โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

อัปเดตรถไฟฟ้าสายสีชมพู และทำเลที่น่าสนใจ

DDproperty

เผยแพร่ 26 ก.พ. 2563 เวลา 12.48 น.
อัปเดตรถไฟฟ้าสายสีชมพู และทำเลที่น่าสนใจ
อัปเดตรถไฟฟ้าสายสีชมพู และทำเลที่น่าสนใจ

รถไฟฟ้าสายสีชมพู หรือ รถไฟฟ้า สายรามอินทรา เป็นโครงการระบบขนส่งมวลชนในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ช่วงแคราย-มีนบุรี ทั้งหมด 30 สถานี รวมระยะทางตลอดเส้นทางเดินรถไฟฟ้า 34.5 กิโลเมตร โดยรถไฟฟ้าสายนี้มีทำเลที่น่าสนใจหลายแห่ง ดังนี้

 

เส้นทางรถไฟฟ้าสายสีชมพู

รถไฟฟ้าสายสีชมพู มีจุดเริ่มต้นจุดแรกเชื่อมต่อกับระบบขนส่งรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ และรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลที่ “สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี” บริเวณใกล้แยกแคราย ไล่เรื่อยไปตามเส้นทางถนนติวานนท์ ผ่าน 6 เขต ระหว่างอำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรีไปจนถึงมีนบุรี กรุงเทพฯ ซึ่งเป็นจุดสิ้นสุดที่ “สถานีมีนบุรี” จุดเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีส้ม

โดยในระหว่างทางการเดินทางของรถไฟฟ้าสายสีชมพูนั้น จะมีการตัดผ่านจุดเชื่อมต่อรถไฟฟ้าอีก 3 สาย นั่นก็คือรถไฟฟ้าสายสีแดง บางซื่อ-รังสิต ที่สถานีหลักสี่ รถไฟฟ้าสายสีเขียว หมอชิต-สะพานใหม่-บางซื่อ ที่สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ และรถไฟฟ้าสายสีเทา ที่สถานีวัชรพล

รถไฟฟ้าสายสีชมพูจะใช้ระยะเวลาในการก่อสร้างทั้งหมด 3 ปี 3 เดือน โดยใช้งบประมาณในการก่อสร้างเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีชมพูรวมทั้งสิ้นเป็นมูลค่ากว่า 53,490 ล้านบาท

 

เส้นทางแผนที่รถไฟฟ้า BTS และ MRT ฉบับสมบูรณ์ via: www.mrta.co.th

 

สถานีรถไฟฟ้าสายสีชมพูและจุดเชื่อมต่อโครงข่ายที่น่าสนใจ

อย่างที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูนั้นมีจุดให้บริการตลอดสายทั้งหมด 30 สถานี ซึ่งประกอบไปด้วย

 

1. สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี

ตั้งอยู่บน ต.บางกระสอ อ.เมืองนนทบุรี จ.นนทบุรี เป็นสถานีเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าถึง 2 สาย ได้แก่ รถไฟฟ้าสายสีม่วง (สายฉลองรัชธรรม) บางซื่อ-บางใหญ่ และรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล

2. สถานีแคราย

ตั้งอยู่บน ต.บางกระสอ อ.เมืองนนทบุรี จ.นนทบุรี

3. สถานีสนามบินน้ำ

ตั้งอยู่บน ต.ท่าทราย อ.เมืองนนทบุรี จ.นนทบุรี

4. สถานีสามัคคี 

ตั้งอยู่บน ต.ท่าทราย อ.เมืองนนทบุรี จ.นนทบุรี

5. สถานีกรมชลประทาน

ตั้งอยู่บน ต.บางตลาด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี

6. สถานีแยกปากเกร็ด

ตั้งอยู่บน ต.ปากเกร็ด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี เชื่อมต่อกับเรือด่วนเจ้าพระยา ท่าปากเกร็ด

7. สถานีเลี่ยงเมืองปากเกร็ด

ตั้งอยู่บน ต.ปากเกร็ด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี

8. สถานีแจ้งวัฒนะ-ปากเกร็ด 28

ตั้งอยู่บน ต.คลองเกลือ อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี

9. สถานีเมืองทองธานี

ตั้งอยู่บน ต.คลองเกลือ อ.ปากเกร็ด จ.นนทุบรี

10. สถานีศรีรัช

ตั้งอยู่บน ต.คลองเกลือ อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าเส้นทางสายแยก (อิมแพคลิงก์) เชื่อมเข้ากับด้านในเมืองทองธานี

