โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

อัยการ-โฆษกยุติธรรม แนะช่องทางบังคับคดี ได้เงินชดเชยคดี “แพรวา”

TODAY

อัพเดต 17 ก.ค. 2562 เวลา 15.41 น. • เผยแพร่ 17 ก.ค. 2562 เวลา 15.41 น. • Workpoint News
อัยการ-โฆษกยุติธรรม แนะช่องทางบังคับคดี ได้เงินชดเชยคดี “แพรวา”

กรณี น.ส.แพรวา ขับรถยนต์ฮอนด้าซีวิคเฉี่ยวชนรถตู้โดยสารบนดอนเมืองโทลเวย์ ทำให้มีผู้เสียชีวิต 9 ราย บาดเจ็บ 5 คน เมื่อปี 2553 ต่อมามีการฟ้องคดีอาญาจนยุติ และฟ้องแพ่งจนถึงชั้นฏีกา โดยเมื่อวันที่ 8 พ.ค. 62 ศาลให้ น.ส.แพรวา พร้อมพ่อแม่ และเจ้าของรถยนต์ฮอนด้าซีวิค จ่ายค่าสินไหมทดแทน 25,261,164 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปีนับแต่วันทำละเมิด ภายใน 30 วัน แต่เลยกำหนดแล้วยังไม่มีการติดต่อใดๆ นั้น

ธนกฤต วรธนัชชากุล อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด

วันที่ 17 ก.ค. ดร.ธนกฤต วรธนัชชากุล อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด โพสต์เฟซบุ๊ก แนะนำขั้นตอนและหลักเกณฑ์บังคับคดี มีรายละเอียดสำคัญ คือ

- โจทก์ร่วมผู้เสียหาย ในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะต้องร้องขอต่อศาลให้มีการบังคับคดีโดยวิธียึดทรัพย์สิน อายัดสิทธิเรียกร้องหรือบังคับคดีโดยวิธีอื่น ภายใน 10 ปี  โดยต้องดำเนินการ 3 ขั้นตอน  คือ

  1. ร้องขอต่อศาลให้ออกหมายบังคับคดี
  2. แจ้งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทราบว่ามีการออกหมายบังคับคดีแล้ว
  3. แถลงต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีขอให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษา

ทีมงานของศูนย์นิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ ช่วยเหลือเรื่องคดี

- เมื่อมีการออกหมายบังคับคดีตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีแล้ว เจ้าพนักงานบังคับคดีจะมีอำนาจในการบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาด้วย 4 วิธีการ ดังนี้

  1. ยึดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษา
  2. อายัดสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ตามคำพิพากษาที่จะเรียกให้บุคคลภายนอกชำระเงินหรือส่งมอบหรือโอนทรัพย์สิน
    3.อายัดสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ตามคำพิพากษาที่จะเรียกให้บุคคลภายนอกชำระหนี้อย่างอื่นนอกจากที่กล่าวมาแล้ว
    4.ขายทอดตลาดหรือจำหน่ายโดยวิธีอื่นซึ่งทรัพย์สินที่ได้มาจากการยึดหรือการอายัดหรือซึ่งสิทธิเรียกร้องที่ได้อายัดไว้

- การสืบหาทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษา หากโจทก์ร่วมมีเหตุอันควรเชื่อว่าลูกหนี้ตามคำพิพากษามีทรัพย์สินที่จะต้องถูกบังคับคดีมากกว่าที่ตนทราบ หรือมีทรัพย์สินที่จะต้องถูกบังคับคดี แต่ไม่ทราบว่าทรัพย์สินนั้นอยู่หรือเก็บไว้ที่ใด เจ้าหนี้ตามคำพิพากษามีสิทธิทำเป็นคำร้องเพื่อให้ศาลทำการไต่สวนได้

- เจ้าหนี้ตามคำพิพากษามีสิทธิขอศาลออกหมายค้นสถานที่ ในกรณีที่มีเหตุอันควรเชื่อว่า ทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษา อยู่ในสถานที่ที่บุคคลอื่นครอบครองอยู่

ธวัชชัย ไทยเขียว รองปลัดกระทรวงยุติธรรม

ด้านนายธวัชชัย ไทยเขียว รองปลัดและโฆษกกระทรวงยุติธรรม อธิบายถึงกรณีลูกหนี้ไม่ยอมชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามคำพิพากษา เช่นกันว่า ผู้เสียหายต้องไปยื่นคำร้องขอให้ศาลออกหมายบังคับคดี  จากนั้นต้องจ้างทนายความสืบทรัพย์สินของลูกหนี้ แล้วยื่นต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อเข้าสู่กระบวนการบังคับคดีด้วยการขอให้อายัดทรัพย์ดังกล่าว

เมื่อได้ทรัพย์สินจะเข้าสู่กระบวนการขายทอดตลาด เพื่อนำทรัพย์ที่ได้ไปเฉลี่ยให้กับผู้เสียหายแล้วแต่กรณี หากไม่พอผู้เสียหายต้องนำคดีไปยื่นฟ้องขอให้จำเลยหรือลูกหนี้ตกเป็นคนล้มละลายต่อศาลล้มละลายกลางได้ในกรณีที่มีมูลหนี้มากกว่า 1 ล้านบาท ศาลก็จะมีคำสั่งให้กรมบังคับคดีรายงานว่าจำเลยมีศักยภาพพอที่จะชดใช้ได้หรือไม่ ถ้าไม่มีและเข้าข่ายมีหนี้สินล้นพ้นตัว ศาลก็จะมีคำพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลาย

โฆษกกระทรวงยุติธรรมระบุด้วยว่า ผลของการเป็นบุคคลล้มละลาย จะทำให้บุคคลนั้น
1.ไม่สามารถทำนิติกรรมนิติกรรมสัญญาใดๆ ทั้งสิ้นได้ รวมถึงธุรกรรมการเงินต่างๆ
2.ไม่สามารถเดินทางไปต่างประเทศได้ หรือหากมีความจำเป็นต้องเดินทางไปจริงๆ ก็ต้องขออนุญาตจากพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก่อน หากได้รับอนุญาตให้ออกนอกประเทศจะต้องทำบัญชีรายรับรายจ่ายส่งต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ว่าทุกๆ 6 เดือน พร้อมทั้งส่งรายได้ตามที่เจ้าพนักงานจะอายัดเข้ากองทรัพย์สินด้วย

เมื่อครบ 3 ปี จึงจะถูกปลดจากการเป็นบุคคลล้มละลาย ยกเว้นกรณีที่ไม่ให้ความร่วมมือกับเจ้าหนี้ก็อาจจะมีการขยายเวลาเป็น 5 หรือ 10 ปีก็ได้ โดยแม้ครบ 3 ปี สามารถขอปลดจากการเป็นบุคคลล้มละลายได้ ทำให้ทำงานและทำธุรกรรมต่าง ๆ ได้ตามปกติ แต่การภาระชดใช้ตามคำพิพากษาก็ยังคงดำเนินการได้ต่อไปจนกว่าจะหมดอายุความ

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0