โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

เครื่องสำอางครองส่วนแบ่งถึง 60% ในตลาดยา เวชภัณฑ์ และเครื่องสำอางของไต้หวัน

BLT BANGKOK

เผยแพร่ 13 ก.ค. 2563 เวลา 12.06 น. • BLT Bangkok
เครื่องสำอางครองส่วนแบ่งถึง 60% ในตลาดยา เวชภัณฑ์ และเครื่องสำอางของไต้หวัน

เครื่องสำอาง นับเป็นอุตสาหกรรมที่ได้รับความสำคัญอย่างสูงในประเทศไต้หวัน โดยปี 2562 มูลค่าค้าปลีกสินค้ายา เวชภัณฑ์ และเครื่องสำอางของไต้หวันมีมูลค่ารวมประมาณ 198,102 ล้านเหรียญไต้หวัน หรือ 209,998 ล้านบาท

เครื่องสำอางครองส่วนแบ่งร้อยละ 50-60 ในกลุ่มสินค้าหมวยยาเวชภัณฑ์ และเครื่องสำอางของไต้หวัน

ซึ่งจากการสำรวจของสำนักสถิติ กระทรวงเศรษฐกิจไต้หวัน (MOEA) พบว่า
สินค้าเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์บำรุงผิวเป็นสินค้าที่ครองสัดส่วนมากที่สุดของสินค้าในหมวดยา เวชภัณฑ์ และเครื่องสำอาง ถึงประมาณร้อยละ 50-60 โดยเมื่อ 3 ปีที่แล้ว TAITRA (Taiwan External Trade Development Council) ซึ่งเป็นหน่วยงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศของรัฐบาลไต้หวัน ได้ผลักดันอุตสาหกรรมเครื่องสำอางของประเทศด้วยการจัดตั้ง Taiwan Beauty Alliance ซึ่งเป็นวิธีการทำการตลาดแบบเป็นกลุ่มก้อน แต่ละปีจะมีการคัดเลือกผู้ประกอบการจำนวนประมาณ 10 กว่ารายมารวมตัวกันเป็นทีม

เพื่อเป็นทัพหน้าผลักดันอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์เสริมความงามของไต้หวันในเวทีนานาชาติ และเป็นการสร้างความรับรู้ของ Taiwan Beauty ในตลาดโลก หลังจากที่ดำเนินโครงการมาเป็นเวลา 3 ปี จนอุตสาหกรรมนี้มีความเข้มแข็ง และมั่นคงในเบื้องต้นแล้ว ก็ได้ยกระดับเพิ่มขึ้นด้วยการจัดกิจกรรมที่เน้นการให้ความสนับสนุนแก่ผู้ประกอบการทั้งอุตสาหกรรมในประเทศแทน เช่น การจัดงานแสดงสินค้า Taiwan International Beauty Show

นักท่องเที่ยวไทย มีส่วนในการกระตุ้นตลาดเครื่องสำอางของไต้หวัน

เหตุผลหนึ่งที่ทำให้ตลาดสินค้าเครื่องสำอางของไต้หวันโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง มาจากการที่มีนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางมาท่องเที่ยวในไต้หวันมากขึ้น เพราะสินค้าเครื่องสำอางมักจะเป็นหนึ่งในรายการ Buying List ของเหล่านักท่องเที่ยวต่างชาติที่มาเยือน โดยเมื่อปีที่ผ่านมาไต้หวันมีนักท่องเที่ยวต่างชาติมาเยือนสูงเป็นประวัติการณ์ที่ 11.86 ล้านคน โดยนักเดินทางจากไทยเองก็เป็นส่วนหนึ่งในจำนวนนี้ถึง 410,000 คน