11. สถานีแจ้งวัฒนะ 14

ตั้งอยู่บน แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ

12. สถานีศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ

ตั้งอยู่บน แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ

13. สถานีทีโอที

ตั้งอยู่บน แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ

14. สถานีหลักสี่

ตั้งอยู่บน แขวงตลาดบางเขต เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีแดง บางซื่อ-รังสิต

15. สถานีราชภัฏพระนคร

ตั้งอยู่บน แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพฯ

16. สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ

ตั้งอยู่บน แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพฯ เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเขียว หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ที่สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ

17. สถานีรามอินทรา 3

ตั้งอยู่บน แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพฯ

18. สถานีลาดปลาเค้า

ตั้งอยู่บน แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพฯ 

19. สถานีรามอินทรา กม.4

ตั้งอยู่บน แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพฯ 

20. สถานีมัยลาภ

ตั้งอยู่บน แขวงท่าแร้ง เขตบางเขน กรุงเทพฯ

21. สถานีวัชรพล

ตั้งอยู่บน แขวงท่าแร้ง เขตบางเขน กรุงเทพฯ เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเทา ที่สถานีวัชรพล

22. สถานีรามอินทรา กม.6

ตั้งอยู่บน แขวงรามอินทรา เขตคันนายาว กรุงเทพฯ

23. สถานีคู้บอน

ตั้งอยู่บน แขวงรามอินทรา เขตคันนายาว กรุงเทพฯ

24. สถานีรามอินทรา 83

ตั้งอยู่บน แขวงรามอินทรา เขตคันนายาว กรุงเทพฯ

25. สถานีปัญญาอินทรา

ตั้งอยู่บน แขวงคันนายาว เขตคันนายาว กรุงเทพฯ

26. สถานีนพรัตน์

ตั้งอยู่บน แขวงมีนบุรี เขตมีนบุรี กรุงเทพฯ

27. สถานีบางชัน

ตั้งอยู่บน แขวงมีนบุรี เขตมีนบุรี กรุงเทพฯ

28. สถานีเศรษฐบุตรบำเพ็ญ

ตั้งอยู่บน แขวงมีนบุรี เขตมีนบุรี กรุงเทพฯ

29. สถานีตลาดมีนบุรี

ตั้งอยู่บน แขวงมีนบุรี เขตมีนบุรี กรุงเทพฯ

30. สถานีมีนบุรี

ตั้งอยู่บน แขวงมีนบุรี เขตมีนบุรี กรุงเทพฯ เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีส้ม ศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ที่สถานีมีนบุรี พร้อมอาคารจอดแล้วจร และศูนย์ซ่อมบำรุง

 

 

รถไฟฟ้าสายสีชมพูเชื่อมต่อรถไฟฟ้า 6 สาย

จากสถานีบริการทั้ง 30 สถานีตามจุดต่าง ๆ ตลอดเส้นเส้นทางที่วิ่งผ่านถนนติวานนท์, แจ้งวัฒนะ, รามอินทรา และมีนบุรี ดังข้อมูลแสดงเส้นทางการเดินรถไฟฟ้าสายสีชมพู ทำให้ทราบว่าโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูนี้มีความน่าสนใจเป็นอย่างมาก

เนื่องจากมีจุดเชื่อมต่อกับโครงข่ายรถไฟฟ้าสายสีอื่น ๆ ถึง 6 สาย ไม่ว่าจะเป็น

1. รถไฟฟ้าสายฉลองรัชธรรม หรือรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางซื่อ-บางใหญ่ ที่สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี

2. รถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ที่สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี

3. รถไฟฟ้าสายสีแดง บางซื่อ-รังสิต ที่สถานีหลักสี่

4. รถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ที่สถานวัดพระศรีมหาธาตุ

5. รถไฟฟ้าสายสีเทา ที่สถานีวัชรพล

6. รถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ที่สถานีปลายทางอย่างสถานีมีนบุรี

ทำให้ผู้ใช้บริการสามารถเปลี่ยนเส้นทางการเดินทางจากโครงข่ายหนึ่งไปยังอีกโครงข่ายหนึ่งได้อย่างสะดวก รวมถึงประหยัดเวลาในการเดินทางได้ดีอีกด้วย

 

3 สถานีเชื่อมต่อเข้าเมืองทองธานี

นอกจากรถไฟฟ้าสายสีชมพูจะมีการเชื่อมต่อกับโครงข่ายรถไฟฟ้าสายสีต่าง ๆ ทั้ง 6 สายแล้ว รถไฟฟ้าสายสีชมพูยังมีการเชื่อมต่อเส้นทางสายแยก (อิมแพคลิงก์) ที่มีจุดบริการอีก 3 สถานี ดังนี้

