โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

อินเดีย-ปากีสถาน ดวลปืนใหญ่ข้ามแดน

MThai.com

เผยแพร่ 17 ส.ค. 2562 เวลา 14.23 น.
อินเดีย-ปากีสถาน ดวลปืนใหญ่ข้ามแดน
อินเดียและปากีสถานเปิดฉากยิงกระสุนปืนใหญ่ข้ามแดนตอบโต้กันเหนือ “เส้นควบคุม” ในดินแดนพิพาทรัฐแคชเมียร์ ที่กั้นเขตแดนระหว่างกัน โดยการยิงตอบโต้ครั้งล่าสุดมีทหารอินเดียเสียชีวิต 1 นาย

อินเดียและปากีสถานเปิดฉากยิงกระสุนปืนใหญ่ข้ามแดนตอบโต้กันเหนือ “เส้นควบคุม” ในดินแดนพิพาทรัฐแคชเมียร์ ที่กั้นเขตแดนระหว่างกัน โดยการยิงตอบโต้ครั้งล่าสุดมีทหารอินเดียเสียชีวิต 1 นาย โดยเจ้าหน้าที่กล่าวว่าการยิงเริ่มขึ้นจากเมือง นาวเชอรา ปากีสถาน เมื่อเวลาประมาณ 6.30 น.ตามเวลาท้องถิ่น

เหตุความไ่ม่สงบครั้งนี้ เกิดขึ้นหลังจากรัฐบาลอินเดียตัดสินใจ ออกมาตรการยกเลิกสถานพิเศษของรัฐแคชเมียร์ ในฝั่งที่อยู่ภายใต้การปกครองของอินเดียกระทั่งประชาชนในท้องถิ่นออกมารวมตัวประท้วงการกระทำของฝ่ายอินเดียขณะที่รัฐบาลปากีสถาน และจีนคู่พิพาทของอินเดียได้ออกมาแสดงความไม่พอใจอย่างรุนแรงต่อมาตรการนี้

คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติหรือยูเอ็นเอสซี จะจัดการประชุมเพื่อหารือประเด็นแคว้นชเมียร์ โดยการประชุมจะมีขึ้นแบบลับในเวลา 21.00 น. วันที่ 16 สิงหาคมที่ผ่านมา ตามเวลาประเทศไทย โดยมีผู้นำโปแลนด์ ซึ่งเป็นประธานปัจจุบันของยูเอ็นเอสซีตามวาระหมุนเวียน เป็นประธานการประชุม

ทว่าการประชุมหารือเกี่ยวกับแคว้นแคชเมียร์ในที่ประชุมยูเอ็นเอสซี ซึ่งแคว้นแห่งนี้ถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน โดยส่วนหนึ่งอยู่ภายใต้การปกครองของอินเดีย และอีกส่วนหนึ่งอยู่ภายใต้การปกครองของปากีสถาน นับตั้งแต่ได้รับอิสรภาพจากอังกฤษ เมื่อปี 2490 ทั้งนี้ การประชุมยูเอ็นเอสซี เกี่ยวแคว้นแคชเมียร์ มีขึ้นครั้งสุดท้ายเมื่อปี 2508 แต่การประชุมครั้งนี้ไม่ถือว่าเป็นการประชุมด้านความมั่นคงแบบเต็มรูปแบบ แต่จะเป็นการหารือแบบลับ

ย้อนไปความขัดแย้งระหว่าง“อินเดีย-ปากีสถาน” เกิดขึ้นมาตั้งแต่ปี 1947 ซึ่งเป็นช่วงหลังจากที่อังกฤษมอบเอกราชให้กับทั้งสองประเทศ ซึ่งปากีสถานเป็นประเทศที่ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม ในขณะที่ชาวอินเดียส่วนใหญ่นับถือศาสนาฮินดู

ชนวนสำคัญเกิดขึ้นที่แคว้นจัมมูร์แคชเมียร์หรือที่ชาวไทยเรียกกันว่า ‘แคชเมียร์’ ซึ่งเป็นแคว้นที่มีประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิม แต่ผู้ปกครองแคว้นนี้ในขณะนั้นเป็นฮินดู ทำให้ผู้ปกครองลงนามที่จะไปรวมกับอินเดีย สร้างความไม่พอใจให้กับประชาชนและปากีสถานเพราะเป็นชาวมุสลิมเหมือนกัน ในขณะที่อินเดียก็ถือว่าตนสิทธิ์ในแคชเมียร์แล้วตามที่ผู้ปกครองลงนาม โดยปัญหาเกิดจากการอ้างสิทธิ์เหนือดินแดนระหว่างรัฐกับรัฐด้วยกันความขัดแย้งได้ขยายวงกว้างจนนำไปสู่การเกิด ‘สงคราม’ หลายครั้ง

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0