โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

เจาะลึกประโยชน์โครงการประวัติศาสตร์ ‘ไฮสปีดเทรน’

TNN ช่อง16

อัพเดต 24 ต.ค. 2562 เวลา 03.12 น. • เผยแพร่ 24 ต.ค. 2562 เวลา 03.12 น. • TNN Thailand
เจาะลึกประโยชน์โครงการประวัติศาสตร์  ‘ไฮสปีดเทรน’
เจาะลึกประโยชน์โครงการประวัติศาสตร์ ก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ประเทศไทยและเศรษฐกิจไทยได้ประโยชน์อย่างไรบ้าง

วันนี้เป็นวันสำคัญที่จะมีการลงนามก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ระหว่างการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กับกลุ่มกิจการร่วมค้าเจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้งและพันธมิตร (CPH) ซึ่งถือได้ว่าเป็นโครงการประวัติศาสตร์  โดยโครงการนี้ประเทศไทยและเศรษฐกิจไทยได้ประโยชน์อย่างไรบ้าง 

ภาพรวมของโครงการ รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน 

- โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินเป็นโครงการที่ใช้โครงสร้างและแนวเส้นทางการเดินรถเดิมของระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแอร์พอร์ตลิงค์ (Airport Rail Link) 

- โดยจะก่อสร้างทางรถไฟขนาด 1.435 เมตร (Standard Gauge) ส่วนต่อขยาย 2 ช่วงจากสถานีพญาไท ไปยังสนามบินดอนเมือง และจากสถานีลาดกระบัง ไปยังสนามบินอู่ตะเภา พร้อมเชื่อมเข้าออกสนามบิน 

-รวมระยะทาง 220 กม. มีผู้เดินรถรายเดียวกัน 

-รถไฟความเร็วสูงมีความเร็วสูงสุด 250 กิโลเมตร/ชั่วโมง

 (สำหรับช่วงการเดินทางระหว่างเมือง คือ สถานีสุวรรณภูมิ ถึง สถานีอู่ตะเภา) และความเร็วสูงสุด 160 กิโลเมตร/ชั่วโมง (สำหรับช่วงการเดินทางในเมือง คือ สถานีดอนเมือง ถึง สถานีสุวรรณภูมิ) 

-สถานีรถไฟความเร็วสูงจำนวน 9 สถานี ได้แก่ สถานีดอนเมือง สถานีบางซื่อ สถานีมักกะสัน สถานีสุวรรณภูมิ สถานีฉะเชิงเทรา สถานีชลบุรี สถานีศรีราชา สถานีพัทยา และสถานีอู่ตะเภา

-โครงสร้างทางวิ่งของโครงการ ทางวิ่งโครงการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ปัจจุบัน (ARL) ระยะทางประมาณ 29 กิโลเมตร และทางวิ่งที่ต้องก่อสร้างใหม่ประมาณ 191 กิโลเมตร 

-เบื้องต้นจำแนกลักษณะรูปแบบโครงสร้างทางวิ่งทั้งโครงการเป็น 3 ประเภท ได้แก่

 1) ทางวิ่งยกระดับระยะทางประมาณ 181 กิโลเมตร 2) ทางวิ่งระดับดินระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร และ 3) ทางวิ่งใต้ดินระยะทางประมาณ 8 กิโลเมตร

การพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟในพื้นที่มักกะสันของ รฟท. ประมาณ 150 ไร่ ต้องเป็นการพัฒนาร่วมไปกับการพัฒนารถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในการสนับสนุนบริการรถไฟและบริการผู้โดยสาร รวมทั้งพื้นที่โดยรอบสถานีศรีราชา ประมาณ 25 ไร่ ซึ่งสามารถนำมาพัฒนาเชิงพาณิชย์ร่วมกับโครงการได้ทันที

กิจการร่วมค้าเจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้งและพันธมิตร

ซีพี 70%

ช.การช่าง / BEM 15%

crcc  10%

อื่นๆ 5%

เม็ดเงินลงทุนรวม (ล้านบาท) 

1.ระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานดอนเมือง สุวรรณภูมิ และอู่ตะเภา168,718.00 

2. การพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟ45,155.27

3. สิทธิการเดินรถไฟแอร์พอร์ตลิงก์   10,671.09 รวม224,544.36

หากมีโครงการรถไฟความเร็วสูง ประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิต ผลประโยชน์ที่ประเทศและประชาชนได้รับ

- ทรัพย์สินทั้งหมดตกเป็นของรัฐเมื่อสิ้นสุดสัญญา

- เกิดการจ้างงานในธุรกิจเกี่ยวเนื่องกว่า 100,000 อัตราใน 5 ปี

- เกิดการจ้างงานระหว่างก่อสร้าง 16,000 อัตรา

- ใช้วัสดุก่อสร้างภายในประเทศ

 (เหล็ก 1 ล้านตัน ปูน 8 ล้านลูกบาศก์เมตร)

-การถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ประเทศ

มูลค่าผลตอบแทนต่อเศรษฐกิจ ตลอดอายุโครงการ 652,152 ล้านบาท

-ผลตอบแทนทางการเงิน 127,985 ล้านบาท

-- มูลค่าเพิ่มการพัฒนาเศรษฐกิจ (รัศมี 2 กม.ตามเส้นทางรถไฟ) 214,621 ล้านบาท 

-- ภาษีเข้ารัฐเพิ่ม 30,905 ล้านบาท

- มูลค่าเพิ่มการพัฒนาเมืองการบินภาคตะวันออกประมาณ 150,000 ล้านบาท

-ลดการใช้น้ำมัน เวลา อุบัติเหตุ และสิ่งแวดล้อม 128,641 ล้านบาท

เกาะติดข่าวที่นี่
website: www.TNNThailand.com 
facebook : TNNThailand
twitter : @TNNThailand
Line : @TNNThailand
Youtube Official : TNNThailand

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0