โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

เงินขั้นต่ำเพื่อเกษียณต้องมี3ล้าน คนทำงาน60%มีไม่ถึงล้าน

Money2Know

เผยแพร่ 13 ธ.ค. 2561 เวลา 07.03 น. • money2know - เงินทองต้องรู้
เงินขั้นต่ำเพื่อเกษียณต้องมี3ล้าน คนทำงาน60%มีไม่ถึงล้าน
ก.ล.ต. เผย สมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพกว่า 60% มีเงินไม่ถึง 1 ล้านบาท สวนทางงานวิจัยที่บอกว่าขั้นต่ำของเงินเกษียณต้องมี 3 ล้านบาทขึ้นไป ปัญหาอยู่ที่ ผู้คนขาดการออม และไม่รู้จักการลงทุน

นายรพี สุจริตกุล เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.) กล่าวในงานแถลงเปิดตัวโครงการบริษัทเกษียณสุข ว่า เราพบปัญหาว่ามีสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพกว่า 60 เปอร์เซ็นต์ มีเงินเก็บเพื่อวันเกษียณ ไม่ถึง 1 ล้านบาท ซึ่งงานวิจัยระบุว่าเงินขั้นต่ำสุดที่ควรมีเพื่อการเกษียณ เพื่อให้ดำรงชีวิตต่อไปได้อยู่ที่ราว 3 ล้านบาท

สมาชิกไม่รู้ว่าจะต้องสะสมเงินในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเพื่อให้เพียงพอต่อการเกษียณ ทำให้จำนวนการออมนั้นมีน้อย ประชาชนเริ่มออมช้า และไม่มีทางเลือกสำหรับนโยบายการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนมากพอที่จะทำให้เงินออมเสริมโต

จำนวนสมาชิกกว่า 80% เลือกลงเงินในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ที่มีนโยบายการลงทุนความเสี่ยงต่ำหรือลงทุนในตราสารหนี้เป็นหลัก ซึ่งตรงนี้จะทำให้ เงินไม่พอใช้สำหรับชีวิตหลังเกษียณ รัฐก็ไม่สามารถเก็บภาษีมาเลี้ยงดูได้เพียงพอ ต่อไปก็จะเป็นลูกหลานของเราที่ต้องมารับภาระ

สิ่งที่พนักงานอยากได้คือการเกษียณที่มีความสุข การสื่อสาร การเทรน นายจ้างจึงต้องให้ความเข้าใจ ว่าทำอย่างไรถึงออมให้พอ และลงทุนให้เป็น แต่ตัวฝ่ายทรัพยกรมนุษย์ของบริษัทไม่ผลักดัน หรือไม่มีเครื่องมือพอ ก็จะเป็นเรื่องยากที่จะทำให้พนักงานเข้าใจ ฉะนั้น ก.ล.ต. กับตลาดหลักทรัพย์จึงร่วมกันจัดเครื่องมือ 'กล่องข้อมูล' หรือ Tool Box ขึ้นมาให้ไปใช้เผยแพร่ นำไปเตรียมเป็นโมเดลให้กับพนักงานบริษัทต่างๆ ผ่านโครงการ 'บริษัท เกษียณสุข'

สำหรับบริษัท เกษียณสุข จะมุ่งสนับสนุนนายจ้าง ให้ช่วยเหลือลูกจ้าง เพื่อมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีหลังเกษียณ ผ่านกลไกการออมในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ โดยนายจ้างมีบทบาทให้ความรู้แก่ลูกจ้างกระตุ้นให้เกิดการออม และสร้างองค์ประกอบที่เหมาะสมให้ลูกจ้างและยอมเต็มพิกัดจัดทำแผนเป็นเห็นเงินพอ

โดยในระยะแรกจะมีผู้เข้าร่วม 170 บริษัท ครอบคลุมสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพสามแสนคน และตั้งเป้าตัวเลขอย่างน้อย 250 บริษัทในปีต่อไป ซึ่งแต่ละบริษัทมีพัฒนาการที่แตกต่างกัน ซึ่งบริษัทไหนทำได้ดีก็จะทำให้เป็นตัวอย่างต่อไป เพราะเป็นเรื่องสำคัญ

ทั้งนี้ทาง ก.ล.ต ก็พยายามจัดทำให้มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพภาคบังคับ เพราะปัจจุบันออมไม่พอ และลงทุนไม่เป็น ตามแนวที่อยากจะเป็น ใครมีอยู่แล้วก็ทำต่อไป ส่วนใครไม่มีก็ต้องเข้าระบบใหม่ ความคืบหน้ามนขณะนี้กฎหมายอยู่ที่ สนช.กำลังพิจารณา

หลายเรื่องที่ ก.ล.ต. ทำทุกวันนี้ คือโครงสร้างพื้นฐานที่ต้องไปด้วยกันได้ เพราะพนักงานเชื่อถือคำพูดของผู้บริหาร ไม่ได้เชื่อ ก.ล.ต. หรือตลาดหลักทรัพย์มากเท่าไหร่นัก ซึ่งตอนนี้มีการพบซีอีโอแต่ละบริษัท แล้วเขาก็เห็นด้วยกับเรื่องนี้

ความต้องการเพื่อการเกษียณนั้น ขึ้นอยู่กับพนักงานแต่ละคน ว่าตั้งเป้าหมายมีเงินใช้หลังเกษียณเท่าไหร่ ฐานเงินเดือนเท่าใด แต่โดยขั้นต่ำของการออมไม่ควรจะต่ำกว่า 10% ให้เป็นขั้นพื้นฐาน

ด้าน ดร.ภากร ปีตธวัชชัย กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า จากคนวัยทำงานจาก 38 ล้าน มีเพียงแค่ 3 ล้านคนที่ออมผ่านกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ การเข้าถึงยังไม่เกิดขึ้น เราต้องมาช่วยกันคิดว่าทำอย่างไรให้อนาคตจะเกษียณสุขได้ ผ่านกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ(PVD)

รวมถึงการออมผ่านช่องทางอื่นๆ จึงเป็นอีกทางเลือกที่จะประชาชนได้มีเครื่องมือไปสู่จุดมุ่งหมายการเกษียณ เพื่อสุขภาพการเกษียณที่เข้มแข็ง

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0