โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

เงินบาทแข็งค่า หลังธนาคารกลางสหรัฐ เปิดเผยรายงานการประชุม

ประชาชาติธุรกิจ

เผยแพร่ 24 พ.ค. 2561 เวลา 11.32 น.
เศรษฐกิจ07

ฝ่ายค้าเงินตราต่างประเทศ ธนาคารกรุงเทพ รายงานว่า ภาวะการเคลื่อนไหวตลาดปริวรรตเงินตราประจำวันพฤหัสบดีที่ 24 พฤษภาคม 2561 ค่าเงินบาทเปิดตลาดที่ระดับ 32.08/10 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวแข็งค่าจากระดับปิดตลาดในวันพุธ (23/5) ที่ระดับ 32.11/13 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ หลังจากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เปิดเผยรายงานการประชุมธนาคารกลางสหรัฐประจำวันที่ 1-2 พฤษภาคม 2561 โดยกล่าวถึงความเห็นของคณะกรรมการว่า มีแนวโน้มจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในเร็ว ๆ นี้ หากแนวโน้มทางเศรษฐกิจของสหรัฐ มีความสอดคล้องกับการคาดการณ์ของเฟด และไม่ได้กังวลต่ออัตราเงินเฟ้อที่สูงเกินกว่าระดับเป้าหมายที่ 2% พร้อมทั้งสนับสนุนว่าอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นเหนือระดับเป้าหมายนั้นเป็นผลดีต่ออัตราเงินเฟ้อในระยะยาว โดยตลาดมองว่ารายงานการประชุมดังกล่าวไม่ได้ส่งสัญญาณว่าเฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้

ในขณะเดียวกันตัวเลขภาคการผลิตของสหรัฐ มีการปรับตัวสูงขึ้น แม้ว่าตัวเลขจากภาคอสังหาริมทรัพย์จะส่งสัญญาณชะลอตัว โดยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ทั้งภาคการผลิตและภาคบริการของสหรัฐ ขยายตัวสูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ในเดือนพฤษภาคม โดยตัวเลขเบื้องต้นของ PMI ภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ที่ระดับ 56.6 ขณะที่ตลาดคาดการณ์ไว้ที่ระดับ 56.5 ในส่วนของภาคบริการ PMI เพิ่มขึ้นจากระดับ 54.6 ในเดือนเมษายนมาอยู่ที่ระดับ 55.7 ในเดือนพฤษภาคม สูงกว่าที่ตลาดคาดไว้ที่ระดับ 55.0 อย่างไรก็ตามยอดขาบ้านใหม่ชะลอลงมาที่ 662,000 หลังในเดือนเมษายน ต่ำกว่าคาดที่ 680,000 หลัง และต่ำกว่าตัวเลขในเดือนมีนาคมที่ระดับ 672,000 หลัง ทั้งนี้ในระหว่างวันค่าเงินบาทเคลื่อนไหวอยู่ในช่วงระหว่าง 32.04-32.15 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ ก่อนปิดตลาดที่ระดับ 32.03/32.05 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ

สำหรับค่าเงินยูโรในวันนี้ (24/5) เปิดตลาดที่ระดับ 1.1705/07 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร ปรับตัวอ่อนค่าลงจากราคาปิดตลาดในวันพุธ (23/5) ที่ระดับ 1.1724/25 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร หลังจากดัชนีผู้จัดการฝ่ายซื้อ (PMI) ทั้งภาคการผลิตและภาคบริการของกลุ่มยูโรโซนชะลอตัวลงมาอยู่ที่ระดับ 55.5 และระดับ 53.9 ตามลำดับ ทั้งนี้ต่ำกว่าตัวเลขในเดือนก่อนและที่ตลาดคาดการณ์ไว้ ในขณะเดียวกันความเชื่อมั่นผู้บริโภคในเดือนพฤษภาคมก็ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 0.2 ต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 0.5 และต่ำกว่าตัวเลขในเดือนก่อนที่ระดับ 0.3 ส่งผลให้ตลาดลดวามเชื่อมั่นในเศรษฐกิจยูโรโซน ส่งผลให้เงินยูโรอ่อนค่า ทั้งนี้ในระหว่างวันค่าเงินยูโรเคลื่อนไหวอยู่ในช่วงระหว่าง 1.1694-1.1746 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร ก่อนปิดตลาดที่ระดับ 1.1726/30 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร

ในส่วนของค่าเงินเยนวันนี้ (24/5) เปิดตลาดที่ระดับ 109.67/68 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวอ่อนค่าเล็กน้อยจากราคาปิดตลาดในวันพุธ (23/5) ที่ระดับ109.59/61 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ ก่อนจะกลับมาอ่อนค่าในช่วงสาย เนื่องจากความเสี่ยงที่สูงขึ้นหลังจากประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ยังไม่มั่นใจว่าการประชุมระหว่างผู้นำสหรัฐ และเกาหลีเหนือในเดือนมิถุนายนจะเกิดขึ้นหรือไม่ ทั้งนี้ในระหว่างวันค่าเงินเยนเคลื่อนไหวอยู่ในช่วงระหว่าง 109.35-109.74 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ ก่อนปิดตลาดที่ระดับ 109.69/71 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ

ข้อมูลทางเศรษฐกิจที่สำคัญที่ต้องจับตาดูในสัปดาห์นี้ ได้แก่ การประชุมนโยบายการเงินของอีซีบี (ECB) (24/5) จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงานรายสัปดาห์ (24/5) ยอดขายบ้านมือสองของสหรัฐ (24/5) แถลงการณ์ประธานเฟด สาขาแอตแลนตา (24/5) ดัชนีคอมโพสิตสำรวจภาคธุรกิจของเยอรมนี (25/5) แถลงการณ์ของพาเวล (Powell) ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (25/5)

สำหรับอัตราป้องกันความเสี่ยง (Swap point) ภาคเช้า 1 เดือนในประเทศอยู่ที่ -3.1/-2.8 สตางค์/ดอลลาร์สหรัฐ และอัตราป้องกันความเสี่ยง (Swap point) ภาคเช้า 1 เดือนต่างประเทศอยู่ที่ -3.5/-2.5 สตางค์/ดอลลาร์สหรัฐ

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0