โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

อย.ยันโหวตแบน3สารเคมี เผยตรวจผักผลไม้ยังเจอตกค้าง

TNN ช่อง16

อัพเดต 19 ต.ค. 2562 เวลา 11.27 น. • เผยแพร่ 19 ต.ค. 2562 เวลา 11.27 น. • TNN Thailand
อย.ยันโหวตแบน3สารเคมี เผยตรวจผักผลไม้ยังเจอตกค้าง
เลขาธิการอย.ย้ำจุดยืนโหวตแบน 3 สารเคมี เนื่องจากมีอันตรายต่อสุขภาพ พบการตกค้างของสารเคมีดังกล่าวในผักผลไม้ถึงกว่าร้อยละ 8

วันนี้( 19 ต.ค. 62 )นายแพทย์ไพศาลดั่นคุ้มเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยาหรืออย. กล่าวถึงการประชุมคณะกรรมการวัตถุอันตราย  22 ตุลาคมนี้ว่าอย.ประกาศจุดยืนชัดเจนในการสนับสนุนให้ยกเลิกสารเคมีอันตรายทางการเกษตร3 ชนิดได้แก่พาราควอตคลอร์ไพรีฟอสและไกลโฟเซตเนื่องจากมีอันตรายต่อสุขภาพมีข้อมูลตรวจพบผู้ป่วยโรคเนื้อเน่าจากพาราควอตในจังหวัดหนองบัวลำภูพบการตกค้างของพาราควอตในซีรัมของเด็กแรกเกิดและมารดาขณะที่ไกลโฟเซตเป็นสารน่าจะก่อมะเร็ง(กลุ่ม2A) และรบกวนการทำงานของต่อมไร้ท่อทำให้เกิดโรคเบาหวานและโรคไตส่วนคลอร์ไพรีฟอสทำให้เกิดความผิดปกติด้านพัฒนาการทางสมองของเด็กอีกด้วย

นายแพทย์ไพศาลกล่าวด้วยว่าอย. ได้วางระบบให้ผักผลไม้ที่ปลูกในประเทศต้องผ่านการตรวจสอบสารพิษตกค้างและแสดงฉลากณโรงคัดบรรจุสามารถตรวจสอบแหล่งเพาะปลูกได้หากพบปัญหาคุณภาพหรือการตกค้างของสารอันตรายพร้อมทั้งมีมาตรการเชิงรุกให้หน่วยตรวจสอบเคลื่อนที่เฝ้าระวังและตรวจสอบคุณภาพผักผลไม้ประจำอยู่ทั่วประเทศ 

สำหรับผักผลไม้ที่นำเข้ามีด่านอาหารและยา52 แห่งทั่วประเทศที่คอยตรวจสอบผักผลไม้หากพบสารพิษตกค้างห้ามนำมาจำหน่ายในประเทศล่าสุดปี2562 ตรวจพบคลอร์ไพรีฟอสในผักผลไม้ไม่ผ่านมาตรฐาน37 ตัวอย่างจาก456 ตัวอย่างคิดเป็นร้อยละ8.11 ส่วนใหญ่พบในส้มคื่นช่ายมะเขือเทศและคะน้าดังนั้นอย. จึงสนับสนุนให้ยกเลิกการใช้สารเคมีอันตราย3 ชนิดดังกล่าวเพื่อสุขภาพที่ดีของประชาชน

ข้อมูลจากเว็บไซต์กรมวิชาการเกษตรกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เกี่ยวกับการขึ้นทะเบียนสารเคมีตัวใหม่คือสาร"กลูโฟซิเนต" เพื่อทดแทนสารเคมี3 สารซึ่งพบว่าในช่วงปี2554-2560 มีการขึ้นทะเบียนสารกลูโฟซิเนตปีละ4-7 ทะเบียนต่อมาในปี2561 พบว่ามีสารกลูโฟซิเนตมาขึ้นทะเบียนนำเข้าและผลิตรวม37 ทะเบียนเพิ่มขึ้น5-6 เท่าตัว 

ส่วนใหญ่ทะเบียนจะหมดอายุในปี2567 ซึ่งในระยะหลังมีบริษัทขึ้นทะเบียน"กลูโฟซิเนต" หลายบริษัทและแหล่งผลิตส่วนใหญ่มาจากจีนโดยเฉพาะในปี2561 ในจำนวน37 ทะเบียนเป็นทะเบียนนำเข้า15 ทะเบียนที่เหลือเป็นทะเบียนผลิตมีบริษัทที่ขึ้นทะเบียนทั้งหมด16 บริษัทและมีแหล่งผลิตสารมาจากจีนถึง34 ทะเบียนขณะที่ข้อมูลในช่วง8 เดือนแรกของปี2562 มีการนำเข้าสารเคมีทดแทนที่ชื่อกลูโฟซิเนตแอมโมเนียปริมาณ1,308 ตัน

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0