โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

อึ้ง! เปิด 7 ต้นทุนสินค้าเกษตร ‘กฤษฎา”โวฟันกำไรชัวร์!

ฐานเศรษฐกิจ

เผยแพร่ 24 มิ.ย. 2562 เวลา 10.05 น.

'กฤษฎา' เปิดหลักฐานเด็ดโชว์ผลสำเร็จนโยบายตลาดนำการผลิต ต้นทุนลดลง ดันเกษตรกรรายได้สุทธิหลักหักค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ไขปริศนาตัวเลข 7 ต้นทุนเกษตรอึ้ง! “ *ข้าว สับปะรด ข้าวโพด ทุเรียน ปาล์มน้ำมัน ยางพารา สุกร” *

นายกฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจว่า” จากการติดตามผลนโยบาย “การตลาดนำการผลิต” หลังผนึกกำลังภาครัฐ ภาคเอกชน และกลุ่มเกษตรกร เพิ่มการผลิตสินค้าที่ตลาดต้องการ และลดการผลิตสินค้าที่ล้นตลาด มาเป็นเวลา 1 ปีเศษ  พบตัวเลขสำคัญ เกษตรกรรายได้สุทธิหลังหักค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

ข้อมูลจากสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรพบว่า เกษตรกรมีรายได้เงินสดสุทธิทางการเกษตรในปีเพาะปลูก 2560/2561 แตะระดับ 74,483 บาทต่อปี เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 58,975 บาทต่อปี ถึงร้อยละ 26.30 และเมื่อวิเคราะห์ตัวเลขเปรียบเทียบ 5 ปีย้อนหลัง พบว่า ในปีเพาะปลูก 2560/2561 เกษตรกรมีรายได้ที่ก้าวกระโดดทั้งในเชิงตัวเลขรายได้และอัตราการเติบโต กุญแจสำคัญที่ดันรายได้เกษตรกรพุ่งมาจากการบริหารอุปสงค์ (Demand)  อุปทาน (Supply) ให้เหมาะสม  ภายใต้นโยบาย “การตลาดนำการผลิต”

ตัวอย่างเช่น "ข้าว" พืชเศรษฐกิจสำคัญของไทย ด้วยนโยบายดังกล่าว กระทรวงฯ ได้มีมาตรการส่งเสริมการผลิตข้าวให้พอดีกับความต้องการของตลาด และเปลี่ยนพื้นที่ปลูกข้าวบางส่วนไปเป็นพืชทางเลือกอื่นที่ตลาดต้องการ และมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่า ส่งผลให้ในช่วงที่ผ่านมาราคาข้าวเปลือกเจ้าอยู่ที่ราว 7,000-8,000 บาทต่อตัน ส่วนข้าวเปลือกหอมมะลิ ราคาอยู่ในระดับไม่ต่ำกว่าตันละ 15,000 บาทต่อตัน ขณะที่ต้นทุนการผลิตราคาข้าวเปลือกเจ้านาปีความชื้น 15% ต้นทุนเฉลี่ย (ม.ค.-มิ.ย.) ปี 2562 อยู่ที่ 6,243 บาทต่อตัน

“มาตรการภาครัฐที่ส่งเสริมการผลิตให้พอดีกับความต้องการของตลาด สนับสนุนสินเชื่อชะลอการขาย ข้าวเปลือกและช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยว และปรับปรุงคุณภาพข้าว และสนับสนุนสินเชื่อรวบรวมข้าวโดยสถาบันเกษตรกรและชดเชยดอกเบี้ย ให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต๊อก”

นอกจากนี้ยังมีสินค้าอื่นๆ อาทิ “ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์” ราคาความชื้น 14.5% ราคาเฉลี่ย (ม.ค.-มิ.ย.)  8.27 บาทต่อกิโลกรัม ขณะที่ต้นทุนการผลิตอยู่ 3.93 บาทต่อกิโลกรัม   มาตรการภาครัฐ  ส่งเสริมการนาเทคโนโลยีในการปลูกข้าวโพดให้ได้ผลผลิตที่เพิ่มขึ้น  สนับสนุนการทาเกษตรพันธสัญญาระหว่างเอกชนและเกษตรกรอย่างเป็นธรรม และขอความร่วมมือผู้ผลิตอาหารสัตว์ รับซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ที่ปลูกในพื้นที่มีเอกสารสิทธิ์ในราคาไม่ต่ำกว่า 8 บาท/กก.

