โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

อย. แนะ บริโภคปลาร้า ปลาส้ม ให้ปลอดภัย เน้นปรุงสุกลดความเสี่ยงพยาธิใบไม้ตับ

NATIONTV

อัพเดต 06 มิ.ย. 2563 เวลา 10.43 น. • เผยแพร่ 06 มิ.ย. 2563 เวลา 10.25 น. • Nation TV
อย. แนะ บริโภคปลาร้า ปลาส้ม ให้ปลอดภัย เน้นปรุงสุกลดความเสี่ยงพยาธิใบไม้ตับ
อย. แนะ บริโภคปลาร้า ปลาส้ม ให้ปลอดภัย เน้นปรุงสุกลดความเสี่ยงพยาธิใบไม้ตับ

อย. แนะ บริโภคปลาร้า ปลาส้ม ให้ปลอดภัย เน้นปรุงสุก ลดความเสี่ยงพยาธิใบไม้ตับ กรณีที่ไม่ได้บรรจุขวด ควรดูลักษณะทางกายภาพว่ามีสิ่งเจือปนและกลิ่นผิดแปลกจากที่เคยรับประทานหรือไม่ เลือกซื้อจากร้านค้าที่น่าเชื่อถือ กรณีบรรจุขวด บรรจุภัณฑ์ต้องอยู่ในสภาพสมบูรณ์ ไม่มีรอยบุบหรือฉีกขาด มีการเก็บรักษาในสภาพที่เหมาะสม มีรายละเอียดบนฉลากครบถ้วน ที่สำคัญมีเลขสารบบอาหารในกรอบเครื่องหมาย อย.

นพ.พูลลาภ ฉันทวิจิตรวงศ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า ตามที่ศูนย์วิจัยโรคปรสิต สำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุรนารี ได้เผยผลสำรวจพยาธิในประชากรไทยทั้งประเทศของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ในปี พ.ศ. 2557 พบว่าประชากรไทยมีการติดเชื้อปรสิตในระบบทางเดินอาหาร ร้อยละ 18.1 และติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ ร้อยละ 8.7 ซึ่งผลการสำรวจในปี พ.ศ. 2559 พบการติดเชื้อพยาธิใบไม้ ในปลาที่นำมาทำผลิตภัณฑ์ปลาร้าและปลาส้ม จำนวน 7 ตัวอย่าง จาก 73 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 9.58 ซึ่งเก็บตัวอย่างจาก 73 ตลาด ใน 20 จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือนั้น

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) มีความห่วงใยผู้บริโภคเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากปลาร้า และปลาส้ม เป็นผลิตภัณฑ์จากสัตว์ที่ผ่านกระบวนการหมักดอง การบริโภคแบบปรุงไม่สุก จึงเป็นการบริโภคอาหารที่ไม่ปลอดภัย โดยเฉพาะพยาธิใบไม้ ซึ่งปัจจัยที่มีผลต่อจำนวนพยาธิใบไม้ระยะติดต่อในเนื้อปลา ได้แก่ ความเข้มข้นของเกลือและระยะเวลาในการหมัก โดยหากมีความเข้มข้นของเกลือสูง และใช้เวลาในการหมักนาน จะช่วยลดจำนวนพยาธิใบไม้ระยะติดต่อ นอกจากนี้ การแช่แข็ง ที่ -20 องศาเซลเซียส นาน 24 ชั่วโมง หรือ 48 ชั่วโมง หรือให้ความร้อนด้วยไมโครเวฟ (400 หรือ 800 วัตต์) หรือต้มที่ 90 องศาเซลเซียส นาน 5 นาที สามารถทำลายพยาธิใบไม้ระยะติดต่อได้

รองเลขาธิการฯ กล่าวในตอนท้ายว่า การบริโภคปลาร้า และปลาส้ม ให้ปลอดภัย กรณีที่ไม่ได้บรรจุขวด ควรดูลักษณะทางกายภาพว่า มีสิ่งเจือปน และกลิ่นผิดแปลกจากที่เคยรับประทานหรือไม่โดยเลือกซื้อจากสถานที่จําหน่ายที่น่าเชื่อถือและคุ้นเคย ควรนําไปตามใหม่ และกรองเศษออกใส่ภาชนะที่สะอาด กรณีบรรจุขวด ควรสังเกตสภาพภายนอกของบรรจุภัณฑ์ ต้องอยู่ในสภาพสมบูรณ์ ไม่มีรอยบุบหรือฉีกขาด มีการเก็บรักษาในสภาพที่เหมาะสม และมีรายละเอียดบนฉลากอาหารให้ครบถ้วน ที่สำคัญ จะต้องมีการแสดงเลขสารบบอาหารในกรอบเครื่องหมาย อย. เพื่อแสดงว่าได้รับอนุญาตจาก อย.

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0