โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

เจาะลึกข้อดี-ข้อเสียของ “บุหรี่ไฟฟ้า”

HonestDocs

อัพเดต 09 ต.ค. 2562 เวลา 19.53 น. • เผยแพร่ 09 ต.ค. 2562 เวลา 19.53 น. • HonestDocs
บุหรี่ไฟฟ้าข้อดี-ข้อเสีย
บุหรี่ไฟฟ้า คืออะไร? ถูกคิดค้นขึ้นมาได้อย่างไร? บุหรี่ไฟฟ้า อันตรายน้อยกว่าบุหรี่ธรรมดาจริงหรือ? ช่วยให้เลิกบุหรี่ธรรมดาได้ง่ายขึ้นจริงหรือไม่? ข้อดี ข้อเสียของบุหรี่ไฟฟ้ามีอะไรบ้าง?

บุหรี่ไฟฟ้า เป็นยาสูบชนิดใหม่ที่ผู้สูบจะได้รับสารนิโคตินที่ระเหยด้วยความร้อนจากไฟฟ้าเข้าสู่ร่างกาย แต่ไม่มีการเผาไหม้ใบยาสูบเหมือนกับบุหรี่ ปัจจุบันบุหรี่ไฟฟ้าเป็นที่นิยมมากขึ้นในหมู่ผู้สูบบุหรี่ ซึ่งเกิดคำถามมากมาย เช่น บุหรี่ไฟฟ้าดีกว่าบุหรี่ธรรมดาจริงไหม ช่วยลดอัตราการเกิดมะเร็งปอดได้จริงหรือไม่ นำมาสูบแทนบุหรี่เพื่อช่วยเลิกบุหรี่ได้จริงใช่ไหม 

บุหรี่ไฟฟ้าคืออะไร

บุหรี่ ถือเป็นสารเสพติดชนิดหนึ่งที่ไม่ผิดกฎหมาย แต่พิษภัยของมันร้ายแรงเสียเหลือเกิน เนื่องจากภายในมวนบุหรี่ประกอบด้วย "สารนิโคติน" ซึ่งเป็นสารที่ก่อให้เกิดการเสพติด มีอำนาจในการเสพติดเทียบเท่ากับเฮโรอีน ออกฤทธิ์กระตุ้นประสาทส่วนกลาง และหัวใจทำให้เส้นเลือดหดตัว ส่งผลให้มีความดันโลหิตสูงขึ้น ในทางการแพทย์การเสพติดสารนิโคตินจัดเป็นโรคเรื้อรังอย่างหนึ่งด้วย

สำหรับ บุหรี่ไฟฟ้า เป็นยาสูบแบบใหม่ที่จะใช้หลักการระเหยของสารนิโคตินเหลวด้วยความร้อนจากไฟฟ้า ไม่ใช่การเผาไหม้เหมือนกับบุหรี่แบบทั่วไป ทำให้ผู้สูบลดความเสี่ยงที่จะได้รับสารที่เป็นอันตรายต่อปอด เช่น น้ำมันดิน หรือทาร์ และคาร์บอนมอนอกไซด์  ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคมะเร็งปอดและโรคมะเร็งอื่นๆ ลงได้บ้าง แต่ยังไม่มีข้อมูลยืนยันว่า บุหรี่ไฟฟ้าปลอดภัยจากสารพิษ 100% 

บางคนหันมาสูบบุหรี่ไฟฟ้าแทนบุหรี่ธรรมดาเพราะหวังจะเลิกบุหรี่ได้ หรือเชื่อว่า มีอันตรายน้อยกว่า สำหรับเรื่องนี้ปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานการศึกษาที่ชัดเจนว่า บุหรี่ไฟฟ้าช่วยเลิกบุหรี่ได้ง่ายขึ้น ตามที่ผู้ผลิตได้กล่าวอ้าง ในต่างประเทศเด็กวัยรุ่นที่ไม่เคยสูบบุหรี่มาก่อนแต่ติดบุหรี่ไฟฟ้าเป็นจำนวนมากและเป็นจำนวนที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จึงเกิดเป็นปัญหาใหม่ๆ ที่ต่างประเทศเองก็เฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด และยังไม่เปิดให้มีการขายบุหรี่ไฟฟ้าอย่างถูกกฎหมาย สำหรับประเทศไทยเองก็เช่นกัน

