โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

อุตุฯ เตือนอย่าเชื่อข่าวลือ "คลื่นลมหนาว-พายุฤดูร้อน" ถล่มกรุงเทพฯ คืนนี้

สวพ.FM91

อัพเดต 25 ส.ค. 2562 เวลา 05.30 น. • เผยแพร่ 25 ส.ค. 2562 เวลา 05.30 น.
อุตุฯ เตือนอย่าเชื่อข่าวลือ

กรมอุตุฯ ชี้แจงข่าวลือ เรื่องคลื่นความหนาวจะแผ่เข้าปกคลุมประเทศไทย และพายุฤดูร้อนจะเข้าถล่มกรุงเทพฯ และปริมณฑล ระหว่างวันที่ 25 สิงหาคม 2562-30 สิงหาคม 2562 
25 ส.ค.62 กองพยากรณ์อากาศ กรมอุตุนิยมวิทยา กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้ออกประกาศเรื่อง ชี้แจงข่าวลือเรื่องคลื่นความหนาวจะแผ่ปกคลุมประเทศไทย และพายุฤดูร้อนจะเข้าถล่มกรุงเทพฯและปริมณฑล ระบุว่า ตามที่มีการส่งต่อข้อมูลผ่านสื่อสังคมออนไลน์ โดยระบุว่า “คลื่นความหนาวจะแผ่ปกคลุมประเทศไทยทุกภาค ทำให้อุณหภูมิลดลงมากสุดในรอบ 14 ปี และพายุฤดูร้อนกำลังจะเคลื่อนเข้าถล่มกรุงเทพฯ และปริมณฑลเวลาประมาณ 22.00 น. คืนนี้ ขอให้หลีกเลี่ยงการเดินทางในช่วงคืนนี้” นั้น 
กรมอุตุนิยมวิทยา ขอยืนยันว่าข้อมูลดังกล่าวไม่เป็นความจริงและไม่ได้มีที่มาจากข้อมูลของกรมอุตุนิยมวิทยาแต่ประการใด ซึ่งข้อเท็จจริง ตามข่าวพยากรณ์อากาศประจำวัน และพยากรณ์อากาศรายสัปดาห์ ประเทศไทยอยู่ในช่วงฤดูฝน และในช่วงวันที่ 25 – 30 สิงหาคม 2562 มีร่องมรสุมพาดผ่านบริเวณภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ทีพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยจะมีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก ดังนั้นสถานการณ์คลื่นความหนาวที่จะแผ่ปกคลุมประเทศไทยจึงไม่เกิดขึ้นในระยะนี้แต่อย่างใด สำหรับกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จะมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นตลอดสัปดาห์ และมักจะมีฝนได้ตลอดทั้งในช่วงเช้าและช่วงบ่าย ส่วนมากจะเกิดในช่วงบ่ายถึงค่ำ ซึ่งเป็นฝนฟ้าคะนองที่เกิดขึ้นตามฤดูกาล(ฤดูฝน) โดยในช่วงวันที่ 25 – 30 สิงหาคม 2562 ขอให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก ระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากได้ สำหรับชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ โดยหลีกเลี่ยงการเดินเรือผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง 
สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนพยากรณ์อากาศ 1182 และหมายเลขโทรศัพท์ 0 2399 4012-13 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0