โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

เงินเดือนหลักหมื่น เงินเก็บหลักล้าน

SET ตลาดหลักทรัพย์ฯ

เผยแพร่ 12 ธ.ค. 2562 เวลา 17.00 น. • โครงการให้เงินทำงานผ่านกองทุนรวม
เงินเดือนหลักหมื่นเงินเก็บหลักล้าน
เงินเดือนหลักหมื่นเงินเก็บหลักล้าน

การมีเงินเก็บ1 ล้านบาท” เป็นหนึ่งในความฝันแรก ๆ ของมนุษย์เงินเดือนที่เพิ่งเริ่มทำงาน  แต่กว่าจะมีเงินหลักล้านนั้น แน่นอนว่าไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะช่วงวัยเริ่มต้นทำงานที่รับเงินเดือนไม่กี่หมื่น การจะค่อย ๆ เก็บสะสมเงินก้อนให้กลายเป็นหลักแสน ไปจนถึงหลักล้าน  คนส่วนใหญ่มักจะล้มเลิกความตั้งใจไปก่อน เพราะหลายคนมักคิดว่าลำพังแต่ละเดือน แค่บริหารให้มีเงินใช้แบบไม่ต้องเดือนชนเดือนก็ยังลำบากเลย แล้วจะให้คิดถึงเป้าหมายสร้างเงินล้านได้อย่างไร…  

ความจริงแล้วมนุษย์เงินเดือนธรรมดาๆ เงินเดือนหลักหมื่น ก็มีเงินเก็บหลักล้านได้  ไม่ใช่เรื่องยาก แต่ด้วยการวางแผนการเงินอย่างมีวินัยและสม่ำเสมอ บวกกับถ้าเราเริ่มต้นถูกวิธีตั้งแต่อายุยังน้อย ก็จะช่วยให้ถึงจุดหมายได้เร็วขึ้น เหมือนกับการติดกระดุมเม็ดแรก ถ้าติดถูกต้องแล้ว กระดุมเม็ดต่อไปก็ง่าย

 

วางแผนปั้นเงินล้าน ฉบับมนุษย์เงินเดือน

ใครที่คิดว่า “เงินเดือนน้อยคงไม่มีวันเก็บเงินได้ถึงล้าน” ตัดความคิดนี้ไปได้เลย เพราะไม่ว่าอาชีพไหน ๆ รายได้เท่าไหร่ หากตั้งใจจริงก็สามารถไปถึงเป้าหมายล้านแรกได้ทั้งนั้น ยิ่งหากเราเป็นมนุษย์เงินเดือน ยิ่งมีข้อได้เปรียบตรงรายได้ที่มั่นคงและสม่ำเสมอทุกเดือน รู้ล่วงหน้าว่าเงินจะเข้าบัญชีวันไหน ทำให้เราสามารถวางแผนออมเงินก่อนใช้ได้ง่าย ที่สำคัญแม้ช่วงแรกของการทำงาน เงินเดือนอาจจะน้อย แต่เมื่อทำงานไปสักระยะ เงินเดือนเพิ่มขึ้น ก็ออมมากขึ้นได้ 

เป้าหมายสร้างเงินล้าน อาจดูเป็นฝันที่ใหญ่เมื่อมองเป็นเงินก้อน แต่หากลองปรับมุมคิดมองให้เป็นแผนระยะยาว เราจะเห็นว่า เราสามารถทยอยสะสมเงินก้อนเล็กๆ โดยให้ “การลงทุน” ที่มีโอกาสได้ผลตอบแทนที่มากกว่าเงินฝากธนาคาร เช่น หุ้น กองทุนรวม อสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น เป็นแรงส่งให้เราถึงเป้าหมายได้เร็วขึ้น 

เงินเดือนหลักหมื่นเงินเก็บหลักล้าน01
เงินเดือนหลักหมื่นเงินเก็บหลักล้าน01

ลงทุนเดือนละเท่าไหร่ ให้ถึงเป้าหมายเงินล้าน

“ให้เงินทำงานผ่านกองทุนรวม” เป็นวิธีลงทุนที่ง่ายและตอบโจทย์มนุษย์เงินเดือน เพราะกองทุนรวมมีหลายประเภทซึ่งมีนโยบายลงทุนในสินทรัพย์ที่หลากหลาย ทำให้สามามารถใช้กองทุนจัดพอร์ตลงทุน (Asset Allocation) เพื่อช่วยกระจายความเสี่ยงอีกทั้งยังมีผู้จัดการกองทุนที่มีความรู้และประสบการณ์ในการลงทุนคอยช่วยเลือกสินทรัพย์และติดตามสภาวะตลาดให้

