โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

ฮือฮาผลิตภัณฑ์ดูดจับสารพิษในอาหารสัตว์

Thairath - ไทยรัฐออนไลน์

เผยแพร่ 13 ธ.ค. 2561 เวลา 22.15 น.
ภาพไฮไลต์
ภาพไฮไลต์

ผลงาน สวทช.ต่างชาติขอถ่ายทอดเทคโนฯ 6 พันล้าน ลดกระทบผู้บริโภค

ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผอ.สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) แถลงข่าวเปิดกลยุทธ์ขับเคลื่อนงานวิจัย ปี 2562 ภายใต้ แนวคิด “NSTDA Beyond Limits : 6-6-10” ติดปีกอุตสาหกรรม นำนวัตกรรมไทยสู่สากล ว่า สวทช.ได้พัฒนางานวิจัย เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อตอบโจทย์นโยบายรัฐบาล ภาคธุรกิจและประชาชนในทุกมิติ โดยในปี 2561 ได้ส่งมอบผลงานวิจัยและนวัตกรรมซึ่งเป็นที่ยอมรับทั้งในประเทศและระดับนานาชาติ โดยเฉพาะล่าสุดผลงานการถ่ายทอดเทคโนโลยี “ผลิตภัณฑ์ดูดจับสารพิษจากเชื้อราที่ปนเปื้อนในอาหารสัตว์” จากเอนไซม์โปรติเอส โดยนาโนเทค-สวทช. ให้แก่บริษัทในประเทศสิงคโปร์ สร้างมูลค่าทรัพย์สินทางปัญญามากกว่า 6,000 ล้านบาท

ผอ.สวทช.กล่าวต่อว่า สำหรับ เอนไซม์โปรติเอส ถือเป็นนวัตกรรมระดับแนวหน้าจาก สวทช. ที่ได้ดำเนินการวิจัยให้กับบริษัท คลีน กรีนเทค จำกัด เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ชนิดใหม่สำหรับใช้ลดปริมาณสารพิษจากเชื้อราปนเปื้อนในวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่มีประสิทธิภาพสูง และสามารถลดปริมาณสารพิษปนเปื้อนได้หลายชนิดในเวลาเดียวกัน โดยเฉพาะสารฟูโมนิซินและซีราลีโนน สารพิษจากเชื้อราที่สร้างความเสียหายในอุตสาหกรรมอาหารเลี้ยงสัตว์เป็นลำดับต้นๆ ในประเทศไทย โดยพบในกลุ่มอาหารสัตว์ ไก่ เป็ด สุกร และโค ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อผู้บริโภค นอกจากนั้นแล้ว เอนไซม์โปรติเอสยังสามารถเปลี่ยนโครงสร้างทางเคมีของสารพิษเชื้อราให้อยู่ในสภาพที่ไม่เป็นพิษ และไม่เป็นอันตรายต่อสัตว์และสิ่งแวดล้อม ปัจจุบันมีการผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์สูตรใหม่ Zeta L-Tonic ทั้งในและต่างประเทศ รวม 7 ประเทศแล้ว

ดร.ณรงค์กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ ยังมีผลงานเด่นๆ อาทิ eLysozymeTM สารยับยั้งแบคทีเรียจากโปรตีนไข่ขาว โดย สวทช.ได้ทำสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิในผลงานวิจัยการผลิตสารยับยั้งแบคทีเรียจากโปรตีนไข่ขาวให้แก่ บริษัท ดีเอ็มเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัท โอโว่ ฟู้ดเทค จำกัด เพื่อผลิตเป็นผลิตภัณฑ์และจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ “ข้อเข่าเทียม” โดย เอ็มเทค-สวทช. ได้พัฒนาข้อเข่าเทียม ที่มีขนาด รูปทรงและการงอเข่าที่เหมาะสมกับคนเอเชีย ทั้งยังจะช่วยให้ผู้ป่วยคนไทยได้มีโอกาสใช้ในการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมทดแทนผลิตภัณฑ์นำเข้าด้วย.

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0