ส่วนประกอบของบุหรี่ไฟฟ้า 

บุหรี่ไฟฟ้า ประกอบด้วย สารนิโคติน และสารอื่นๆ เช่น แอลกอฮอล์ โพรไพลีนไกลคอล กลีเซอรีน และสารให้กลิ่นรสชาติ เมื่อสัมผัส หรือสูดดมเข้าไปอาจทำให้เกิดการระคายเคืองที่ผิวหนัง ดวงตา และปอดได้

บุหรี่ไฟฟ้าเกิดขึ้นได้อย่างไร

หลายคนอาจเกิดความสงสัยว่า บุหรี่ไฟฟ้าเริ่มต้นคิดค้นมาได้อย่างไร และมีแรงจูงใจจากอะไร คำตอบก็คือ ความตื่นตัวและความตระหนักถึงควันบุหรี่มือสองที่อาจเป็นอันตรายต่อคนรอบข้าง  ทำให้เกิดการคิดค้นบุหรี่แบบใหม่ที่ก่อให้เกิดควันพิษน้อยที่สุดจึงเกิดเป็นบุหรี่ไฟฟ้าขึ้นมานั่นเอง ผู้สูบบุหรี่ประเภทนี้จะได้รับสารนิโคตินเข้าสู่ร่างกายโดยตรง ไม่ผ่านการเผาไหม้

บุหรี่ไฟฟ้าอันตรายน้อยกว่าบุหรี่ธรรมดาจริงหรือ

บุหรี่ไฟฟ้าใช้หลักการระเหยของสารนิโคตินเหลวด้วยความร้อนจากไฟฟ้า ไม่ใช่การเผาไหม้เหมือนกับบุหรี่แบบทั่วไป ซึ่งจะทำให้ผู้สูบลดความเสี่ยงที่จะได้รับสารที่เป็นอันตรายจากการเผาไหม้บางตัว เช่น น้ำมันดินหรือทาร์ คาร์บอนมอนอกไซด์ อย่างไรก็ตาม ล่าสุด (กันยายน 2562) ศูนย์ควบคุมโรค สหรัฐอเมริกา (CDC) ได้ดำเนินการตรวจสอบผู้ป่วยโรคปอดจำนวนหลายร้อยคน เพื่อหาความสัมพันธ์ของอาการป่วยกับการสูบบุหรี่ไฟฟ้า หลังจากที่มีผู้มีอาการไอ เหนื่อย แน่นหน้าอกจนต้องเข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาล รวมถึงมีผู้เป็นปอดอักเสบเฉียบพลันจนเสียชีวิต โดยคนเหล่านี้ต่างเคยสูบบุหรี่ไฟฟ้าทั้งสิ้น

แม้จะยังไม่สามารถสรุปผลที่แน่ชัดได้ แต่ที่แน่ๆ คือบุหรี่ไฟฟ้ามีส่วนผสมของนิโคติน ซึ่งเป็นสารที่ก่ออันตรายต่ออวัยวะต่างๆ หลายระบบ เช่น ระบบหลอดเลือดและหัวใจ และระบบทางเดินหายใจ 

ปกติแล้วแพทย์ผู้เชี่ยวชาญมองว่า นิโคตินเหลวที่บรรจุอยู่ภายในบุหรี่ไฟฟ้านั้นมีผลกระทบต่อระบบหลอดเลือดและหัวใจ เนื่องจากทำให้หลอดเลือดในร่างกายหดตัว ส่งผลให้เลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายไม่เพียงพอ ทำให้อวัยวะขาดออกซิเจน  

ไม่เพียงเท่านั้นนิโคตินยังกระตุ้นให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้นอันเป็นสาเหตุของการเป็นโรคเบาหวานและส่งผลต่อพัฒนาการของสมองของทารกในครรภ์ อีกทั้งการได้รับนิโคตินในระดับสูงมีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้อีกด้วย (60 มิลลิกรัม ในผู้ใหญ่ และ 6 มิลลิกรัม ในเด็กเล็ก) 

