โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

'อีริคสัน' ชี้ 5G ไทยจะเกิดไม่ทัน 2020 ถ้าไม่นำคลื่นย่านกลางมาจัดสรร

Manager Online

อัพเดต 21 ม.ค. 2562 เวลา 13.20 น. • เผยแพร่ 21 ม.ค. 2562 เวลา 13.20 น. • MGR Online

อีริคสัน ชี้ไทย และอาเซียน จะเริ่ม 5G ช้ากว่าภูมิภาคอื่น เนื่องจากช่วงคลื่นความถี่ย่านกลาง 3.4 - 3.7 GHz ที่หลายประเทศในเอเชียเหนือ และยุโรป นำไปใช้กับ 5G ยังไม่ถูกจัดสรรสำหรับโทรคมฯ โดยเฉพาะในประเทศไทยที่คลื่นความถี่ 3.5 GHz ถูกจัดสรรให้ดาวเทียมไทยคมใช้งานอยู่

นายเจษฏา ศิวรักษ์ หัวหน้างานฝ่ายรัฐกิจและธุรกิจสัมพันธ์ บริษัท อีริคสัน (ประเทศไทย) จำกัด ให้ความเห็นเกี่ยวกับการที่ประเทศไทย จะสามารถให้บริการ 5G ได้ภายในปี 2020 ว่าต้องเริ่มจากการนำคลื่นที่เหมาะสมกับการใช้งาน 5G มาจัดสรรก่อน โดยเฉพาคลื่น 3.5 GHz ที่หลายประเทศนำไปใช้งาน และมีอุปกรณ์เครือข่ายรองรับ

“ประเด็นหลักคือคลื่นความถี่ 3.5 GHz ในไทย และหลายๆประเทศในภูมิภาคอาเซียน ปัจจุบันถูกนำไปใช้กับดาวเทียมซีแบนด์ และยังไม่มีแผนในการจัดสรรคลื่นความถี่ดังกล่าวที่ชัดเจน ในขณะเดียวกันเอเชียเหนือ หรือฝั่งยุโรป ได้เตรียมการจัดสรรช่วงคลื่นดังกล่าวมาให้บริการ 5G แล้ว”

โดยในมุมของผู้ผลิตอุปกรณ์ เมื่อมีตลาดขนาดใหญ่รองรับ จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่อุปกรณ์ในอีโคซิสเตมส์ของ 5G ช่วงแรกจะถูกพัฒนาขึ้นมาให้ใช้งานได้บนคลื่น 3.5 GHz ส่วนอุปกรณ์ที่รองรับคลื่นความถี่อื่นๆ บนมาตรฐานของ 5G ก็จะถูกพัฒนาในเฟสถัดๆ ไป

นอกจากนี้ ในการนำ 5G มาใช้งานจะต้องมีใช้งานร่วมกับคลื่นความถี่ 4G LTE (Anchor Band) ซึ่งปัจจุบันอุปกรณ์ส่วนใหญ่ที่ใช้งาน 5G บนคลื่น 3.5 GHz ต้องใช้งานคู่กับ 4G บนคลื่น 1.8 GHz และ 2.1 GHz ซึ่งกลายเป็นช่วงคลื่นที่เหมาะกับประเทศไทย

ขณะเดียวกันถ้าต้องการนำคลื่น 5G บนช่วงคลื่นความถี่สูงอย่าง 26 GHz หรือ 28 GHz ปัจจุบันอุปกรณ์ที่มีจะเป็นของทางฝั่งอเมริกาที่ใช้งานคู่กับ 4G บนช่วงคลื่น 850 MHz ซึ่งปัจจุบัน กสท โทรคมนาคม ถือครองอยู่

“ถ้าจะรอให้อุปกรณ์ 5G รองรับมาตรฐานคลื่น 700 MHz อาจจะต้องรอดูความชัดเจนกันอีกครั้งในปลายปีนี้ ว่าจะมีกลุ่มประเทศใดที่สนใจนำคลื่นดังกล่าวมาใช้งาน ซึ่งถ้ามีจำนวนมากพอก็มีโอกาสที่ทางผู้ผลิตจะพัฒนาขึ้นมาให้รองรับ”

ไม่นับรวมกับ เรื่องการเตรียมความพร้อมในฝั่งของโอเปอเรเตอร์ ที่ต้องมีการลงทุนขยายโครงข่ายหลัก เพิ่มเติมให้รองรับแบนด์วิดท์ที่สูงขึ้น แม้ว่าปัจจุบันจะเริ่มเห็นอุปกรณ์บางส่วนที่รองรับการใช้งาน 5G แล้วแต่ก็ยังมีอุปกรณ์หลักๆอีกหลายส่วนที่ต้องลงทุนเพิ่มเติม