อิทธิพลของซีรีส์เกาหลีต่อตลาดเครื่องสำอางไต้หวัน

นอกจากจะสร้างกระแสให้คนไทยติดตามกันทั้งประเทศแล้ว ซีรีส์เกาหลีนับเป็นอีกอุตสาหกรรมบันเทิงที่ได้รับความนิยมสำหรับชาวไต้หวัน โดยผู้บริโภคส่วนใหญ่ในไต้หวันได้รับอิทธิพลเป็นอย่างมาก จากการใช้ลิปสติกของตัวละครที่ปรากฏตัวในละครโทรทัศน์ของเกาหลีใต้ จนกลายเป็นกระแสนิยมในกลุ่มผู้หญิงของไต้หวัน กอปรกับไลฟ์สไตล์ของผู้หญิงไต้หวันในปัจจุบันจะใช้ชีวิตแบบค่อนข้างจะ
รีบเร่ง ส่วนใหญ่จึงเน้นการแต่งหน้าแบบง่าย ๆ ลิปสติกจึงกลายมาเป็นไอเท็มสำคัญ

โดยข้อมูลจาก Euromonitor International เผยว่าแบรนด์ที่ครองสัดส่วนตลาดมากที่สุดสำหรับสินค้าเครื่องสำอาง คือเมย์เบลลีน (Maybelline) จากฝรั่งเศส รองลงมาคือคริสเตียน ดิออร์ (Christian Dior) ชาแนล (Chanel) โซฟิน่า (Sofina) เอสเต้ ลอเดอร์ (Estee Lauder) เคท โตเกียว (Kate Tokyo) แมค (Mac) และอีฟส์ แซงต์ โลรองต์ (Yves Saint Laurent) ตามลำดับ

สร้างทางลัดให้แบรนด์ดัง ด้วยการตั้งบริษัทในประเทศที่มีความน่าเชื่อถือทางด้านสินค้าเครื่องสำอาง

แบรนด์เครื่องสำอางไต้หวันหลายแบรนด์มีวิธีการใช้กลยุทธ์การตลาดทาง
ลัด โดยจัดตั้งบริษัทในประเทศที่มีความน่าเชื่อถือทางด้านสินค้าเครื่องสำอาง
ส่วนโรงงานผลิตจะอยู่ในไต้หวันหรือประเทศอื่นก็ได้ ซึ่งจะเห็นได้จากกลยุทธ์ในการทำการตลาดของ Timeless Truth (TT) ซึ่งเป็นแผ่นมาส์กหน้าแบรนด์ไต้หวัน แต่จดทะเบียนที่ประเทศฝรั่งเศส แล้วค่อยขายกลับมาไต้หวันอีกที เช่นเดียวกับบริษัท Chia-Lin Pau Chemical ของไต้หวัน ที่เริ่มจากการจดทะเบียนแบรนด์ Kate Tokyo ที่ญี่ปุ่น แต่ดังไปทั่วเอเชีย

โอกาสของตลาดเครื่องสำอางไทยในไต้หวัน

เครื่องสำอางแนวกรีนและผู้สูงวัยกำลังมาแรง จากการที่แนวคิดด้านการรักษาสิ่งแวดล้อมได้รับความสำคัญมากขึ้น และสาว ๆ ไต้หวันเอง ก็ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มากเช่นกัน ถือเป็นโอกาสดีของผู้ผลิตเครื่องสำอางหรือผลิตภัณฑ์บำรุงผิว
จากประเทศไทย ที่จะใช้ข้อได้เปรียบของการมีวัตถุดิบจากธรรมชาติ และสมุนไพรอยู่จำนวนมาก มาพัฒนาสินค้าหรือบรรจุภัณฑ์ให้มีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เพื่อเจาะตลาดไต้หวัน

นอกจากนี้ การที่ไต้หวันเป็นสังคมผู้สูงอายุ โดยมีประชากรที่อายุ 65 ปีขึ้นไปประมาณ 3.68 ล้านคน (สถิติเดือนพฤษภาคม 2563) คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 15 และมีแนวโน้มจะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้การพัฒนาสินค้าเครื่องสำอางสำหรับผู้สูงวัยก็เป็นอีกแนวโน้มหนึ่งที่น่าสนใจไม่น้อยเช่นกัน

