โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

'อังคณา'แนะรบ.เร่งคลี่คลายคดี'วันเฉลิม'ถูกอุ้ม ก่อนตกเป็นผู้ต้องสงสัย'มีส่วนรู้เห็น'

แนวหน้า

เผยแพร่ 06 มิ.ย. 2563 เวลา 02.33 น.

6 มิถุนายน 2563 นางอังคณา นีละไพจิตร อดีตกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) แสดงความเห็นนต่อกรณีนายวันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์ ผู้ต้องหาถูกตำรวจไทยออกหมายจับ ข้อหาทำผิด พรบ. คอมพิวเตอร์ ถูกอุ้มที่กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมาว่า 

#ไม่ควรมีใครต้องถูกอุ้มหายเพราะความเห็นต่างทางการเมือง #SAVEวันเฉลิม #EnforcedDisappearance #CrimeAgainstHumanity
บางคนอาจเชื่อว่า #ปัญหาจะหายไปหากบางคนถูกทำให้หายไป - ข่าวการถูกลักพาตัว วันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์ จากหน้าคอนโดมิเนียมที่พักของเขาในกรุงพนมเปญ ถือเป็นการกระทำที่อุกอาจ และสร้างความกังวลและหวาดกลัวให้ผู้ลี้ภัยทางการเมืองหลายคนภายหลังกรณีการหายตัวไปของสุรชัย แซ่ด่าน และสหายกาสะลอง ที่ต่อมาพบเป็นศพลอยน้ำ ส่วนสุรชัยยังคงเป็นบุคคลสูญหาย และต่อมากรณีการหายตัวของสยาม ที่ปัจจุบันก็ยังไม่มีใครทราบที่อยู่และชะตากรรมของเขา

กรณีวันเฉลิม #เชื่อว่ารัฐบาลกัมพูชาคงต้องดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริง เนื่องจากกัมพูชาได้ให้สัตยาบันอนุสัญญาคนหายของสหประชาชาติ (มิถุนายน 2013) ซึ่งทำให้มีภาระผูกพันให้ต้องดำเนินการสืบสวนสอบสวนกรณีการบังคับบุคคลสูญหายแม้จะไม่มีการร้องเรียน ส่วนจะนำไปถึงการทราบที่อยู่และชะตากรรม และนำตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษหรือไม่คงต้องติดตามดูกันต่อไป

แม้วันเฉลิมจะอยู่ในสถานะผู้ลี้ภัยในประเทศกัมพูชา แต่ในฐานะที่เขาเป็นคนไทยและแม้จะเป็นคนที่มีความเห็นแตกต่างจากรัฐ แต่รัฐบาลก็ไม่ควรเพิกเฉย และควรประสานความร่วมมือกับกัมพูชาในการคลี่คลายข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น และชี้แจงต่อสาธารณะ ไม่เช่นนั้นรัฐบาลไทยอาจตกเป็นผู้ต้องสงสัยว่ามีส่วนรู้เห็นกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

เรื่องการยุติการบังคับสูญหาย แม้ที่ผ่านมารัฐบาลไทยจะได้ลงนามอนุสัญญาคนหายของสหประชาชาติ (มกราคม 2555) และมีมติ ครม ให้สัตยาบันอนุสัญญาฯ และให้มีกฎหมายภายในประเทศเพื่อป้องกันและยุติการบังคับบุคคลสูญหาย (25 พฤษภาคม 2559) แต่ส่วนตัวไม่เชื่อว่ารัฐบาล พลเอกประยุทธ์จะเต็มใจผ่านร่างกฎหมายฉบับนี้ เนื่องจากความล่าช้า อีกทั้งที่ผ่านมา ร่างกฎหมายยังถูกปรับแก้จากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ จนไม่สอดคล้องกับอนุสัญญาฯ และถูกถอดจากวาระการพิจารณาของ สนช. โดยไม่มีการแจ้งเหตุผล จนปัจจุบันก็เชื่อว่าร่างกฎหมายฉบับนี้คงยากที่จะผ่านสภา ทั้งสภาผู้แทนราษฎร และโดยเฉพาะวุฒิสภา หรือหากผ่านก็คงถูกตัดทอนจนไม่เหลือสาระสำคัญในการคุ้มครองประชาชนและเอาผิดเจ้าหน้าที่ซึ่งกระทำผิดได้จริง

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0