โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

อารมณ์ไม่ดี ขี้หงุดหงิด ขี้นอยด์! เป็นเพราะใกล้มีประจำเดือน...จริงหรอ?

Health Addict

อัพเดต 22 พ.ย. 2562 เวลา 10.45 น. • เผยแพร่ 22 พ.ย. 2562 เวลา 10.45 น. • Health Addict
เป็นมั้ย เวลาหงุดหงิด นอยด์ๆ แล้วชอบพูดกันว่าสงสัยจะมีเมนส์  ตกลง 2 สิ่งนี้มันเกี่ยวข้องกันยังไง? การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายมันส่งผลต่ออารมณ์ได้จริงๆ หรอ
เป็นมั้ย เวลาหงุดหงิด นอยด์ๆ แล้วชอบพูดกันว่าสงสัยจะมีเมนส์ ตกลง 2 สิ่งนี้มันเกี่ยวข้องกันยังไง? การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายมันส่งผลต่ออารมณ์ได้จริงๆ หรอ

ทำไมเรื่องอะไรๆ ก็ชวนให้น่าหงุดหงิด แฟนพูดผิดหูเข้าหน่อย ก็พาลนอยด์น้ำตาไหล อ่ะ! พอมีอาการแบบนี้เกิดขึ้นปุ๊บ สายอาร์ตตัวแม่ทั้งหลายก็เตรียมฟันธงปั๊บว่า “ฉันต้องกำลังจะมีประจำเดือนแน่ๆ” แล้วอารมณ์ที่แปรปรวนราวกับรถไฟเหาะของสาวๆ ทำไมถึงถูกเหมารวมว่าน่าจะเกี่ยวข้องกับอาการก่อนมีประจำเดือน เรามาหาคำตอบกัน…

เคยได้ยินเกี่ยวกับ “ภาวะ PMS” มั้ย นี่แหละ! สาเหตุอารมณ์แปรปรวน
ในช่วงก่อนมีประจำเดือนประมาณ 2 สัปดาห์ สาวๆ มักจะชอบมีอาการเจ็บคัดเต้านม ปวดศีรษะ ท้องอืด ท้องผูก หรือปวดตัวปวดกล้ามเนื้อ กันบ่อยๆ ใช่มั้ยล่ะ? ซึ่งเราเชื่อว่าหลายคนเข้าใจกันอยู่แล้วว่านี่เป็นลักษณะอาการที่เอฟเฟ็กต์มาจากการจะถึงรอบประจำเดือนของเรา หรือในทางการแพทย์จะเรียกว่า “ภาวะ PMS”
แต่จริงๆ แล้วอาการ PMS ไม่ได้แสดงเด่นชัดแค่ต่อร่างกายเราเท่านั้น เพราะยังส่งผลเอฟเฟ็กต์ในด้านของอารมณ์ ทำให้อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิด วิตกกังวลง่าย ขาดสมาธิ ดึงดราม่าอยู่ในโหมดเศร้า นอยด์เก่ง ร้องไห้แบบไม่มีเหตุผลสมควร หรือนอนไม่ค่อยหลับ อาการเหล่านี้เนี่ยแหละ…ล้วนเป็นอาการของภาวะ PMS ทั้งนั้นเลย!!
แล้ว “ภาวะ PMS” เกิดจากอะไรกันนะ?
เมื่อรู้แล้วว่าอารมณ์ที่ขึ้นๆ ลงๆ อย่างรวดเร็วอาจเป็นเอฟเฟ็กต์มาจากภาวะ PMS แล้วภาวะนี้มีสาเหตุมาจากอะไร ทำไมถึงส่งผลทั้งต่อร่างกายและอารมณ์ของเหล่าอาร์ตตัวแม่ได้มากขนาดนี้  www.healthline.com ก็ได้อธิบายไว้ว่า…
สาเหตุของอาการ PMS นั้นยังไม่มีการยืนยันแน่ชัด แต่ก็เชื่อได้ว่า…น่าจะสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเพศหญิง อย่าง ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน และฮอร์โมนเอสโตรเจน ในช่วงก่อนมีประจำเดือน ซึ่งการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเพศหญิงนี้สามารถส่งผลให้สารสื่อประสาทในสมองลดลง เช่น เซโรโทนินและโดปามีน ที่มีความเกี่ยวข้องกับการควบคุมอารมณ์ นักวิจัยจึงเชื่อว่านี่น่าจะเป็นปัจจัยที่ทำให้มีอารมณ์แปรปรวน หรือความวิตกกังวล ซึมเศร้า หดหู่ เกิดขึ้นในช่วงก่อนมีประจำเดือนนั่นเอง
ไม่อยากวีนเหวี่ยงก่อนมีประจำเดือน นี่คือทางออก…

  • เต้นแอโรบิก มีงานวิจัยพบว่า…คนที่เต้นแอโรบิกเป็นประจำจะมีอาการ PMS รุนแรงน้อยกว่า
  • โยคะหรือนั่งสมาธิ เพื่อลดความเครียด ควบคุมความวิตกกังวลที่เกิดขึ้น
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
  • เลือกทานคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน เช่น ธัญพืช เพราะมีส่วนช่วยลดความหงุดหงิดและความอยากอาหารในช่วงภาวะ PMS ได้
  • เลือกทานอาหารที่อุดมไปด้วยแคลเซียม เช่น นมหรือโยเกิร์ต และอาหารที่อุดมด้วยวิตามินบี 6 เช่น ทูน่าหรือแซลมอน เพราะมีการศึกษาพบว่าแคลเซียมและวิตามินบี 6 สามารถลดอาการทางร่างกายและจิตใจที่เกิดจากภาวะ PMS ได้สาวๆ คนไหนที่ชอบอารมณ์ขึ้นๆ ลงๆ เดี๋ยวโกรธเดี๋ยวร้องไห้ในช่วงก่อนมีประจำเดือน เราอยากจะบอกว่าอย่าปล่อยไว้เพราะคิดว่าเดี๋ยวประจำเดือนหมด…อาการหงุดหงิดเหล่านี้ก็จะหายไป เพราะพฤติกรรมที่เป็น negative แบบนี้ ก็อาจบั่นทอนคนข้างๆ จนทำให้ไม่มีใครอยากเข้าใกล้คุณอีกก็ได้นะ!!
     
0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0