“สัปปะรดโรงงาน” (ม.ค.-มิ.ย.) ราคา 5.20 บาทต่อกิโลกรัม ราคาต้นทุนการผลิตอยู่ 2.43 บาทต่อกิโลกรัม โดยรัฐมาตรการภาครัฐ  เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพื้นที่ภายในรัศมีรอบโรงงาน 100 กม.และสนับสนุนการทาเกษตรพันธสัญญาระหว่างเอกชนและเกษตรกร อย่างเป็นธรรม

“ทุเรียน” ราคา(ม.ค.-มิ.ย.) อยู่ที่ 111.95 บาทต่อกิโลกรัม ต้นทุนการผลิต 9.23 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งมาตรการภาครัฐ ส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ให้ได้ตามมาตรฐาน GAP และ ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพสินค้า และมาตรฐาน

“ปาล์มน้ำมัน” ราคาน้ำหนัก 15 กิโลกรัมขึ้นไป ราคา(ม.ค.-มิ.ย.)  2.25 บาทต่อกิโลกรัม ขณะที่ต้นทุนการผลิตอยู่ที่ 1.97 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งมาตรการภาครัฐ  ได้ดำเนินการตามมาตรการแก้ไขปัญหาราคาปาล์มน้ามันและน้ามันปาล์ม โดยนาน้ามันปาล์มดิบมาผลิตกระแสไฟฟ้าในโรงงานไฟฟ้าบางประกง 160,000 ตัน ใช้น้ามันปาล์มดิบเป็นเชื่อเพลิงในเครื่องยนต์โดยเร่งรัดการใช้ B10 B20 และ B100 เร็วขึ้น ประกาศให้โรงงาน CPO ซื้อผลปาล์มที่มาตรฐานน้ามัน 18% รวมทั้ง ให้ร้านค้าและ Modern Trade ขายน้ามันปาล์มขวดบริโภคในราคาสะท้อนต้นทุนที่แท้จริง

“ยางพารา” ราคายางแผ่นดิบคุณภาพ 3  ราคาเฉลี่ย(ม.ค.-มิ.ย.)  44.23 บาทต่อกิโลกรัม ต้นทุนการผลิตอยู่ที่ 31.59 บาทต่อกิโลกรัม มาตรการภาครัฐ  ได้ดำเนินการแก้ไขปัญหายางพาราอย่างครบวงจร โดยสนับสนุนสินเชื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนให้สถาบันเกษตรกรรวบรวมยางพารา แปรรูปยางพารา สร้างความเข้มแข็งให้เกษตรกร สนับสนุนสินเชื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนให้ผู้ประกอบกิจการยางพารา โครงการสนับสนุนโครงการใช้ยางพาราในหน่วยงานภาครัฐ โครงการสร้างถนน 1 หมู่บ้าน 1 กิโลเมตร เป็นต้น

“สุกร” ราคาเฉลี่ย (ม.ค.-มิ.ย.) ราคาอยู่ที่ 68.37 บาทต่อกิโลกรัม ขณะที่ต้นทุนการผลิตอยู่ที่ 64.61 บาทต่อกิโลกรัม มาตรการภาครัฐ  ยกระดับการผลิตสุกรให้ได้มาตรฐานฟาร์ม ควบคุมป้องกันโรคระบาดสัตว์

นายกฤษฎาย้ำว่า นโยบาย“การตลาดนำการผลิต” เป็นทางออกให้กับทั้งเกษตรกร และภาครัฐ กล่าวคือ เกษตรกรจะไม่ต้องทนทุกข์กับการผลิตสินค้าออกมาแล้วไม่มีที่รับซื้อ และการถูกกดราคาสินค้าเนื่องจากสินค้าล้นตลาด และเป็นทางออกของภาครัฐ ที่จะไม่ต้องทุ่มเงินภาษีประชาชนมาอุ้มราคาสินค้าเกษตรจนกลายเป็นปัญหาลูกโซ่กระทบทั้งเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองอย่างที่ผ่านมา

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0