โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

อย่าทนอีกเลย...ฝาก “ออมทรัพย์” ผลตอบแทน ‘ไม่เต็มบาท’!!!

Wealthy Thai

อัพเดต 17 ก.ค. 2563 เวลา 09.58 น. • เผยแพร่ 17 ก.ค. 2563 เวลา 09.59 น. • wealthythai
อย่าทนอีกเลย...ฝาก “ออมทรัพย์” ผลตอบแทน ‘ไม่เต็มบาท’!!!
เรื่องเศร้าของคนฝากเงิน โดยเฉพาะกลุ่ม “เงินฝากออมทรัพย์” ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของเงินฝากแบงก์ในปัจจุบันมีสัดส่วนสูงถึง 60.80% ของเงินฝากทั้งระบบ (ข้อมูล ณ เม.ย. 20)

เรื่องเศร้าของคนฝากเงิน โดยเฉพาะกลุ่ม “เงินฝากออมทรัพย์” ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของเงินฝากแบงก์ในปัจจุบันมีสัดส่วนสูงถึง 60.80% ของเงินฝากทั้งระบบ (ข้อมูล ณ เม.ย. 20)

           

ต้นปีฝาก 100 บาท ได้ 0.50% ว่าน้อยแล้ว ฝากมาทั้งปีได้ดอกเบี้ย ‘ไม่เต็มบาท’ แค่ 50 สตางค์เท่านั้น ความวัวไม่ทันหายความควายอย่าง ‘COVID-19’ ก็เข้ามาแทรกอีก

           

จาก ‘บัญชีเงินฝากออมทรัพย์’ ทั้งระบบกว่า 90.77 ล้านบัญชี นั้น 91.90% มีเงินฝาก ‘ไม่ถึง 1 แสนบาท’ ในจำนวนนี้มีถึง 87.88% ที่มีเงินฝาก ‘ไม่ถึง 5 หมื่นบาท’ ซึ่งคนกลุ่มใหญ่ในออมทรัพย์นี้ก็จะได้รับดอกเบี้ยในปัจจุบันเฉลี่ย 0.25% ต่อปี เท่านั้น (เห็นตัวเลขแล้วท้อกันเลยทีเดียว)

           

แต่ถ้าคุณขยับมาสู่ “กองตราสารตลาดเงิน (Money Market Fund)” ปัจจุบัน (ณ 30 มิ.ย. 20) ผลตอบแทนเฉลี่ยอยู่ที่ 0.63-0.66% ต่อปี แม้จะน้อยแต่ก็ยังดีกว่าดอกเบี้ยออมทรัพย์กว่า 2.5 เท่าตัว

         

‘สภาพคล่อง’ ไม่ขี้เหร่ ขายวันนี้…พรุ่งนี้ได้เงิน (T+0) อย่าทนอีกเลย!!!

           

วันนี้ ‘Wealthythai’ มีข้อมูลดีๆ ที่น่าสนใจมาฝากกันเช่นเคย

 

“กองตราสารตลาดเงิน”…เสี่ยงต่ำสุดในกลุ่ม ‘กองทุนรวม’

           

เชื่อกันว่า…กลุ่ม ‘ลูกค้าเงินฝาก’ เป็นคน ‘ไม่ชอบเสี่ยง’ หรือ ‘กลัวความเสี่ยง’ ผลตอบแทนไม่มากไม่เป็นไร ขอมั่นคง สบายใจไว้ก่อน อะไรประมาณนั้น คนส่วนใหญ่ในไทยจึงมักทิ้งเงินให้นอนนิ่งอยู่ในเงินฝากแบงก์จนเกินความจำเป็น

           

เมื่อพูดถึงเรื่อง “การลงทุน” คนส่วนมากมักจะกลัว จนลืมไปว่า “การกลัวความเสี่ยง…ก็เป็นความเสี่ยงแฝงชนิดหนึ่ง” เช่นเดียวกัน เราควักเงินซื้อลอตเตอร์รี่เสี่ยงดวงได้ จ่าย 80 บาท ถ้าไม่ถูกเงิน 80 บาท เหลือ 0 บาท ถามว่า “เสี่ยงมั้ย?” (แต่คนส่วนใหญ่ไม่กลัวกัน)