นอกจากนี้บุหรี่ไฟฟ้ายังสารอันตรายอื่นๆ หลายชนิด เช่น THC และ CBD ซึ่งเป็นสารสกัดจากกัญชา รวมไปถึง โลหะหนัก สารหนู สารกลุ่ม Formaldehyde และ Benzene เป็นต้น

บางงานวิจัยระบุว่า ไอระเหยของบุหรี่ไฟฟ้ามีขนาดอนุภาคที่เล็กกว่าบุหรี่ธรรมดาทำให้สามารถถูกสูดเข้าไปในปอดได้ลึกมากกว่า อนุภาพที่เล็กนี้จะจับเข้ากับเนื้อเยื่อปอดและดูดซึมเข้ากระแสเลือดได้อย่างรวดเร็วและยากที่กลไกธรรมชาติของร่างกายจะขับออกมาได้

ข้อเสียของบุหรี่ไฟฟ้า

1. เสพติดสารนิโคตินเหลวในบุหรี่ไฟฟ้า มีอำนาจเสพติดสูงเทียบเท่าเฮโรอีน 
มีผลกระตุ้นสมอง หัวใจ ทำให้เส้นเลือดหดตัว ความดันโลหิตสูงขึ้น และเสี่ยงต่อโรคมะเร็งระบบทางเดินหายใจ นอกจากนี้ยังมีสารอื่นๆ ที่อาจเป็นอันตรายต่อร่างกาย

2. ค่าใช้จ่ายเริ่มแรกสูงมาก
โดยจะเป็นค่าอุปกรณ์ที่ใช้ในการสูบบุหรี่ไฟฟ้านั่นเอง ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ที่หลักพันบาทจนถึงหลายพันบาท ขึ้นอยู่กับการจัดชุดและคุณภาพของอุปกรณ์ด้วย 

3. เมื่อสูบบุหรี่ไฟฟ้าแรกๆ อาจมีอาการแสบคอ 
เมื่อใช้ไปได้ประมาณ 5 วัน ถึง 2 สัปดาห์ก็จะเกิดความเคยชิน และสามารถสูบได้ตามปกติโดยไม่มีอาการแสบคอ

4. ความเคยชินกับการสูบบุหรี่แบบเดิมๆ
เมื่อเปลี่ยนมาเป็นบุหรี่ไฟฟ้าอาจเกิดความรู้สึกแปลกๆ ดังนั้นในช่วงแรกจึงอาจมีอาการอยากบุหรี่แบบเดิม จึงต้องใช้ความอดทนพอสมควรจนกว่าจะเกิดความเคยชินกับการสูบบุหรี่แบบใหม่

5. ต้องมีการบำรุงรักษาเป็นประจำ
เพื่อให้อุปกรณ์สูบบุหรี่ไฟฟ้าสามารถใช้งานได้อย่างยาวนานและคุ้มค่า ส่วนใหญ่จะนิยมถอดมาล้างทุกๆ 2 - 3 อาทิตย์ และเปลี่ยนหัวอะตอมทุก 1 ถึง 2 เดือน ส่วนนิโคตินเหลวที่บรรจุในขวดหากเก็บรักษาไม่ดี หรือเก็บไว้นานอาจจะมีเชื้อรา ทำให้ผู้สูบรับเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายเวลาสูบ

6. บุหรี่ไฟฟ้าไม่ได้ช่วยลดการสูบบุหรี่ธรรมดาลงเลย 
และอาจเพิ่มอัตราการสูบบุหรี่ให้คนที่ไม่เคยสูบบุหรี่มาสูบบุหรี่มากขึ้น

7. บุหรี่ไฟฟ้าก่อให้เกิด PM 2.5 สูงถึง 19,972 ไม่โครกรัม/มิลลิลิตร  ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคหัวใจขาดเลือด และเส้นเลือดสมองตีบ

บุหรี่ไฟฟ้าผิดกฎหมายหรือไม่

บุหรี่ไฟฟ้าถือเป็นสินค้าที่ไม่เสียภาษีของประเทศไทย แต่เป็นสินค้าต้องห้ามในการนำเข้าสู่ราชอาณาจักรกล่าวคือ ห้ามนำเข้า ห้ามขาย ห้ามให้บริการ ซึ่งไม่มีกฎหมายห้ามครอบครองบุหรี่ไฟฟ้า 

