โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

ออกจากงาน แย่แน่!! ถ้าไม่รู้เรื่องพวกนี้

aomMONEY

อัพเดต 31 ส.ค. 2561 เวลา 07.01 น. • เผยแพร่ 17 ส.ค. 2561 เวลา 04.47 น. • อภินิหารเงินออม
ออกจากงาน แย่แน่!! ถ้าไม่รู้เรื่องพวกนี้
ออกจากงาน แย่แน่!! ถ้าไม่รู้เรื่องพวกนี้

เมื่อวานนี้มาดามฟินนี่มาเที่ยวและนัดเจอกับอภินิหารเงินออมที่เชียงใหม่ เราก็ถามโน้นนี่นั่นไปเรื่อยๆจนกระทั่งมาคุยเรื่องกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ขึ้นทะเบียนคนว่างงาน ภาษีที่ต้องจ่าย บลาๆๆๆๆ มาดามเลยปิ๊งไอเดียว่าเรื่องที่เราคุยกันอยู่นี่น่าจะเป็นประโยชน์กับแฟนเพจ ก็เลยจัดไลฟ์กันตรงนั้นเลย หลังจากไลฟ์แล้วก็เขียนสรุปสิ่งที่พูด แทรกความรู้เพิ่มเติมและลิงค์ที่จะให้แฟนเพจไปอ่านต่อเองได้ไว้ที่บทความนี้นะจ๊ะ 

3 เรื่องที่คนลาออกควรรู้

1>> ย้ายเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพไปไว้ที่ RMF for PVD

เงินของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพแบ่งออกเป็น 4 ส่วน คือ

ออกจากงาน แย่แน่!! ถ้าไม่รู้เรื่องพวกนี้
ออกจากงาน แย่แน่!! ถ้าไม่รู้เรื่องพวกนี้

ภาพจากบทความ  สร้าง 1 ล้านแรกกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (อ่านบทความคลิกที่นี่)

1. เงินสะสม คือ เงินที่เรา(พนักงาน)จ่ายเข้ากองทุน

2. ผลประโยชน์ของเงินสะสม คือ ดอกผลที่ได้จากการนำเงินสะสมไปลงทุน

3. เงินสมทบ คือ เงินที่นายจ้าง(บริษัท)จ่ายเข้ากองทุน

4. ผลประโยชน์ของเงินสมทบ คือ ดอกผลที่ได้จากการนำเงินสมทบไปลงทุน

ถ้าลาออกไปทำงานที่ใหม่แล้วมีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เราก็ย้ายกองทุนไปอยู่ที่บริษัทใหม่ได้ แต่ถ้าเราเลือกปิดกองทุนแล้วรับเป็นเงินก้อน ก็จะทำให้ชีวิตยุ่งยากนิดนึงเพราะเงินก้อนนี้จะต้องนำมารวมเป็นรายได้ของปีนี้เพื่อคำนวณภาษีแล้วรายได้ของเราจะสูงขึ้น 

เงินแต่ละส่วนที่เราได้รับจากกองทุนนั้นมีเงื่อนไขของภาษีแตกต่างกัน คือ

1. ส่วนของเงินสะสม ได้รับยกเว้นภาษี แปลว่า เราไม่ต้องนำมารวมเป็นรายได้เพื่อยื่นภาษี

2. เงินส่วนที่เป็น “ผลประโยชน์ของเงินสะสม เงินสมทบและผลประโยชน์ของเงินสมทบ” นำมารวมเป็นรายได้เพื่อเสียภาษีด้วย มันก็มีแยกย่อยแตกสาขาไปอีก!!!  