           

คนที่มีบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ส่วนใหญ่กว่า 91.90% มีเงินฝาก ‘ต่ำกว่า 1 แสนบาท’ ในจำนวนนั้นกว่า 87.88% มี ‘ต่ำกว่า 5 หมื่นบาท’ จะโดยตั้งใจหรือไม่ก็ตาม ‘ผลตอบแทน’ และ ‘ความเสี่ยง’ มักไปด้วยกัน เมื่อเงินฝากเสี่ยงต่ำ ผลตอบแทนก็ต่ำไปด้วย

           

ถ้าคิดผลตอบแทนกลมๆ ปีละครั้ง เพื่อให้เห็นภาพเท่านั้น สำหรับดอกเบี้ยออมทรัพย์ 0.25% ต่อปี

 

            ฝาก 100 บาท           == > ครบปีได้  0.25 บาท

          ฝาก 1,000 บาท          == >              2.50 บาท

          ฝาก10,000 บาท        == >              25 บาท

          ฝาก 100,000 บาท      == >              250 บาท

 

                   

 

“แต่ถ้าคุณขยับไปลงทุนผ่านกลุ่ม ‘กองทุนตราสารตลาดเงิน (Money Market Fund)’ กลุ่มกองทุนที่มีความเสี่ยงต่ำสุดในอุตสาหกรรมกองทุน เน้นลงทุนใน ‘ตราสารหนี้ระยะสั้น’ อายุเฉลี่ยไม่เกิน 3 เดือน เรื่องของ ‘สภาพคล่อง’ ถือว่าดีมากเมื่อเทียบกับกองทุนประเภทอื่นๆ ขายวันนี้ พรุ่งนี้ได้เงิน (T+1) จะเป็นเรื่องเงินฝากออมทรัพย์ที่ถอนปุ๊บ ได้เงินปั๊บ (T+0) ตรงจุดนี้เท่านั้นเอง”

           

อย่างไรก็ตามกับ ‘สภาพคล่อง’ ที่เสียไป 1 วัน ก็แลกมาด้วย ‘ผลตอบแทนที่ดีกว่า’ อย่างชัดเจน ด้วยผลตอบแทนเฉลี่ย 0.6% ต่อปี

 

            ลงทุน 100 บาท           == > ครบปีได้ 0.60 บาท (มากกว่า 0.35 บาท)

          ลงทุน 1,000 บาท       == >              6 บาท  (มากกว่า 3.50 บาท)

          ลงทุน10,000 บาท      == >              60 บาท (มากกว่า 35 บาท)

          ลงทุน 100,000 บาท    == >              600 บาท (มากกว่า 350 บาท)

           

“อย่าหมิ่นเงินน้อย แค่บริหารพอร์ตออมทรัพย์ของคุณให้ดี อาจจะเติมบางส่วนด้วย ‘กองตราสารตลาดเงิน’ เข้ามาบางส่วน ก็จะช่วยเพิ่มตอบแทนให้กับคุณได้มากขึ้น ทุก 1,000 บาท ก็ได้เพิ่มมาอีก 3.50 บาท ถือว่าไม่เลวเลยทีเดียว ซึ่งผลตอบแทนของกองทุนตราสารตลาดเงินปกติแล้วจะเคลื่อนไหวไปกับดอกเบี้ยนโยบาย (R/P 1 วัน) ของแบงก์ชาติเป็นสำคัญ ในจังหวะที่ดอกเบี้ยขึ้น ผลตอบแทนก็จะวิ่งขึ้นตามไปด้วยเช่นกัน”

 

อย่าปล่อยให้เงินเก็บของคุณต้องหลับใหลอยู่ใน “เงินฝากออมทรัพย์” มากเกินความจำเป็น เมื่อก่อนไม่รู้ ไม่เป็นไร แต่วันนี้คูรรู้แล้วว่ายังมี ‘ทางเลือก’ ที่สามารถตอบโจทย์เรื่องสภาพคล่องและผลตอบแทนได้เป็นอย่างดี นั่นก็คือกลุ่ม “กองทุนตราสารตลาดเงิน” นั่นเอง

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0