โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

อัตราว่างงานเร่งตัว คาดรัฐต้องใช้งบเยียวยาเพิ่ม

ฐานเศรษฐกิจ

อัพเดต 06 ก.ค. 2563 เวลา 04.18 น. • เผยแพร่ 06 ก.ค. 2563 เวลา 04.18 น. • Thansettakij

บริษัทหลักทรัพย์ (บล.)กสิกรไทย ระบุในบทวิเคราะห์ว่าผู้ประกันตนตามกฎหมายประกันสังคมมาตรา 33 39 และ 40  ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนของคนงานที่ 30%  4% และ 9% ตามลำดับ ที่เหลือได้รับการจ้างอย่างไม่เป็นทางการ อัตราการว่างงานของกลุ่มคนภายใต้มาตรา 33 เพิ่มขึ้นจาก 1.39% ในเดือน ม.ค.เป็น 1.87% ในเดือน เม.ย. 63 และคาดว่าตัวเลขนี้จะปรับเพิ่มขึ้นมากยิ่งขึ้น

 

ด้วยจำนวนเงินที่ยังคงเหลือในแพ็กเกจ 5.55 แสนล้านบาท  เราจึงเชื่อว่าอาจมีการจ่ายเยี่ยวยาเพิ่มเต็มให้กับผู้ขอเงินชดเชยจากการว่างงานในอนาคตต่อไป

 

ทั้งนี้สถานการณ์การจ่ายเงินชดเชยให้กับผู้ว่างงานในขณะนี้ ภายใต้โครงการประกันสังคม ด้วยสถานการณ์โควิด-19 ที่ส่งผลกระทบเชิงระบบ ทางสำนักงานประกันสังคม (สปส.) จึงได้รับมอบหมายให้จ่ายเงินชดเชยให้กับผู้ประกันตนภายใต้มาตรา 33 ที่ได้รับผลกระทบ รวมถึงการช่วยเหลือด้านค่าใช้จ่ายทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้อง สำหรับผู้ประกันตนภายใต้มาตรา 39 หรือ 40 ทาง สปส. จะช่วยเหลือเฉพาะค่าใช้จ่ายทางการแพทย์เท่านั้น ไม่ได้มีการจ่ายเงินชดเชยแต่อย่างใด 

 

มาตรการเยี่ยวยา 5.55 แสนล้านบาท ครอบคลุมทุกคน ผู้ประกันตนภายใต้มาตรา 39 40 และผู้ที่ไม่เข้าร่วมโครงการยังมีสิทธิ์ได้รับเงินเยียวยา ด้วยการลงทะเบียนขอรับการช่วยเหลือจากโครงการภาครัฐอย่าง "เราไม่ทิ้งกัน" ได้

 

อย่างไรก็ดีด้วยอัตราการว่างงานที่เร่งตัวขึ้นในเดือนพ.ค.และ มิ.ย. 2563 และคำนวณจำนวนการขอยื่นรับเงินชดเชยการว่างงานจากจำนวนผู้ประกันตนภายใต้มาตรา 33 ในเชิง MoM ทั้งหมดผลลัพธ์คือพบว่ามีอัตราการว่างงานอยู่ 1.39% ,1.31% ,1.45% และ 1.87% ในช่วงเดือน ม.ค. ถึง เม.ย. 2563 ตามลำดับ เราเชื่อว่าตัวเลขการว่างงานที่ปรับเพิ่มมากขึ้น สืบเนื่องจากผลกระทบของมาตรการล็อกดาวน์ในไตรมาส 2/2563 การสั่งห้ามเดินทาง และอุปสงค์ที่ี่ชะงักงั้นจากสถานการณ์โควิด-19 จากการคาดการณ์ตัวเลขว่างงานของสภาพัฒน์ฯในปี 2563 ประมาณ 2 ล้านคน อัตราการว่างงานสามารถขึ้นไปสู่ระดับ 5% ได้

 

ภายใต้มาตรการ 5.55 แสนล้านบาท การจ่ายเงินเยียวยาให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบจำนวน 16 ล้านคน (5,000 บาทเป็นเวลา 3 เดือน) ให้กับเกษตรกร 10 ล้านคน (5,000 บาทเป็นเวลา 3 เดือน) และกลุ่มเปราะบางจำนวน 13 ล้านคน เช่น เด็กและผู้สูงวัย (3,000 บาท) รวมแล้วคิดเป็น 3.59 แสนลบ. สะท้อนให้เห็นว่ามาตรการดังกล่าวยังมีเงินเหลืออยู่ 1.96 แสนลบ. ซึ่ง เรามองว่าจะสามารถนำไปใช้กระตุ้นการจ้างงานเพื่อช่วยเหลือผู้ว่างงานทั้งปัจจุบันและอนาคต

 

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0