วิธีการคิดภาษีมี 3 กรณี ดังนี้

2.1 ถ้าอายุงาน < 5 ปีหรือลาออกจากกองทุน แต่ไม่ได้ลาออกจากงาน : นำเงินที่ได้ทั้ง 3 ส่วนมาเป็นรายได้คำนวณภาษี (เตรียมวางแผนหาค่าลดหย่อนไว้รอเลยจ้า)

2.2 ถ้าอายุงานมากกว่าหรือเท่ากับ  5 ปี : แยกคำนวณภาษีต่างหากจากรายได้ประจำปี

2.3 อายุของเรามากกว่าหรือเท่ากับ 55 ปีและอายุสมาชิกกองทุนมากกว่าหรือเท่ากับ 5 ปี , ทุพพลภาพ , เสียชีวิต : เงินก้อนนี้ได้รับยกเว้นภาษี แปลว่าไม่ต้องรวมเป็นรายได้คำนวณภาษีนั่นเองจ้า 

แต่ชีวิตของเราจะง่ายขึ้นถ้าลาออกแล้วนำเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพไปไว้ที่ RMF for PVD นำมาลดหย่อนภาษีซ้ำอีกไม่ได้เพราะเราใช้ลดหย่อนไปแล้วตอนเป็นกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ซึ่งเป็นกองทุนที่คนละส่วนกับ RMF ทั่วไป หลังจากนั้นเงินก้อนนี้ก็จะเข้าเงื่อนไขของ RMF ที่ขายได้ตอนอายุ 55 ปีเลยจ้า

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : ย้ายเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD) ไป RMF ทางเลือกใหม่สำหรับคนทันสมัย https://brandinside.asia/pvd-for-rmf-new-choice/

.

2>> ขอรับเงินชดเชยการว่างงานจากประกันสังคม

เราทำงานประจำก็อยู่ในประกันสังคมมาตรา 33 เมื่อลาออกจากงานแล้วก็จะได้รับเงินชดเชยการว่างงานด้วย 3 เดือน ที่สำคัญเราจะต้องไปขึ้นทะเบียนภายใน 30 วันหลังจากที่ลาออก 

ออกจากงาน แย่แน่!! ถ้าไม่รู้เรื่องพวกนี้
ออกจากงาน แย่แน่!! ถ้าไม่รู้เรื่องพวกนี้

เรื่องนี้เคยเขียนไว้ที่หน้าเพจแล้ว ถ้านำมาเขียนอีกก็จะยาวเกิ๊น รบกวนอ่านต่อได้ที่  => https://www.facebook.com/miracleofsaving/photos/a.640806552623632.1073741828.640628979308056/1482024901835122/?type=3&theater 

.

3>> เงินเกษียณและการยื่นภาษีกรณีมีประกันสังคมทั้งมาตรา 33 และ 39 ในปีเดียวกัน

เคสนี้เจอเกิดขึ้นกับตัวเอง คิดว่ามาดามฟินนี่ก็น่าจะเจอเหมือนกันก็เลยเล่าให้ฟังเพื่อเตรียมตัวตอนยื่นภาษี เรื่องนี้เกิดขึ้นเมื่อหลายปีที่แล้ว ตอนนั้นอภินิหารเงินออมลาออกจากงานประจำมาเป็นฟรีแลนซ์เต็มตัว ผลของการลาออกจากงานประจำ ทำให้ต้องลาออกจากมาตรา 33 แบบอัตโนมัติ เพื่อคงสิทธิอื่นๆของประกันสังคมต่อไป ก็เลยสมัครเข้ามาตรา 39 (ตามกฎหมายแล้วต้องสมัครภายใน 6 เดือน)

สิ่งแรกที่จะเกิดขึ้น คือ เงินเกษียณของเราจะลดลง เพราะฐานเงินเดือนของมาตรา 39 จะอยู่ที่ 4,800 บาท เราสามารถดูเงินที่สะสมเข้าประกันสังคมได้ที่ในเว็บไซด์ ส่วนภาพข้างล่างนี้เป็นเอกสารที่ประกันสังคมส่งให้อภินิหารเงินออม  รายละเอียดของเงินชราภาพ คลิกที่นี่ 

