โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

อีก 32 ปีช็อกโกแลตจะหายไปจากโลก

new18

อัพเดต 23 พ.ย. 2561 เวลา 09.43 น. • เผยแพร่ 23 พ.ย. 2561 เวลา 02.35 น. • new18
อีก 32 ปีช็อกโกแลตจะหายไปจากโลก
ผลการศึกษาวิจัยล่าสุดของนักวิทยาศาสตร์บ่งชี้ว่า ต้นโกโก้กำลังจะสูญหายไปจากโลกของเรา อย่างเร็วที่สุดในปี พ.ศ. 2593 จากผลพวงของภาวะโลกร้อน อุณหภูมิเฉลี่ยทั่วโลกสูงขึ้น และสภาพภูมิอากาศที่แห้งแล้งกว่าเดิม

ผลการศึกษาวิจัยล่าสุดของนักวิทยาศาสตร์บ่งชี้ว่า ต้นโกโก้กำลังจะสูญหายไปจากโลกของเรา อย่างเร็วที่สุดในปี พ.ศ. 2593 จากผลพวงของภาวะโลกร้อน อุณหภูมิเฉลี่ยทั่วโลกสูงขึ้น และสภาพภูมิอากาศที่แห้งแล้งกว่าเดิม

คณะนักวิทยาศาสตร์ของมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ (ยูซี เบิร์กลีย์) สหรัฐอเมริกา กำลังทำงานร่วมกับบริษัท Mars เพื่อพยายามรักษาต้นโกโก้ไว้ ก่อนที่จะสายเกินไป ทีมงานนักวิจัยกำลังสำรวจความเป็นไปได้ ในการใช้เทคโนโลยีการปรับแต่งพันธุกรรม ที่เรียกว่า CRISPR เพื่อทำให้ต้นโกโก้สามารถอยู่รอดได้ ภายใต้สิ่งท้าทายใหม่ ๆ
เลยทะลุกำแพงกระจกและหินทราย เข้าไปในอาคารวิทยาศาสตร์ชีวภาพหลังใหม่ ในมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย จะเห็นเมล็ดโกโก้สีเขียวขนาดเล็กเรียงเป็นแถว ในเรือนกระจกแช่เย็น รอวันกำหนดชะตากรรม ภายใต้การควบคุมดูแลของ นายโช มยอง-เจ ผู้อำนวยการแผนกจีโนมิกส์พืชของยูซี เบิร์กลีย์ ที่ร่วมมือกับบริษัทอาหารและขนมหวาน “มาร์ส”
เมล็ดโกโก้จะเปลี่ยนแปลงไป หากทุกอย่างเป็นไปตามแผนที่กำหนด อีกไม่นานเมล็ดโกโก้ขนาดเล็กเหล่านี้จะสามารถอยู่รอด และเติบโต ในสภาพภูมิอากาศแห้งและร้อนกว่า ที่สร้างความหวาดผวาแก่เกษตรกรทั่วโลก เทคโนโลยี CRISPR ถูกใช้เพื่อทำให้พืชผลราคาถูกลง และเชื่อถือได้มากกว่า แต่การใช้ประโยชน์สำคัญที่สุดของพวกมันจะอยู่ในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา ที่ซึ่งพืชที่ประชาชนจำนวนมากต้องพึ่งพาเลี้ยงชีวิต ถูกคุกคามโดยผลกระทบจากภาวะโลกร้อน รวมทั้งภาวะขาดแคลนน้ำ และศัตรูพืช
ต้นโกโก้สามารถปลูกได้ในพื้นที่จำกัดของโลก ตามแนวแคบ ๆ ของป่าหนาทึบเขตร้อน ประมาณ 20 องศาเหนือและใต้ของเส้นศูนย์สูตร ซึ่งอุณหภูมิ ฝน และความชื้น ค่อนข้างจะคงที่ตลอดทั้งปี แต่พื้นที่เหล่านี้จะไม่เหมาะสำหรับช็อกโกแลต
ในช่วงไม่กี่ทศวรรษข้างหน้า ภายในปี พ.ศ. 2593 อุณหภูมิโลกที่สูงขึ้นจะผลักภูมิภาคปลูกช็อกโกแลต ขึ้นเนินสูงกว่า 1,000 ฟุต เข้าสู่ภูเขา ซึ่งปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นเขตอนุรักษ์พืชพรรณและสัตว์ป่า
มาร์ส กลุ่มธุรกิจมูลค่า 35,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่รู้จักกันดีเช่น อาหารว่าง Snickers ทราบดีถึงปัญหาที่เกิดจากภาวะโลกร้อนเหล่านี้ ในเดือน ก.ย. ที่ผ่านมา บริษัทมาร์สประกาศมอบเงินจำนวน 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สมทบทุนโครงการที่เรียกว่า “ความยั่งยืนใน 1 ชั่วอายุคน” ซึ่งมีเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จากผลิตภัณฑ์ของบริษัทกว่า 60 % ภายในปี พ.ศ. 2593
แผนริเริ่มของบริษัทมาร์สกับโช แห่งยูซี เบิร์กลีย์ เป็นอีกหนึ่งมิติของความพยายาม หากทุกอย่างเป็นไปตามแผน พวกเขาสามารถต้นปลูกโกโก้ที่จะไม่เหี่ยวเฉา หรือเน่าเปื่อย ในพื้นที่เพาะปลูกปัจจุบัน หมดความจำเป็นที่จะต้องโยกย้ายฟาร์ม หรือหาแนวทางอื่น ๆ

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0

ความเห็น 15

  • Golf
    โห เรื่องนี้เปน เรื่งความมั่นคง ของชาติ เลยนะ เรามหาชาวไทย ต้องทำอะไรสักอย่างแล้ว ความยกให้เปน วาระแห่งชาติ ได้เลยนะนี่
    23 พ.ย. 2561 เวลา 05.54 น.
  • TOMMY00
    ทำไมแค่ต้นโกโก้? ต้นอื่นก็ไม่น่ารอด
    23 พ.ย. 2561 เวลา 05.21 น.
  • สุธัญญา อ้อย
    ตายก่อน ไม่มีผล อิอิ
    23 พ.ย. 2561 เวลา 04.47 น.
  • Wut Erman
    ทางภาคใต้ของไทยปลูกกันเยอะแยะครับ
    23 พ.ย. 2561 เวลา 04.39 น.
  • •_<•>S•u•t•e•p<•>_•
    หายไปไหนหรอ ต่างดาวจะขโมยไปหรอ ไร้สาระ
    23 พ.ย. 2561 เวลา 04.33 น.
ดูทั้งหมด