โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

อุทกภัยไม่ไกลตัว!! 10 วิธีรับมือน้ำท่วมอย่างปลอดภัย ใช้ได้ทั้งคนในเมืองนอกเมือง

UndubZapp

เผยแพร่ 21 ก.ย 2562 เวลา 07.35 น. • อันดับแซ่บ
อุทกภัยไม่ไกลตัว!! 10 วิธีรับมือน้ำท่วมอย่างปลอดภัย ใช้ได้ทั้งคนในเมืองนอกเมือง

สถานการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้นในช่วงหน้าฝนเป็นประจำทุกปี ส่งผลกระทบกับการใช้ชีวิตประจำวันของเรากันพอสมควร UndubZapp ขออาสามาแนะนำวิธีรับมือน้ำท่วมอย่างปลอดภัย เพื่อให้เพื่อนๆ สามารถดำรงชีวิตขณะเกิดภัยธรรมชาติได้อย่างเหมาะสม ลดความสูญเสียจากอุทกภัยด้วยกันนะคะ ส่วนวิธีรับมือกับน้ำท่วมที่เรานำมาฝากกันในวันนี้จะมีวิธีอะไรบ้างนั้น ไปติดตามกันได้เลยค่ะ

รับมือก่อนเกิดน้ำท่วม

1.ติดตามข่าวสารเฝ้าระวังภัย ติดตามข่าวเตือนภัย ข่าวคาดการณ์ความเป็นไปได้ที่จะเกิดน้ำท่วมอย่างต่อเนื่อง แล้วรีบจัดเตรียมแผนการรับมือกับน้ำท่วมให้ทันท่วงที

© รูปต้นฉบับ: Daria Nepriakhina , unsplash.com 2.ฝึกซ้อมหนีน้ำท่วม หากว่าที่พักอาศัยอยู่ในบริเวณสุ่มเสี่ยงที่อาจเกิดน้ำท่วม สมาชิกทุกคนในครัวเรือนต้องเรียนรู้เส้นทางอพยพที่ปลอดภัยที่สุด รวมถึงซักซ้อมขั้นตอนการหนีน้ำไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ ทำความคุ้นเคยกับวิธีการอพยพ เพื่อลดความโกลาหลขณะเกิดน้ำท่วม โดยเฉพาะอย่างยิ่งบ้านที่มีเด็ก สตรีมีครรภ์ ผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ป่วยที่ต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ ควรมีการแจกแจงหน้าที่ให้สมาชิกในบ้านแต่ละคนทราบว่าเมื่อเกิดน้ำไหลบ่า ใครจะต้องเป็นผู้ดูแลสิ่งใดบ้าง

© รูปต้นฉบับ: Ann Danilina , unsplash.com   3.หาอุปกรณ์ป้องกันน้ำเข้าบ้าน จัดหากระสอบทราย อิฐ แผงกั้น หรือบานเหล็กตามสะดวก มาวางขวางทางกันน้ำเข้าบ้าน เป็นการลดทอนความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น โดยนำกระสอบทรายมาวางเป็นแนวขนานกับทางน้ำไหล ห่างจากตัวที่พักประมาณ 2-5 เมตร หันปากถุงกระสอบทรายเข้าหาบริเวณพื้นที่แห้ง จัดกระสอบทรายเป็นทรงสามเหลี่ยมพีระมิด ให้ฐานกว้างกว่าความสูง 3 เท่า

© รูปต้นฉบับ: Canislupus ,  pixabay.com 4.สำรองอาหาร ยา และระบบไฟสำรอง

  • สำรองเสบียง อาหารแห้ง และน้ำดื่มสะอาดไว้ให้ได้มากที่สุด
  • เตรียมยาสามัญประจำบ้านไว้ในบริเวณที่ปลอดภัย ในกรณีที่สมาชิกในครอบครัวมีโรคประจำตัว หรือจำเป็นต้องใช้ยาอย่างต่อเนื่อง ควรจัดเตรียมยาที่จำเป็นต้องกินเป็นประจำไว้ใกล้ตัว หรือไว้ในที่ปลอดภัยเพื่อป้องกันการสูญหาย
  • จัดเตรียมระบบไฟสำรอง เช่น ไฟฉาย ถ่านไฟฉาย เทียนไข ไม้ขีดไฟ ชาร์จแบตฯ โทรศัพท์ให้พร้อม