1. สถานีศรีรัช

ตั้งอยู่บน ต.คลองเกลือ อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี

2. สถานีอิมแพค ชาเลนเจอร์

ตั้งอยู่บน ต.ท่าทราย อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี

3. สถานีทะเลสาบ เมืองธานี

ตั้งอยู่บน ต.ท่าทราย อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี

 

ความคืบหน้าโครงการและการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีชมพู

หลังจากที่ได้เริ่มมีการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูนั้น ในปัจจุบันได้มีความคืบหน้าในการดำเนินการก่อสร้างส่วนการออกแบบและก่อสร้างงานโยธา รวมถึงการจัดหาระบบรถไฟฟ้า โดยคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ตามเนื้องาน ณ เดือนมกราคม 2563 ดังนี้

1. ความคืบหน้ารวม 50.17%

2. ความคืบหน้างานโยธา 51.96%

3. ความคืบหน้างานระบบรถไฟฟ้า 47.50%

จากการอัปเดทการก่อสร้างล่าสุด ทำให้เห็นว่าการดำเนินการก่อนสร้างเป็นไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งจะทำให้รถไฟฟ้าสายสีชมพูแล้วเสร็จ และพร้อมเปิดให้ใช้บริการในเดือนตุลาคม 2564 ตามกำหนดการ

 

อิมแพค เมืองทองธานี

 

ส่องทำเลน่าสนใจตลอดเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีชมพู

อย่างที่ทราบกันดีว่า “เมืองทอง” เป็นทำเลที่น่าสนใจเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นแหล่งโครงการต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นโครงการที่อยู่อาศัยต่าง ๆ ทั้งบ้านจัดสรร อาคารห้องชุดขนาดใหญ่ สนามกีฬา สถานที่จัดประชุม และอาคารจัดแสดงนิทรรศการต่าง ๆ นอกจากนั้นยังรวมถึงมหาวิทยาลัยที่อยู่ใกล้เคียงอีกด้วย

โดยตลอดเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีชมพูยังมีจุดทำเลที่น่าสนใจที่เหล่าผู้ประกอบการด้านอสังหาริมทรัพย์ได้เริ่มมีการลงทุนเป็นจำนวนมาก ทั้งการเปิดโครงการคอนโดมิเนียมรวมกว่า 24,400 ยูนิต โดยมีราคาขายต่อยูนิตเฉลี่ยอยู่ที่ 2-3 ล้านบาท และมีราคาขายต่อตารางเมตรเริ่มต้นอยู่ที่ 30,000-80,000 บาท และคาดการณ์ว่าในอนาคตราคาอาจมีการปรับขึ้นมากเรื่อย ๆ

โดยหากคิดเป็นสัดส่วนโครงการบ้านและคอนโดมิเนียมแล้วจะแบ่งออกได้เป็นดังนี้

1. โครงการคอนโดมิเนียม คิดเป็นสัดส่วน 64% ของทั้งหมด อยู่ส่วนใหญ่แล้วจะอยู่ช่วงติวานนท์-หลักสี่

2. โครงการบ้านจัดสรร ทั้งประเภทบ้านเดี่ยวและทาวน์เฮ้าส์ คิดเป็นสัดส่วน 36% ของทั้งหมด โดยส่วนใหญ่จะอยู่ในช่วงถนนรามอินทรา

 

นอกจากโครงการเปิดใหม่แล้ว โครงการบ้านจัดสรรและคอนโดมิเนียมที่มีการก่อสร้างมาก่อนหน้านั้นไม่ว่าจะเป็นบริเวณวงเวียนหลักสี่ ที่เป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างรถไฟฟ้าสายสีชมพู สีเขียว และสีแดง ยังได้รับแผนการพัฒนาปรับปรุงโครงการบางส่วนจากผู้ประกอบการด้านอสังหาริมทรัพย์ เพื่อทำการเปิดขายรอสายรถไฟฟ้าสีชมพูอีกหลายโครงการเช่นกัน

 

สนใจรับบทความดีดี อัปเดต ข่าวอสังหาริมทรัพย์ และ อ่านคู่มือซื้อขาย พร้อม รีวิวโครงการคอนโดฯ ใหม่ บ้านใหม่ หลากหลายทำเลและราคา รวมถึง ทำความรู้จักกับทำเลฮอตทั่วกรุง เพื่อเพิ่มความมั่นใจในการซื้อ-ขาย-เช่า

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0