงทุนสามารถเปลี่ยนจากตราสารหนี้ไปเป็นตราสารทุน (หุ้น) ของบริษัทผู้ออกตราสารตามราคาและเงื่อนไขที่ถูกกำหนดไว้
จึงทำให้ผู้ลงทุนนั้น สามารถได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนทั้งในรูปแบบ “ดอกเบี้ย” แต่ละงวดที่กำหนดไว้และโอกาสได้รับ ‘ผลกำไร’ หรือ ‘ขาดทุน’ จากส่วนต่างของราคาหุ้นในบริษัทดังกล่าวหลังจากแปลงเป็นหุ้นสามัญของบริษัท
แต่การลงทุน “หุ้นกู้แปลงสภาพ” ก็อาจเกิดความเสี่ยงได้เช่นกัน เพราะเมื่อใดก็ตามที่เราได้แปลงเป็นหุ้นสามัญก็ต้องแบกรับความผันผวนของราคาหุ้นที่อาจมีการปรับขึ้นลงได้ทุกเวลา
ถือเป็นสินทรัพย์อีกประเภทหนึ่งที่น่าสนใจในลักษณะของตราสารลูกผสมที่มีตลาดค่อนข้างใหญ่ในต่างประเทศ แต่ในไทยเองนั้นอาจไม่ค่อยมีให้เห็นกันเท่าไรนัก
จึงเป็นโอกาสดีที่มีการจัดตั้ง “กองทุนหุ้นกู้แปลงสภาพโลก” ขึ้นมาเป็นทางเลือกเพิ่มเติมให้กับนักลงทุนไทยกัน วันนี้ ทาง ‘Wealthythai’ มีข้อมูลที่น่าสนใจมาอัพเดทให้ฟังกัน

“บลจ.ทหารไทย” ส่ง ‘T-ES-ConBond’…ตอบโจทย์การลงทุน ‘หุ้นกู้แปลงสภาพทั่วโลก’

สำหรับใครที่ยังสนใจอยากจะลงทุนในปัจจุบันบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ในไทยก็ได้มีการเปิด “กองทุนหุ้นกู้แปลงสภาพโลก” ให้นักลงทุนได้เข้ามาหาโอกาสการคว้าผลตอบแทนเพิ่มเติม
โดยกองทุนที่เราจะนำมาแนะนำเป็น 2 กองทุนจาก 2 บลจ. ที่เป็นตัวเลือกให้แก่นักลงทุนที่สนใจหรือกำลังมองหาโอกาสและประสบการณ์ลงทุนในสินทรัพย์ประเภทดังกล่าว
เริ่มที่ ‘บลจ.ทหารไทย (TMBAM Eastspring)’ ที่ได้เริ่มกองทุนภายใต้ชื่อ “กองทุนเปิดธนชาต อีสท์สปริง Global Convertible Bond” (T-ES-ConBond)” ที่จะเป็นรูปแบบ Fund of funds โดยเน้นการลงทุนในกองทุนหลักที่มีการลงทุนในหุ้นกู้แปลงสภาพทั่วโลก
ซึ่งกองทุนหลักที่ T-ES-ConBondให้น้ำหนักลงทุนประกอบไปด้วย “Calamos Global Convertible Class Z (USD) Acc” ในสัดส่วน 50-60% บริหารจัดการโดย ‘Calamos Investments’ โดยกองทุนจะเน้นลงทุนใน Global Convertible bond ทั้งตราสารที่มีอันดับเครดิตเรทติ้ง Investment Grade และ High Yield
และอีกกอง Lazard Global Convertible Bond Investment Grade Class (A) Acc” ในสัดส่วน 40-50% บริหารจัดการโดย ‘Lazard Asset management’ ซึ่งกองทุนจะเน้นการลงทุน Global Convertible bond ที่มีอันดับเครดิตเรตติ้ง Investment Grade เท่านั้น

“บลจ.เอ็มเอฟซี” ส่ง ‘MCONVERT’ เพิ่มทางเลือกสู่การลงทุน ‘หุ้นกู้แปลงสภาพทั่วโลก’

ส่วนกองทุนถัดมาเป็นของ ‘บลจ. เอ็มเอฟซี’ ในชื่อ “กองทุนเปิดเอ็มเอฟซี โกลบอล คอนเวอร์ติเบิล บอนด์ (MCONVERT)” ที่จะเป็นรูปแบบ Fund of fundsโดยนโยบายจะเน้นลงทุนใน Global Convertible Bonds (CBs) หรือหุ้นกู้แปลงสภาพทั่วโลก ที่มีความน่าสนใจและเหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจโลกที่กำลังฟื้นตัวและการเติบโตของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก
โดยกองทุนหลักที่ถูกคัดเลือกแบ่งออกเป็น 2 กองทุน ประกอบไปด้วย กองทุน Lazard Convertible Global class PC H” สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐบริหารจัดการโดย ‘Lazard Frères Gestion SAS’ ที่มุ่งเน้นสร้างผลตอบแทนของกองทุนให้สูงกว่าผลตอบแทนของ ‘ดัชนี Thomson Reuters Convertible Global Focus’ โดยจะเน้นลงทุนในหุ้นกู้แปลงสภาพ (Convertible bond) ทั่วโลก
และอีกกองทุน Morgan Stanley Global Convertible Bond class Z” สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐบริหารจัดการโดย ‘Morgan Stanley Investment Funds Management (Ireland)’ ซึ่งจะมุ่งเน้นสร้างผลตอบแทนในระยะยาว โดยการลงทุนในหุ้นกู้แปลงสภาพ (Convertible bond) ที่ออกโดยบริษัทที่จัดตั้งหรือดำเนินธุรกิจในประเทศที่พัฒนาแล้ว (Developed Market) หรือไม่ก็ประเทศที่เป็นตลาดเกิดใหม่ (Emerging Market) ในรูปสกุลเงินต่างๆ ทั่วโลก
“สำหรับรายละเอียดข้อมูลกองทุนข้างต้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งที่ บลจ. ระบุและตั้งเงื่อนไขขึ้น ซึ่งยังมีรายละเอียดที่ผู้ลงทุนอาจจะต้องศึกษาเพิ่มเติมจาก ‘หนังสือชี้ชวน (Fund Fact Sheet)’ ในการพิจารณาลงทุน แต่ที่เราสามารถบอกนั้นความน่าสนใจของกองทุนประเภทก็ถือเป็นเครื่องมือที่ดีในการมาเป็นตัวช่วยเสริมให้แก่พอร์ตการลงทุนให้เราได้”

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0