โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

อึ้ง! พบคนไทยป่วยโรคอุบัติใหม่เพิ่มขึ้น

[invalid]

อัพเดต 17 ธ.ค. 2561 เวลา 08.46 น. • เผยแพร่ 17 ธ.ค. 2561 เวลา 08.46 น. • tnnthailand.com
อึ้ง! พบคนไทยป่วยโรคอุบัติใหม่เพิ่มขึ้น
ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์เผย คนไทยป่วยโรคติดเชื้อเพิ่มขึ้นและไม่สามารถระบุตัวเชื้อได้ถึงร้อยละ 50 หรือที่เรียกว่าโรคอุบัติใหม่ ซึ่งอาจนำไปสู่การเสียชีวิต

วันนี้ (17 ธ.ค. 61) คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ จัดเสวนาตอบโจทย์สังคมโรคอุบัติใหม่ โดยมีนักวิชาการ บุคคลากรทางการแพทย์เข้าร่วมรับฟัง พร้อมทั้งการแสดง นวัตกรรมต่างๆจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการป้องกันโรคอุบัติใหม่และโรคติดเชื้อ

นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ ระบุว่า โรคอุบติใหม่ที่น่ากังวลสำหรับประเทศไทยคือ ไข้สมองอักเสบนิปาห์,โรคอีโบล่า,โรคไข้หวัดใหญ่,ไข้หวัดนก และโรคที่ไม่รู้จักชื่อ โดยโรคที่ไม่รู้จักชื่อนั้น ทีมแพทย์ไทยสามารถตรวจจับเจอและทำการรักษาได้ เช่น กรณีการตรวจโรคของทีมหมูป่าขณะที่ติดอยู่ภายในถ้ำ โดยมีการตรวจเชื้อโรคในร่างกายซึ่งอาจติดจากภายในถ้ำ เช่น ค้างคาว

ขณะที่ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคอุบัติใหม่จะเริ่มจากมีอาการไข้ ซึ่งที่ผ่านมาประเทศไทยมีผู้ป่วยที่มีอาการของโรคติดเชื้อที่ไม่สามารถระบุตัวเชื้อได้ถึงร้อยละ 50 โดยการรักษาจะขึ้นอยู่กับอาการ ส่วนความยากลำบากในการรักษาขึ้นอยู่กับความซับซ้อนของตัวโรค นอกจากนี้อาการอาจรุนแรงขึ้นหากผู้ป่วยมีภูมิคุ้มกันต่ำ ซึ่งอาการอาจคล้ายโรคติดเชื้อ และอาจนำไปสู่สมองอักเสบหรือเป็นอาการสมองเสื่อมอัลไซเมอร์

สำหรับปัจจัยที่ทำให้ร่างกายคนไทยเปราะบางเสี่ยงเกิดโรคได้ง่าย คือ การกินอาหารที่ปนเปื้อนสารเคมีกันบูด,สารเคมี,ยาฆ่าแมลงในพืชผักผลไม้ การกินยาชุดสมุนไพรปลอมซึ่งแฝงด้วยสเตียรอยด์ การสัมผัสสิ่งแวลดล้อมที่เป็นพิษ โดยเชื้อเหล่านี้เมื่อไปกับกระทบกับเชื้อที่ไม่รุนแรงแต่อาจส่งผลให้เกิดอาการหนักถึงเสียชีวิตได้

ทั้งนี้ ไทยได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และได้รับทุนวิจัยจากหน่วยงานทั้งในและต่างประเทศเพื่อศึกษาปัญหาของโรคติดเชื้อในมนุษย์และสืบค้นต้นตอถึงเชื้อที่ซ่อนในสัตว์ป่า เช่น ค้างคาว ยุง เห็บ ไร ริ้น แมลง

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0