สาเหตุที่ห้ามครอบครองนั้นเป็นเพราะว่าบุหรี่ไฟฟ้าเป็นสินค้าไม่เสียภาษี ฉะนั้นการครอบครองสินค้าที่ไม่เสียภาษี มีความผิดตาม พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2469 หากฝ่าฝืน จำคุก 5 ปี ปรับไม่เกิน 5 แสนบาท 

อ้างอิงจริงพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 และประกาศกระทรวงพาณิชย์ พ.ศ. 2559 ตามลำดับ

  • มาตรา 27 ทวิ ผู้ใดช่วยซ่อนเร้น ช่วยจําหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อ รับจํานํา หรือรับไว้โดยประการใดอันตนรู้ว่าเป็นของที่ยังมิได้เสียค่าภาษีหรือของต้องจํากัด หรือของต้องห้าม หรือที่เข้ามาในราชอาณาจักรโดยยังมิได้ผ่านศุลกากรโดยถูกต้องก็ดี หรือเป็นของที่นําเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงอากร ข้อจํากัด หรือข้อห้ามอันเกี่ยวแก่ของนั้นก็ดี มีความผิดต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับเป็นเงินสี่เท่าราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว หรือทั้งจําทั้งปรับ
  • ประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง สินค้าต้องห้ามนำผ่านราชอาณาจักร พ.ศ. 2559 ข้อ 3 ให้สินค้าตามบัญชีท้ายประกาศนี้เป็นสินค้าต้องห้ามนำผ่านราชอาณาจักร พ.ศ. 2559 บารากู่และบารากู่ไฟฟ้าหรือบุหรี่ไฟฟ้า

ตามข้อกฎหมายแล้ว การมีบุหรี่ไฟฟ้าไว้ในครอบครอง ถือว่าผิดกฎหมายเช่นเดียวกับการขับรถผ่าไฟแดง ขี่จักรยานยนต์ไม่สวมหมวกกันน็อค จอดรถในที่ห้ามจอด และอื่นๆ แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจไม่สามารถจับกุมได้ในทุกกรณีด้วยปัจจัยและเงื่อนไขต่างๆ ดังนั้นถ้าหากไม่เคยสูบบุหรี่ไฟฟ้ามาก่อนก็ไม่แนะนำให้ลองเพราะทั้งผิดกฎหมายและไม่สามารถตอบได้ด้วยว่า ทำให้เลิกบุหรี่จริงได้จริงหรือ รวมทั้งบุหรี่ไฟฟ้าปลอดภัยต่อร่างกายจริงหรือไม่

👨‍⚕️⚕️👩‍⚕️⚕️ ค้นหาโรค อาการ ยา โรงพยาบาล คลินิก และอ่านบทความสุขภาพ เขียนโดยคุณหมอหรือผ่านการรีวิวจากคุณหมอแล้ว ที่ www.honestdocs.co และ www.honestdocs.id 

💪❤️ ไม่พลาดข้อมูลดีๆ ที่จะทำให้คุณแข็งแรงขึ้นทั้งกายและใจ คลิกที่นี่เพื่อแอดไลน์ @honestdocs หรือแสกน QR Code ด้านล่างนี้ และยังติดตามเราได้ที่ Facebook และ Twitter วันนี้

📱📰 โหลดแอป HonestDocs สำหรับ iPhone หรือ Android ได้แล้ววันนี้! จะอ่านบทความ จะเก็บบทความไว้อ่านทีหลัง หรือจะแชร์บทความให้คนที่เราเป็นห่วง ก็ง่ายกว่าเดิมเยอะ

เปรียบเทียบดีลสุขภาพ ทำฟัน และความงาม จาก รพ. และคลินิกกว่า 100 แห่ง พร้อมจองคิวผ่าน HonestDocs คุณหมอมือถือได้เลยวันนี้ ถูกกว่าไปเอง

ขอบคุณที่วางใจ ทุกเรื่องสุขภาพอุ่นใจ ให้ HonestDocs (ออเนสด็อกส์) คุณหมอมือถือ ดูแลคุณ ❤️

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0