โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

เครื่องแยกเนื้อตาลสุก ลดการใช้แรงงาน

รักบ้านเกิด

อัพเดต 08 ก.ค. 2563 เวลา 08.04 น. • เผยแพร่ 08 ก.ค. 2563 เวลา 08.04 น. • รักบ้านเกิด.คอม

วิธีการแยกเนื้อตาลสุกเพื่อจำหน่ายในปัจจุบัน คือการนำเต้าตาลสุกมาแยกเนื้อที่ติดอยู่ในเส้นใยของตาล โดยใช้ตะกร้าหรือช้อนในการขยี้หรือขูดเพื่อแยกเนื้อตาลสุกออกมา จากนั้นนำเนื้อตาลที่ได้ไปแปรรูปหรือจำหน่าย โดยขั้นตอนดังกล่าวยังใช้แรงงานคนเป็นหลัก ทำให้เสียเวลาและแรงงานในการแยกเนื้อตาลสุก ดังนั้น 2 ฝาแฝด นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ภาควิชาวิศวกรรมเกษตร คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี "บอย" นายศุภณัฐ และ "บิ๊ก" นายสุกฤษฎิ์ สร้อยแม้น ได้ออกแบบและพัฒนาเครื่องแยกเนื้อตาลสุกขึ้นมา เพื่อลดเวลาและแรงงานในการแยกเนื้อตาลสุก และช่วยพัฒนาผลิตภัณฑ์วิสาหกิจชุมชนของประเทศไทยให้มีความเข้มแข็งต่อไป โดยมี ผศ.ดร.จตุรงค์ ลังกาพินธุ์ และ ผศ.ภูรินทร์ อัครกุลธร เป็นที่ปรึกษาผลงานชิ้นนี้

Plant/7283_1.jpg
Plant/7283_1.jpg

2 ฝาแฝด เจ้าของไอเดีย เล่าว่า จากการศึกษาข้อมูลขนาดของพันธุ์ตาลที่จำหน่ายในท้องตลาด มุมของแรงเสียดทานภายในลูกตาลปัญหาและความต้องการของเกษตรกรในการแยกเนื้อตาลสุกในการแปรรูปและจำหน่าย ได้นำมาเป็นแนวคิดในการออกแบบ โดยโครงสร้างเครื่อง ประกอบด้วย ชุดแยกเนื้อตาล ซึ่งชุดแยกเนื้อตาลมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 450 มิลลิเมตร ช่องป้อนลูกตาล ช่องทางออกเนื้อตาลสุกและลูกตาลและระบบส่งกำลัง โดยใช้มอเตอร์ไฟฟ้าขนาด 1 แรงม้าเป็นต้นกำลัง
 

Plant/7283_2.jpg
Plant/7283_2.jpg

หลักการทำงานของเครื่องเริ่มจากผู้ทำงานป้อนลูกตาลสุกเข้าในช่องป้อนลูกตาลทางช่องหน้าของเครื่องและเติมน้ำสะอาดเข้าไปในเครื่อง หลังจากนั้นลูกตาลสุกจะเข้าสู่ชุดแยกเนื้อตาล เนื้อตาลสุกที่ผ่านการแยกเนื้อตาลจะถูกลำเลียงลงทางช่องหน้าของเครื่อง จากผลการทดสอบพบว่าเครื่องต้นแบบสามารถทำงานได้ดีที่ความเร็วรอบที่ใช้ขับเคลื่อนชุดแยกเนื้อตาล 280 รอบต่อนาที มีเปอร์เซ็นต์การแยกเนื้อตาลสุก 96.8% มีความสามารถในการทำงาน 37.9 กิโลกรัมต่อชั่วโมง มีอัตราการสิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้า 0.72 กิโลวัตต์-ชั่วโมง และจากการวิเคราะห์เชิงเศรษฐศาสตร์วิศวกรรมพบว่าเมื่อใช้เครื่องต้นแบบทำงาน 1,440 ชั่วโมงต่อปี มีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยของเครื่อง 3 บาทต่อกิโลกรัม ระยะเวลาคืนทุน 40 วัน และการใช้งานที่จุดคุ้มทุน 32 ชั่วโมงต่อปี
เป็นนวัตกรรมภูมิปัญญาเด็กไทย ที่สามารถนำมาปรับใช้เพื่อลดการใช้แรงงานคน เกษตรกร หรือผู้ประกอบการท่านใดสนใจสามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่ "บอย" นายศุภณัฐ โทร.08-3754-6684 และ "บิ๊ก" นายสุกฤษฎิ์ โทร.08-7890-9749

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0