โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

อุทยานฯสตูลปักป้ายเตือน!! ริมหาดระวังแมงกะพรุนมีพิษ หลังเด็กเล่นน้ำถูกหามส่งรพ.

สยามรัฐ

อัพเดต 03 มิ.ย. 2563 เวลา 16.29 น. • เผยแพร่ 03 มิ.ย. 2563 เวลา 16.29 น. • สยามรัฐออนไลน์
อุทยานฯสตูลปักป้ายเตือน!! ริมหาดระวังแมงกะพรุนมีพิษ  หลังเด็กเล่นน้ำถูกหามส่งรพ.

วันที่ 3 มิ.ย.2563 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากที่เฟสบุคส่วนตัวของ Kilttisa Ar-Lee โพสต์แจ้งเตือนผู้ปกครองทราบ หลังกรณีเกิดเหตุบุตรหลาน ไปเล่นน้ำบริเวณที่จุดชายหาดปากบารา ตำบลปากน้ำ อำเภอละงู จังหวัดสตูล แล้วโดนแมงกะพรุนชนิดมีพิษเข้าที่ขา ต้องเร่งส่งถึงหมอโรงพยาบาลอำเภอละงูโดยได้โพสต์เตือนเฝ้าระวัง

ล่าสุดทีมข่าวลงพื้นที่ไปตรวจสอบถามข้อมูลพบว่า เด็กที่ไปเล่นน้ำโดยมีผู้ปกครองพาไปเล่นบริเวณที่ชายหาดปากบารา ตำบลปากน้ำ อำเภอละงู ซึ่งเป็นพื้นที่ของอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตานั้น ยังพบอีกว่ายังมีเด็กไปเล่นน้ำบริเวณอ่าวนุ่น ม.4 ต.ปากน้ำ อ.ละงู ซึ่งเป็นเขตพื้นที่รับผิดชอบของทางอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตราด้วยเช่นกัน เป็นแนวชายทะเลติดเชื่อมกันถึง 2 อุทยานฯ

ล่าสุดนายวิทยา บัวพล หัวหน้าอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา หลังทราบข่าวจากโซเซียล สั่งการให้ทางนายหมอดดี สำสู นักนันทนาการ สนง.อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา ลงพื้นที่ปักป้ายเตือนประชาชนทั่วไปโดยเฉพาะการนำเด็ก ๆ มาเล่นน้ำให้ระวังแมงกะพรุน

นายวิทยา บัวพล หัวหน้าอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา กล่าวว่า สำหรับแมงกะพรุนมีพิษนั้นมีหลายชนิดในพื้นที่ชายหาดปากบาราและทะเลสตูลมีน้อยมากที่ชาวบ้าน นักท่องเที่ยวจะโดนแมงกะพรุนจนได้รับบาดเจ็บ คงเกิดจากช่วงมรสุมน้ำขึ้นพัดพาแมงกะพรุนขึ้นมา เบื้องต้นคาดว่าจะเป็นแมงกะพรุนสายมาริมชายฝั่งและเป็นครั้งแรกในรอบปีที่มีโดนแมงกะพรุนสายได้รับบาดเจ็บ

สำหรับแมงกะพรุนสายมีลักษณะตัวกลมคล้ายถ้วยสีออกแดง มีหนวดยาวประมาณ 1.5 เมตร จะอาศัยอยู่น้ำลึกห่างจากฝั่งประมาณ 15-20 เมตร และจะเริ่มมีจำนวนมากตั้งแต่เดือน กรกฎาคม-ตุลาคม ของทุกปี ซึ่งมีพิษสามารถทำให้ถึงกับเสียชีวิตได้

อาการเฉพาะที่ เมื่อถูกหรือสัมผัสกับสัตว์ที่มีพิษเหล่านี้จะรู้สึกเจ็บ ปวดแสบปวดร้อน บริเวณที่ถูกจะมีสีแดงเข้ม บางครั้งเหมือนรอยไหม้ ประมาณ 20-30 นาที จะบวมนูนขึ้นเป็นทางยาวตามผิวหนัง ต่อไปจะเกิดเป็น Vesicle เล็ก ๆ หรืออาจเป็น Bleb ใหญ่ และแตกเป็นแผลเรื้อรัง กว่าจะหายกินเวลานานแม้ว่าตกสะเก็ดแล้วก็เกิดแผลใหม่อีก อาการที่เกิดขึ้นจะมีความรุนแรงแตกต่างกันไปสุดแล้วแต่ชนิดและอาการกระทบกระแทก ตลอดจนบาดแผลที่ได้รับว่าอยู่ที่ส่วนใดของร่างกายและเนื้อที่มากน้อยเพียงใด พวกที่มีพิษน้อยก็จะรู้สึกคันๆ แสบร้อนเล็กน้อยแล้วก็หายไป บริเวณที่ถูกถ้าเป็นเนื้ออ่อน เช่น บริเวณขาอ่อน ตามซอกคอและหน้า อาการก็จะมาก

การปฐมพยาบาล ให้ปฏิบัติดังนี้ 1.) เมื่อถูกแมงกะพรุนในตอนแรก ให้ใช้ทรายที่หาดนั้นถูบนผิวหนังเบาๆ หรือผ้าเช็ดตัวเช็ด เพื่อขัดเอาน้ำเมือก ๆ จากตัวแมงกะพรุนบนผิวหนังออกล้างด้วยน้ำทะเล ห้ามใช้น้ำจืด 2.) ให้ใช้พวกด่างอ่อน ๆ เช่นน้ำแอมโมเนีย หรือแอมโมเนียหอม หรือน้ำยา โซดาไบคาบอเนต หรือน้ำปูนใสชุบปิดแผลนั้นไว้ หรือขยำต้นและใบผักบุ้งทะเลให้ได้วุ้นลื่นๆมาพอกแผล 3.) หลังจากนั้นใช้พวก แอนติฮิสตามีนครีม หรือพวกคอร์ติโคสเตอรอยครีม (เช่น เพร็ดนิโซโลนครีม ฯลฯ) 4.) ถ้ามีอาการปวดให้รับประทานยาแก้ปวด เช่นแอสไพริน เอ.พี.ซี. นำส่งโรงพยาบาล เพราะอาจมีอาการร้ายแรงอื่น ๆ ร่วมด้วย (ถ้ามีอาการมาก แพทย์อาจให้พวก 10% แคลเซียมกลูโคเนทเข้าเส้นช้า ๆ และยาอื่น ๆ ตามอาการ) การป้องกัน

พร้อมกันนี้ก็ยังได้ประสานงานไปยังพื้นที่ของอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา เร่งติดป้ายเฝ้าระวังแมงกะพรุนแล้วเช่นกัน

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0