กองทุนรวมเป็นสินทรัพย์ทางการลงทุนที่มนุษย์เงินเดือนเข้าถึงได้ง่าย สามารถลงทุนเพื่อสร้างผลตอบแทนต่อเนื่องในระยะยาว ควบคู่ไปกับการทำงานประจำ โดยในปัจจุบันยิ่งลงทุนได้สะดวกมากยิ่งขึ้น เพราะสามารถซื้อขายกองทุนผ่านระบบออนไลน์ได้เอง ทั้งแบบใช้เงินก้อน หรือจะเลือกทยอยลงทุนผ่านการหักบัญชีอัตโนมัติ ที่เราเรียกว่า Dollar Cost Average” (DCA)ซึ่งช่วยสร้างวินัยในการลงทุนได้เป็นอย่างดี

คำถามสำคัญคือ DCA เดือนละเท่าไหร่ดี? เพื่อไปถึงเป้าหมาย “เงินล้าน” ซึ่งทุกคนรู้ดีอยู่แล้วว่ายิ่งออมต่อเดือนมากเท่าไหร่ ยิ่งดีเท่านั้น แต่ใครเงินเดือนน้อย ก็สามารถเริ่มต้นด้วยเงินทีละน้อย ๆ ก่อนก็ได้

เช่น เงินเดือน 15,000 บาท อาจลองเริ่มต้นที่ 10% ของรายได้ หรือประมาณ 1,000 - 2,000 บาทต่อเดือน เมื่อทำงานได้สักพักเงินเดือนเพิ่มขึ้น ถึงเวลานั้นค่อยทยอยเพิ่มจำนวนเงินที่จะ DCA ให้สูงขึ้นตามสัดส่วนรายได้ของเรา

เงินเดือนหลักหมื่นเงินเก็บหลักล้าน02
เงินเดือนหลักหมื่นเงินเก็บหลักล้าน02

จะเห็นว่านี่คือความมหัศจรรย์ของการลงทุนอย่างต่อเนื่องในระยะยาว ซึ่งการที่เงินจะเพิ่มงอกเงยจนถึงเป้าหมายได้เร็วขึ้นนั้น มีอยู่ 3 ตัวช่วยที่สำคัญ ได้แก่จำนวนเงินลงทุนต่อเดือน ผลตอบแทนจากสินทรัพย์ที่ไปลงทุน และระยะเวลาลงทุน ยิ่งเริ่มลงทุนเร็วเท่าไหร่โอกาสที่จะไปถึงเป้าหมายก็จะเร็วขึ้นเท่านั้น     

ในทางตรงกันข้าม หากเราไม่ลงทุนเลย แต่เลือกที่จะเก็บเงินไว้กับตัวเพราะคิดว่าปลอดภัยที่สุด เมื่อเวลาผ่านไป…มูลค่าของเงินอาจลดลงด้วยอำนาจของเงินเฟ้อ นี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมเราถึงต้องวางแผนการเงิน แล้วนำมาต่อยอด "ลงทุน"

รู้แบบนี้แล้ว…อย่ามัวรีรอ ทุกคนสามารถเริ่มลงทุนได้เลยตั้งแต่วันนี้ แม้จะเป็นมนุษย์เงินเดือนธรรมดา ที่มีเงินเดือนหลักหมื่น แต่หากมีการวางแผนการเงินที่ดี รู้จักลงทุนอย่างสม่ำเสมอ และเลือกลงทุนในสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนสูง หนทางสร้างเงินล้านแรกไม่ใช่เรื่องเกินฝันแน่นอน และเมื่อสร้างเงิน 1 ล้านแรกได้แล้วโอกาสที่จะใช้ “เงินต่อเงิน” ก้าวสู่ล้านต่อ ๆ ไปก็จะไม่ใช่เรื่องยากสำหรับมนุษย์เงินเดือนอย่างเรา

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0