ออกจากงาน แย่แน่!! ถ้าไม่รู้เรื่องพวกนี้
ออกจากงาน แย่แน่!! ถ้าไม่รู้เรื่องพวกนี้

อีกเรื่องหนึ่งที่จะต้องเจอ คือ การยื่นภาษี ทุกปีเราจะยื่นภาษีเองแบบออนไลน์ ตอนแรกเราจินตนาการไปไกลว่าถ้าสมัครเข้าประกันสังคมมาตรา 39 ปุ๊บ แล้วระบบของประกันสังคมจะยิงตรงถึงสรรพากรทันที แก้ไขข้อมูลได้แบบอัตโนมัติ เราก็ยื่นภาษีออนไลน์ได้แบบชิลๆ 

แต่เรื่องจริงที่เกิดขึ้น คือ ระบบของประกันสังคมกับสรรพากรไม่เชื่อมต่อกัน ฐานข้อมูลเรายังเป็นมาตรา 33 เหมือนเดิม ทั้งที่ลาออกแล้ว ทำให้ตอนยื่นภาษีออนไลน์ระบบไม่มีให้กรอกจำนวนเงินที่จ่ายเข้าประกันสังคมมาตรา 39 เราทำอะไรไม่ได้นอกจากทำใจแล้วยื่นไปตามที่ระบบมีให้กรอกเท่านั้น คิดว่าถ้ามีปัญหาอะไรเจ้าหน้าที่คงติดต่อกลับมาเอง

อีกไม่กี่สัปดาห์ต่อมา ได้รับจดหมายจากสรรพากรให้ยื่นเอกสารเพิ่ม เราก็โทรไปบอกเจ้าหน้าที่ว่าไม่สะดวกไปเพราะอยู่ต่างจังหวัด แต่จะทำเอกสารเป็น PDF ส่งเมล์ไปให้ แล้วเล่าให้เจ้าหน้าที่ฟังว่าปัญหาที่กรอกไม่ครบเกิดขึ้นจากอะไร หลังจากนั้นทุกอย่างก็ผ่านไปด้วยดี เจ้าหน้าที่ก็เปลี่ยนข้อมูลในระบบให้เราอยู่ในมาตรา 39 เรียบร้อยแล้ว 

หากมาดามฟินนี่ต้องยื่นภาษีของปีนี้ก็อาจจะใช้วิธียื่นออนไลน์แล้วรอให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับมา หรือกรอกเอกสารในกระดาษแล้วไปยื่นภาษีเองที่สรรพากร จะได้ให้เจ้าหน้าที่เปลี่ยนข้อมูลของเราในระบบให้ตรงกับประกันสังคมด้วย เราก็ได้แต่หวังลึกๆว่าถ้ากลายเป็นไทยแลนด์ 4.0 เต็มตัวแล้วระบบฐานข้อมูลของรัฐน่าจะเชื่อมถึงกันได้ทั้งหมด เพื่อลดความซ้ำซ้อนในการทำงานและเจ้าหน้าที่ทำงานง่ายขึ้น

เอาล่ะ มาถึงตรงนี้ก็น่าจะพอเห็นภาพว่าถ้าลาออกจากงานประจำแล้วจะต้องจัดการเงินอย่างไรบ้าง เพื่อรักษาผลประโยชน์ของตัวเอง เพราะทั้งหมดนี้เราจะต้องดิ้นรนช่วยเหลือตัวเอง เรายิ่งรู้ ยิ่งได้เปรียบ  แล้วถ้าเราอยากช่วยเหลือให้คนอื่นรู้เรื่องเหมือนกับเรา สามารถแบ่งปันเรื่องราวในบทความนี้ให้เพื่อนอ่านได้นะจ๊ะ ^^

ที่มาของบทความนี้

FB Live

คลิปที่ 1 https://www.facebook.com/madamfinney/videos/256762248493771/

คลิปที่ 2 https://www.facebook.com/madamfinney/videos/2181390538538357/

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0