© รูปต้นฉบับ: Peter Bond , unsplash.com 5.จัดเก็บเอกสารสำคัญใส่ซองกันน้ำ เก็บรวมรวมเอกสารสำคัญต่างๆ เช่น ทะเบียนบ้าน ทะเบียนรถ บัตรประชาชน เอกสารจากธนาคาร ใส่ซองกันน้ำรวมกันไว้ให้เรียบร้อย แล้วนำไปจัดเก็บไว้ในที่ปลอดภัย ถ้าเป็นไปได้ควรเตรียมนกหวีดไว้ในซองดังกล่าวด้วย เผื่อไว้ใช้ในกรณีที่ต้องการเป่านกหวีดขอความช่วยเหลือ

© รูปต้นฉบับ Kelly Sikkema, unsplash.com

รับมือขณะเกิดน้ำท่วม

6.ไม่เดินทางตามเส้นทางน้ำไหล หากเกิดน้ำท่วมฉับพลันให้หนีขึ้นที่สูงทันที อย่านำสัมภาระติดตัวมากเกินไป ให้คิดเสียว่าชีวิตสำคัญที่สุด ถ้ากำลังเดินทางอยู่ อย่าขับรถย้อนกลับไปทางที่น้ำท่วม ให้รีบออกจากรถไปหาที่ปลอดภัย เนื่องจากกระแสน้ำไหลแรงสามารถพัดพายานพาหนะให้ลอยไปกับสายน้ำได้ ห้ามเดินตามเส้นทางที่น้ำไหลแม้ว่าระดับน้ำจะไม่สูงก็ตามที เพราะความเชี่ยวของน้ำอาจทำให้เสียหลัก และเกิดอุบัติเหตุได้

© รูปต้นฉบับ: jsptoa , pixabay.com 7.อยู่ให้ห่างอุปกรณ์ไฟฟ้า ปิดอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและแก๊สหุงต้มให้เรียบร้อย เสร็จแล้วรีบยกขึ้นที่สูง ห้ามเข้าใกล้อุปกรณ์ไฟฟ้า เครื่องใช้ไฟฟ้า และสายไฟโดยเด็ดขาด เหตุผลหลักคือกระแสไฟฟ้าสามารถวิ่งผ่านได้ ต้องรีบตัดระบบไฟฟ้าทั้งหมดในบ้าน ป้องกันการเกิดไฟช็อต

© รูปต้นฉบับ: Kouji Tsuru , unsplash.com 8.ปิดกั้นช่องทางน้ำ ปิดกั้นช่องทางที่น้ำสามารถไหลเข้าบ้านได้ให้หมดทุกช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นห้องน้ำ โถสุขภัณฑ์ ช่องน้ำทิ้งอ่างล้างจาน ป้องกันไม่ให้น้ำหลากเข้ามาบริเวณที่พัก

© รูปต้นฉบับ: Taylor Wilcox , unsplash.com

รับมือหลังเกิดน้ำท่วม

9.ดูแลสภาพจิตใจคนใกล้ชิด หลังเหตุอุทกภัย หลายๆ คนเกิดความซึมเศร้าอันเนื่องมาจากการสูญเสีย ควรใช้เวลากับครอบครัวให้มากๆ ร่วมพูดคุย แบ่งปันความกังวล เพื่อบรรเทาความเครียดซึ่งกันและกัน ความรักความอบอุ่นจากคนใกล้ชิดจะช่วยเยียวยาอาการซึมเศร้าได้ดี ถ้าสมาชิกในครอบครัวมีเด็กด้วย ไม่ควรตำหนิเด็กที่มีพฤติกรรมไม่เชื่อฟังหรือแพนิคขณะเกิดน้ำท่วม โปรดทำความเข้าใจว่าเด็กก็มีอาการตื่นกลัวจากเหตุการณ์เลวร้ายเช่นกัน

© รูปต้นฉบับ: Jessica Rockowitz , unsplash.com 10.ตรวจตราที่พักอาศัย เมื่ออยู่ในพื้นที่น้ำท่วมขัง จำต้องระวังเรื่องสุขอนามัยเป็นอย่างมาก หลังน้ำลด ให้เดินตรวจตารอบๆ บ้าน ตรวจสอบโครงสร้างของบ้านให้แน่ใจว่าทุกอย่างปลอดภัยดี เช็คสายไฟฟ้า ตรวจหารอยแตกรั่วของท่อน้ำ ตรวจสอบว่าถังแก๊สรั่วหรือไม่ แล้วทำการซ่อมแซมแก้ไขสิ่งที่เสียหายไปตามลำดับ © information source 

---

อัปเรื่องแซ่บ ฟีดเรื่องมันส์ เม้าท์ทันเพื่อน
Facebook: @UndubZapp
Instagram: @UndubZapp

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0