***รายงานเผยใน 5 ปีข้างหน้าทั่วโลกใช้ 5G 1.5 พันล้านราย

สาธารณูปโภค และความปลอดภัยด้านสาธารณะ จะเป็นภาคส่วนที่ผู้ให้บริการสามารถสร้างรายได้จาก 5G ได้มากที่สุด

นายวุฒิชัย วุฒิอุดมเลิศ รองประธาน และหัวหน้าฝ่ายเน็ตเวิร์ก โซลูชัน บริษัท อีริคสัน (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวถึงแนวโน้มการใช้งาน 5G ที่จะเกิดขึ้นในช่วง 5 ปีข้างหน้า จากรายงาน ‘Mobility Report’ ฉบับล่าสุด ว่าภายในปี 2024 จะมีจำนวนผู้ใช้งาน 5G ทั่วโลก 1.5 พันล้านราย ครอบคลุมการใช้งาน 40% ของประชากรโลก

“ตอนนี้จำนวนประชากรทั่วโลกอยู่ที่ 7.3 พันล้านราย แต่มีจำนวนผู้ใช้งานโทรศัพท์มือถือกว่า 7.9 พันล้านรายโดยในจำนวนนี้มีอยู่ราว 5.7 พันล้านรายเท่านั้นที่มีการสมัครใช้งานโมบายอินเทอร์เน็ต และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง”

ในรายงานมีการคาดการณ์ว่าภายในปี 2024 จำนวนผู้ใช้งานโทรศัพท์จะอยู่ที่ราว 8.9 พันล้านราย โดยในจำนวนนี้ราว 1.5 พันล้านรายจะเข้าสู่การใช้งาน 5G หรือราว 17% ส่วน 4G LTE จะอยู่ที่ราว 5.4 พันล้านราย หรือคิดเป็นสัดส่วนหลักที่ราว 60%

ส่วนในมุมของการใช้งานแบนด์วิดท์ ในปีที่ผ่านมากว่า 60% จะถูกใช้งานไปกับวิดีโอคอนเทนต์ และจะเพิ่มขึ้นเป็น 74% ในปี 2024 ขณะที่ปริมาณดาต้ารวมทั่วโลกที่เกิดขึ้นจะเพิ่มจาก 27EB ต่อเดือน เป็น 136EB ต่อเดือน (1 EB = 1 พันล้าน GB) ทั้งนี้กว่า 25% ของการใช้งานอินเทอร์เน็ตที่เกิดขึ้นในปี 2024 จะอยู่บนเครือข่าย 5G

ในมุมของอีริคสัน มองว่า ในช่วงแรกที่เริ่มให้บริการ 5G จะเริ่มจากในมุมของผู้บริโภคก่อนซึ่งเป็นกลุ่มที่มีฐานใหญ่ที่สุด (Enchanced Mobile Broadband) ด้วยการนำไปใช้กับการเข้าถึงคอนเทนต์ในกลุ่มของ AR VR วิดีโอ 4K 8K เป็นต้น

ถัดมาคือกลุ่มของ Massive Machine Type Communication (Massive MTC) หรือกลุ่มอุปกรณ์เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต (IoT) ทั้งหลาย ที่จะเริ่มขยับจากการใช้งานบน LTE มาเป็น 5G ส่วนกลุ่มของ Critical MTC อย่างการไปใช้การควบคุมเครื่องจักรในอุตสาหกรรม รถยนต์ไร้คนขับ ที่ต้องมีการลงทุนติดตั้งระบบใหม ซึ่งถือว่าอยู่ในช่วงของการเปลี่ยนถ่ายเทคโนโลยี จะตามมาเป็นกลุ่มหลังสุด

“การลงทุน 5G ในมุมของโอเปอเรอเตอร์ คือลงทุนแล้วสามารถเพิ่มปริมาณแบนด์วิดท์ในการใช้งานอินเทอร์เน็ตได้มากขึ้น ส่งผลให้ประสบการณ์ของผู้บริโภคในการใช้งานอินเทอร์เน็ตดีขึ้น แต่สุดท้ายที่จะสร้างรายได้ก็คือต้องนำไปใช้งานกับการเชื่อมต่อรูปแบบอื่นๆ”

ทั้งนี้ อีริคสัน ประเมินว่าในไทยเทคโนโลยี 5G จะสามารถเพิ่มรายได้ให้แก่ผู้ให้บริการได้สูงขึ้นถึง 2.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือราว 22% ของรายได้ที่คาดการณ์ไว้ภายในปี 2024 โดยอุตสาหกรรมการผลิต อุตสาหกรรมด้านพลังงานและ

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0