โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

อเมริกา ยินดี! ไทยมี 'รัฐบาลพลเรือน' แล้ว รอแค่ "ความเป็นประชาธิปไตย"

Khaosod

อัพเดต 19 ก.ค. 2562 เวลา 04.58 น. • เผยแพร่ 19 ก.ค. 2562 เวลา 04.58 น.
อเมริกัย

สหรัฐฯ ยินดี ไทยมีรัฐบาลพลเรือน กลับมาปกครอง รอความเป็นประชาธิปไตบ ระบุ ยังไม่รู้กำหนดหารือเกาหลีเหนือ ในไทย

เมื่อวันที่ 19 ก.ค. เวลา 09.30 น. นายเดวิด อาร์ สตีลเวลล์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐอเมริกา ฝ่ายกิจการเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก คนใหม่ เข้าพบนายดิสทัต โหตระกิตย์ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี ที่ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งใช้เวลาประมาณ 30 นาที ทั้งนี้ถือเป็นภารกิจแรกของนายดิสทัต ภายหลังได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการนายกรัฐมนตรีคนใหม่

จากนั้น นายสตีลเวลล์ ให้สัมภาษณ์ว่า ขอขอบคุณรัฐบาลไทยและดีใจที่ได้กลับมาอีกครั้ง ซึ่งตนเคยมาประเทศไทยเมื่อปี 2516 ซึ่งขณะนั้นตนมีอายุ 11 ปี ตอนนี้ประเทศไทยถือเป็นประเทศที่มีวัฒนธรรมโดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องอาหารซึ่งเป็นสิ่งที่น่าสนใจอย่างมาก

สำหรับปี 2562 ถือเป็นปีที่สำคัญของประเทศไทย นอกเหนือจากการที่ประเทศไทยเป็นประธานอาเซียนแล้ว ยังถือเป็นปีมหามงคล มีการจัดพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ตนจึงขอแสดงความยินดีและความปรารถนาดีต่อประชาชนชาวไทยทุกคน สำหรับการที่ประเทศไทยในฐานะประธานอาเซียน ตนมั่นใจว่าประเทศไทยจะสามารถทำงานดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ

“ผมมีความยินดีที่ประเทศไทยได้กลับมามีการปกครองโดยพลเรือนอีกครั้ง ซึ่งเราได้มีการพูดคุยกันถึงเรื่องนี้ และรอคอยที่จะทำงานร่วมกับรัฐบาลไทย” ผู้ช่วยรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ กล่าว

นายสตีลเวลล์ กล่าวว่า สำหรับการพบกับเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ได้มีการหารือกันถึงเรื่องที่เป็นประโยชน์ แม้ตนมีเวลา 3 สัปดาห์ในการมาเยือนประเทศไทยในครั้งนี้ แต่ถือเป็นโอกาสที่ดีที่ได้มาพูดคุยกัน และตนรู้สึกดีใจที่ประเทศไทยจะมีโอกาสได้จัดการประชุมอินโด-แปซิฟิก ฟอรั่ม ในเดือน พ.ย.นี้ อีกทั้งถือเป็นโอกาสดีที่บริษัทของสหรัฐฯ จะได้มีโอกาสลงทุนทำธุรกิจในประเทศกลุ่มอาเซียน

ซึ่งรัฐบาลสหรัฐฯผลักดันในการลงทุนทำธุรกิจในภูมิภาคนี้ด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ ตนยังรู้สึกดีใจที่ได้เห็นภาพความร่วมมือไทยกับสหรัฐฯ ที่เดินไปในทิศทางเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นกรอบความร่วมมือข้อริเริ่มลุ่มน้ำโขงตอนล่าง (แอลเอ็มไอ) ยุทธศาสตร์อินโด-แปซิฟิก ข้อตกลงความร่วมมือระหว่างประเทศลุ่มแม่น้ำอิระวะดี-เจ้าพระยา-แม่โขง (ACMECS)

ซึ่งทั้งหมดเดินไปอย่างสอดคล้องกัน โดยสหรัฐฯเห็นว่าความเป็นหุ้นส่วนเชิงกลยุทธ์กับประเทศไทย และกลุ่มอาเซียนถือเป็นเป้าหมายแห่งแรกในการลงทุนของสหรัฐฯ และสหรัฐฯมีการลงทุนในกลุ่มประเทศอาเซียนรวมมูลค่ากล่าล้านล้านเหรียญสหรัฐ

ตนเชื่อว่าความสัมพันธ์ไทยสหรัฐที่มีมายาวนานกว่า 200 ปี เรามีส่วนร่วมทั้งเรื่องความมั่นคง การพัฒนาความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ การแลกเปลี่ยนทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งจะช่วยให้ประเทศทั้งสองมีความเจริญรุ่งเรือง ส่งผลดีต่อภูมิภาคนี้ด้วย และได้มีการพัฒนาหุ้นส่วนในหลายๆด้าน

ผู้สื่อข่าวถามว่าการที่รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ และเกาหลีเหนือจะเดินทางมาร่วมการประชุมที่ประเทศไทย ในช่วงสิ้นเดือน ก.ค.นี้ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ จะมีกำหนดการที่จะหารือกับฝ่ายเกาหลีเหนือด้วยหรือไม่ นายสตีลเวลล์ กล่าวว่า แม้มีโอกาสที่หลายฝ่ายจะมาร่วมการประชุม แต่ขณะนี้ยังไม่สามารถให้คำตอบได้ว่าจะเป็นอย่างไรต่อไป แต่คงจะต้องหาโอกาส

เมื่อถามว่าหลังการเลือกตั้งของประเทศไทย สหรัฐฯ ให้ความสนใจหรือกังวลในเรื่องใดบ้างสำหรับการเมืองในไทย ผู้ช่วยรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ กล่าวว่า เรามีความยินดีและดีใจที่เห็นการเลือกตั้งเกิดขึ้นในประเทศไทย และรอคอยที่จะเห็นประเทศไทย กลับมามีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอย่างเต็มรูปแบบอีกครั้ง

 

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0