โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

อย่าหลงเชื่อเฟคนิวส์ ที่ไม่ช่วยป้องกันการติดเชื้อ COVID-19

TODAY

อัพเดต 28 ก.พ. 2563 เวลา 12.49 น. • เผยแพร่ 28 ก.พ. 2563 เวลา 12.49 น. • Workpoint News
อย่าหลงเชื่อเฟคนิวส์ ที่ไม่ช่วยป้องกันการติดเชื้อ COVID-19

หากใครได้รับความเสี่ยงติดไวรัส COVID-19 ควรรีบไปพบแพทย์ทันที อย่าหลงเชื่อเฟคนิวส์ว่าสามารถป้องกันได้ เพราะนอกจากจะไม่ช่วยป้องกันแล้ว ยังอาจเป็นอันตรายต่อตัวเองและผู้อื่นด้วย

แผ่นห้อยคอป้องกันไวรัส
ยังไม่มีการรับรองทางการแพทย์ว่าสามารถป้องกับ COVID-19 ได้จริง เพราะเชื้อไวรัสจะติดต่อทางละอองไอจามเข้าสู่ทางเดินหายใจ หรือการเอามือไปสัมผัสกับเชื้อ แล้วมาจับจมูก ปาก ตา เชื้อก็สามารถเข้าสู่ร่างกายได้ ซึ่งการนำมาห้อยที่คอจึงไม่สามารถป้องกันไวรัส COVID-19 ได้

ดื่มปัสสาวะ ต้านไวรัส COVID-19
การดื่มน้ำปัสสาวะ นอกจากจะไม่ช่วยป้องกันไวรัส COVID-19 แล้ว ในปัสสาวะยังมีเชื้อโรคมากมาย และไม่มีความสะอาดเพียงพอที่จะนำมารักษาโรคอื่นๆ ด้วย

ฉีดสเปรย์พ่นปาก ฆ่าเชื้อ COVID-19
มีการแชร์วิธีป้องกัน COVID-19 ทำได้ด้วยตัวเอง โดยการใช้เบตาดีนสเปรย์ฆ่าเชื้อพ่นปาก ซึ่ง อย. ได้ชี้แจงว่า ไม่เคยมีการอนุญาตให้โฆษณาสรรพคุณตามที่ระบุบนสื่อออนไลน์ โดยเบตาดีนสเปรย์ที่ผ่านการอนุญาตกับ อย. มีสรรพคุณที่ได้รับอนุญาตเป็นสเปรย์พ่นปาก มีคุณสมบัติเป็นยาฆ่าเชื้อโรค โดยมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ ลดอาการอักเสบบริเวณช่องปากและลำคอ ได้แก่ อาการระคายคอ ความรู้สึกไม่สบายที่คอ แผลในปาก และระงับกลิ่นปาก เท่านั้น ไม่สามารถป้องกันเชื้อ COVID-19 ได้

ชงน้ำตาลผสมน้ำส้มสายชูกับน้ำเปล่าดื่ม
ไม่มีส่วนเกี่ยงข้องในการช่วยป้องกันไวรัส COVID-19 และปริมาณของน้ำตาลที่มากขนาดนี้ ก็อาจจะเสี่ยงต่อการโรคเบาหวานด้วย

ไปยืนตากแดด-ดื่มน้ำร้อนฆ่าเชื้อ COVID-19
การยืนตากแดดและการดื่มน้ำร้อนในอุณหภูมิ 26-27 องซาเซลเซียส ไม่ได้ช่วยฆ่าเชื้อไวรัส COVID-19 เพราะเชื้อจะตายที่ความร้อน 70 องศาเซลเซียสขึ้นไป ซึ่งการไปยืนตากแดดอาจจะทำให้เกิดหน้ามืดเป็นลมได้แทน

กินขิง กระเทียม พริก พริกไทย ช่วยต้านไวรัส COVID-19
เครื่องเทศเหล่านี้มีประโยชน์ต่อร่างกายจริง ในสร้างภูมิต้านทานต่างๆ แต่ไม่สามารถช่วยป้องกันการติดไวรัส COVID-19 ได้ เพราะเชื้อไวรัสจะติดต่อทางละอองไอจามเข้าสู่ทางเดินหายใจ

กินยาแก้แพ้ดักไว้
ยาแก้แพ้ก็คือยาแก้แพ้ ไม่สามารถกินเพื่อป้องกันการติดเชื้อ COVID-19 ได้ รวมไปถึงการที่ไปได้รับความเสี่ยงมา เช่นกลับจากประเทศ COVID-19 ระบาดหนัก แต่กินยาลดไข้เพื่อกดไว้ และไม่บอกเจ้าหน้าที่ตามตรงก็เป็นสิ่งไม่ควรทำ เพราะอาจจะเป็นอันตรายต่อตัวเราเองและผู้อื่นด้วย

ขอบคุณข้อมูลจาก : หมอแล็บแพนด้า

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0