โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

"อัครเดช" แนะ "ออมสิน"ปรับหลักเกณฑ์ปล่อยกู้ อย่าซ้ำรอยเงินกู้ช่วยโควิด

ไทยรัฐออนไลน์ - Politics

อัพเดต 14 ก.ค. 2563 เวลา 16.33 น. • เผยแพร่ 14 ก.ค. 2563 เวลา 16.43 น.
ภาพไฮไลต์
ภาพไฮไลต์

"อัครเดช" แนะ ธนาคารออมสินปรับหลักเกณฑ์ปล่อยกู้วงเงินก้อนใหม่อย่าซ้ำรอยเงินกู้ช่วยโควิด พร้อมขอให้ยึดพันธกิจช่วยผู้ประกอบการรายย่อยซึ่งเป็นฐานรากของระบบเศรษฐกิจ

เมื่อวันที่ 14 ก.ค.63 นายอัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ ส.ส.จังหวัดราชบุรี พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 (กมธ. งบปี 2564) สภาผู้แทนราษฎร ได้อภิปรายในวาระการพิจารณางบประมาณของธนาคารออมสินว่า จากการที่ธนาคารออมสิน มีพันธกิจที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจฐานรากเป็นหลัก แม้ในโลกปัจจุบันธนาคารจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาพัฒนาองค์กร ขณะเดียวกันก็เกิดความกังวลว่า ธนาคารออมสินจะปรับตัวไปตามกระแสธนาคารพาณิชย์ที่ปัจจุบันได้ลดจำนวนสาขาลง และหันไปรุกตลาดออนไลน์เป็นหลัก แต่ธนาคารออมสินนั้นเป็นธนาคารของรัฐ จำเป็นต้องคิดสวนทางกับธนาคารพาณิชย์ เพราะหากคิดถึงกำไรขาดทุนเป็นหลัก ในอนาคตธนาคารออมสินก็อาจต้องลดจำนวนสาขาลงเช่นกัน

“ในเมื่อธนาคารออมสินเป็นธนาคารของรัฐ ไม่อยากให้ยึดกำไรขาดทุน แต่ยึดการบริการพี่น้องประชาชนเป็นหลัก ด้วยการขยายสาขาไปยังอำเภอเล็กๆ ที่ธนาคารยังไม่มีสาขาอยู่ จึงเห็นว่าธนาคารออมสินมีบทบาทสำคัญกับพี่น้องประชาชนในระดับฐานรากจริงๆ ซึ่งหากธนาคารยึดประโยชน์ของพี่น้องประชาชนเป็นหลัก แต่วันหนึ่งธนาคารเกิดประสบปัญหา และรัฐจำเป็นต้องเข้าไปอุ้มกิจการ ก็คิดว่าพี่น้องประชาชน รวมถึง ส.ส. ก็พร้อมจะสนับสนุนธนาคาร”นายอัครเดชกล่าว

นายอัครเดช ยังกล่าวถึงหนี้นอกระบบว่า หลังจากที่ตนได้รับการร้องเรียนจากพี่น้องประชาชนเกี่ยวกับเรื่องนี้ แม้รัฐบาลจะได้พยายามแก้ปัญหาดังกล่าวก็ตาม จากการสังเกตการประชุมกับหัวหน้าส่วนราชการในระดับอำเภอ ก็จะพบว่ามีผู้บริหารธนาคารออมสินเข้าร่วมประชุมอยู่ด้วย ดังนั้นจึงอยากเห็นภาพการทำงานแบบบูรณาการด้วยการเสนอให้ผู้บริหารธนาคารออมสินเชื่อมโยงข้อมูลกับศูนย์ดำรงธรรมในแต่ละอำเภอ

ไผมอยากเห็นภาพการทำงานแบบบูรณาการด้วยการเสนอให้ผู้บริหารธนาคารออมสินเชื่อมโยงข้อมูลกับศูนย์ดำรงธรรมในแต่ละอำเภอ เช่นถ้าวันนึงมีคนไปร้องเรียนที่ศูนย์ดำรงธรรมเรื่องหนี้นอกระบบ แล้วธนาคารออมสินสามารถเข้าไปช่วยเหลือได้ ดีกว่าที่จะให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองรับเรื่องมา แล้วเรื่องก็เงียบหายไป แต่ถ้าธนาคารรับไว้เป็นลูกค้าของธนาคารก็จะเป็นเรื่องดี"

นายอัครเดช ยังได้แสดงความเป็นห่วงต่อกรณีการปล่อยเงินกู้ซอฟต์โลนของธนาคารออมสินว่า หากธนาคารใช้หลักเกณฑ์เดียวกับการปล่อยซอฟต์โลนที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่กำหนดว่า 1. ต้องเป็นลูกค้าเดิมของธนาคาร 2. ต้องเป็นลูกค้าที่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน หรือมีวงเงินกับธนาคารเดิมอยู่ ก็จะทำให้ธนาคารออมสินไม่สามารถช่วยเหลือพี่น้องประชาชนที่กำลังประสบความเดือดร้อนในขณะนี้ได้ ดังนั้นจึงขอให้ธนาคารทบทวนหลักเกณฑ์การปล่อยเงินกู้ซอฟต์โลนเพื่อให้ธนาคารสามารถปล่อยเงินกู้ซอฟต์โลนเพื่อดูแลทั้งผู้ประกอบการรายเล็ก และพี่น้องประชาชนได้ต่อไป.

ข่าวอื่นที่เกี่ยวข้อง

ตามข่าวก่อนใครได้ที่
- Website : www.thairath.co.th
- LINE Official : Thairath

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0