โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

อายุขยะพลาสติก เรื่องจริงที่ไม่ควรมองข้าม

WWF-Thailand

เผยแพร่ 19 มิ.ย. 2562 เวลา 17.01 น.

เราอาจใช้เวลาเพียงแค่ 5 นาทีในการดื่มน้ำจากขวดพลาสติก แต่ทะเลกลับต้องใช้เวลาถึง 450 ปีเพื่อกำจัดขยะชิ้นนั้น !

จากการประเมินขององค์การบริหารสมุทรศาสตร์และบรรยากาศแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (NOAA) และกลุ่ม Woods Hole Sea Grant ซึ่งได้รวบรวมข้อมูลแสดงระยะเวลาที่ขยะจากฝีมือมนุษย์จะย่อยสลายทางชีวภาพในทะเลพบว่า สายเบ็ดตกปลาคือขยะที่ร้ายแรงที่สุด ซึ่งอาจต้องใช้เวลานานถึง 600 ปีในการย่อยสลายทางชีวภาพ ขณะที่ผ้าอ้อมใช้เวลาเท่ากับขวดพลาสติก คือประมาณ 450 ปี ส่วนถุงพลาสติกสำหรับใส่ของตามร้านค้าต้องใช้เวลาถึง 20 ปี ถ้วยโฟมใส่กาแฟใช้เวลา 50 ปี และก้นบุหรี่ใช้เวลา 10 ปี

ที่จริงแล้ว ในทุก ๆ ปีจะมีขยะพลาสติกกว่า 8 ล้านตันถูกปล่อยลงทะเล และมีการคาดคะเนว่าในปีค.ศ. 2050 ปริมาณน้ำหนักขยะพลาสติกอาจมากกว่าปริมาณปลาในทะเลเสียด้วยซ้ำ!

ขยะเหล่านี้คร่าชีวิตสัตว์ทะเลนับไม่ถ้วน และเมื่อต้นปีที่แล้วก็มีการพบวาฬนำร่องเกยตื้นตายบริเวณชายฝั่งทางใต้ของไทย ซึ่งผลปรากฏว่าพบขยะถุงพลาสติกกว่า 80 ชิ้นในกระเพาะอาหาร

นักวิทยาศาสตร์ระบุตรงกันว่า เมื่อปลากลืนกินพลาสติกเหล่านี้ที่สลายตัวกลายเป็น “ไมโครพลาสติก” เข้าไป พลาสติกก็ได้กลายเป็นส่วนประกอบในอาหารของเราอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ปัจจุบันรัฐบาลและองค์กรต่าง ๆ ทั่วโลกต่างตระหนักถึงปัญหา และผลกระทบจากขยะพลาสติกในทะเลที่มีต่อระบบนิเวศทางทะเลมากขึ้น ปีที่แล้วมีการลงชื่อสนับสนุนมาตรการลดมลพิษขยะพลาสติกในทะเลจากกว่า 200 ประเทศ

ในเดือนตุลาคมที่ผ่านมา รัฐสภายุโรปลงมติห้ามใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งอย่างเด็ดขาด ซึ่งรวมถึงก้านไม้แคะหู หลอดดูดน้ำ และช้อนส้อมพลาสติก ซึ่งจะเริ่มบังคับใช้ปีค.ศ. 2021 

เมื่อเดือนกันยายน สภาเศรษฐกิจโลก (World Economic Forum) ได้ประกาศแผนโครงการ “ความเป็นหุ้นส่วนใหม่” ภายใต้ชื่อ หุ้นส่วนปฏิบัติการขยะพลาสติกโลก หรือ จีพีเอพี ( the Global Plastic Action Partnership : GPAP) เพื่อควบคุมอัตรามลพิษขยะที่เพิ่มสูงขึ้น ด้วยการสนับสนุนจากทั้งรัฐบาลสหราชอาณาจักร และแคนาดา รวมไปถึงบริษัทยักษ์ใหญ่ภาคเอกชนอย่างบริษัทโคคา-โคล่า บริษัทดาว เคมิคอล และ มูลนิธิเป๊ปซี่โค เป็นต้น

ทั้งนี้ จีพีเอพี จะทำงานร่วมกับบรรดาประเทศที่มีแนวชายฝั่งติดทะเลที่กำลังต่อสู้กับปัญหาขยะพลาสติก ด้วยการกระตุ้นให้กลุ่มธุรกิจ ชุมชน และรัฐบาลออกแบบเศรษฐกิจโลกใหม่ จากแบบใช้แล้วทิ้ง ให้หันมาใช้วิธีหมุนเวียนในระบบการผลิตและบริโภค โดยจะเริ่มต้นที่รัฐบาลอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นประเทศหนึ่งที่สร้างมลพิษขยะพลาสติกมากที่สุดในโลก โดยจีพีเอพีจะช่วยกลุ่มประเทศหมู่เกาะดำเนินการตามแผนเพื่อลดมลภาสะพลาสติกลง 70% ตลอดระยะเวลา 7 ปีข้างหน้า

ขอขอบคุณข้อมูล และรูปภาพจาก World Economic Forum , Statista

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0