New Normal ที่พร้อมจะกลับมาเป็น Old Normal ได้ตลอดเวลา

หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 (COVID-19) ในไต้หวันค่อย ๆ ทุเลาลง รัฐบาลจึงผ่อนคลายความเข้มงวดในการดำเนินมาตรการในการป้องกันโรคระบาดต่าง ๆ รวมทั้งดำเนินนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างเต็มที่ ส่งผลให้ประชาชนเริ่มกลับมาใช้ชีวิตในแบบเดิม และเมื่อใดก็ตามที่สถานการณ์การแพร่ระบาดหมดไป หรือผู้คนมีความคุ้นเคยในการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับโควิด-19 ได้แล้ว

พฤติกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันก็จะกลับมาเป็นปกติดังเดิมตามรูปแบบของ Old Normal ที่เคยเป็นมา แต่หากเกิดการระบาดอีกครั้งหลังจากเปิดพรมแดน ก็อาจทำให้ประชาชนเกิดความไม่มั่นใจจนส่งผลให้การบริโภคภายในประเทศเกิดการหดตัวอีกครั้งก็เป็นได้ ซึ่งผู้คนก็อาจจะมีความเคยชินกับวัฏจักรแบบนี้จนกลายเป็นเรื่องปกติไปในที่สุดได้เช่นกัน

สร้างการรับรู้ถึงตลาดเครื่องสำอางไทย ให้ชาวไต้หวันด้วย KOL

Key Opinion Leader (KOL) นับเป็นอีกเครื่องมือในการทำการตลาดที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน โดยคร่าว ๆ จะเป็นการดึงผู้มีอิทธิพลในการชี้นำผู้คน มาทำคอนเทนต์ให้กับสินค้าหรือแบรนด์นั้น ๆ เพื่อสร้างการรับรู้ในกลุ่มผู้บริโภค ซึ่งในระยะหลังมานี้ มีแบรนด์ระดับธรรมดาของญี่ปุ่น เช่น CANMAKE
เริ่มเข้าสู่ตลาดไต้หวันมากขึ้น โดยเฉพาะในส่วนของช่องทางออนไลน์ และร้าน Watson’s เนื่องจากเกิดเทรนด์ความนิยมท่องเที่ยวประเทศญี่ปุ่น

ทำให้บรรดา KOL ด้านการท่องเที่ยวของไต้หวันมีการทำคลิป / เขียนบทความรีวิวเครื่องสำอางแบรนด์นี้เป็นสินค้าที่ต้องซื้อเมื่อไปเยือนญี่ปุ่น ซึ่งพฤติกรรมนี้สามารถใช้กับการสร้างการรับรู้แบรนด์เครื่องสำอางของไทยได้เช่นกัน

เพราะประเทศไทยก็เป็นหนึ่งในประเทศเป้าหมายของนักท่องเที่ยวชาวไต้หวันที่จะมีเข้ามาเยือนทุกปี นอกจากนี้ อีกหนึ่งวิธีที่สามารถสร้างการรับรู้ในเชิงรุกของแบรนด์เครื่องสำอางไทยในตลาดไต้หวัน คือการเข้าร่วมงานแสดงสินค้าด้านความงามใหญ่ ๆ ที่จัดขึ้นในไต้หวันได้ อาทิ Taiwan International Beauty Show & Industry Forum หรือ Beauty & Cosmetics Expo

ซึ่งโครงการ SMEs Pro-active ของกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ได้ให้การสนับสนุนผู้ประกอบการ SMEs ที่เข้าร่วมงานแสดงสินค้านานาชาติในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ซึ่งผู้ที่สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่ 02-507-7783 หรือ 02-507-7786

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0