โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

อยากเป็น ทันตแพทย์ 6 ปี ต้องเรียนอะไรบ้าง – จบ ป.ตรี เลือกเรียนต่อเฉพาะทางได้

Campus Star

เผยแพร่ 21 ต.ค. 2562 เวลา 10.06 น.
อยากเป็น ทันตแพทย์ 6 ปี ต้องเรียนอะไรบ้าง – จบ ป.ตรี เลือกเรียนต่อเฉพาะทางได้
ในบทความนี้ แคมปัส-สตาร์ ก็ได้รวบรวมข้อมูลน่ารู้เกี่ยวกับ คณะทันตแพทยศาสตร์ มาฝากน้อง ๆ กันด้วยค่ะ จะมีเรื่องอะไรบ้าง ตามมาดูกันเลย

คณะทันตแพทยศาสตร์ เป็นอีกหนึ่งคณะน่าเรียนที่ติดอยู่ในอันดับต้น ๆ ของคณะในฝันของใครหลาย ๆ คนอย่างแน่นอน แต่น้อง ๆ รู้หรือไม่คณะทันตแพทยศาสตร์ต้องใช้คะแนนอะไรสอบเข้าศึกษาต่อบ้าง และเมื่อเข้าไปเรียนแล้ว ต้องเจอวิชาเรียนอะไรบ้าง

เจาะลึก การเรียนทันตแพทยศาสตร์ 6 ปี ต้องเจออะไรบ้าง?

ดังนั้นในบทความนี้ แคมปัส-สตาร์ ก็ได้รวบรวมข้อมูลน่ารู้เกี่ยวกับคณะทันตแพทยศาสตร์ มาฝากน้อง ๆ กันด้วยค่ะ จะมีเรื่องอะไรบ้าง… ตามมาดูกันเลย

คะแนนที่ใช้ในการสอบเข้า ทันตแพทย์

  1. คะแนนสอบ7 วิชาสามัญ ได้แก่ วิทยาศาสตร์ (ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา) : 40%, คณิตศาสตร์ 1 : 20%, ภาษาอังกฤษ : 20%, ภาษาไทย : 10% และสังคมศึกษา : 10%

  2. คะแนนสอบวิชาความถนัดแพทย์ : 30 %

  3. ผลคะแนนสอบ O-NET ( วิทย์ คณิต อังกฤษ ไทย สังคม) รวมกันต้องได้ 60 % หรือ 300 คะแนน (ทั้งนี้คะแนน O-NET จะขึ้นอยู่กับมหาวิทยาลัยว่ามีการกำหนดเกณฑ์เอาไว้อย่างไร ซึ่งน้อง ๆ สามารถเข้าไปดูรายละเอียดได้ที่เว็บไซต์คณะแพทยศาสตร์ของแต่ละมหาวิทยาลัยหรือสถาบันได้เลยค่ะ)

** ทั้งนี้เกณฑ์ที่ใช้คัดเลือกในแต่ละปี อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงได้ น้อง ๆ จะต้องคอยติดตามรายละเอียดของแต่ละมหาวิทยาลัย หรือที่เว็บไซต์ของ กสพท

คณะทันตแพทยศาสตร์ เรียนเกี่ยวกับอะไร?

สำหรับทันตแพทยศาสตร์ เป็นคณะที่เรียนเกี่ยวกับฟัน อวัยวะภายในช่องปาก และอวัยวะอื่น ๆ ที่ทำหน้าที่ในการบดเคี้ยวอาหาร ออกเสียง รวมถึงการประเมิน วินิจฉัย ป้องกัน และรักษาโรค/ความผิดปกติที่เกิดขึ้นภายในช่องปาก หรือบริเวณใกล้เคียงอื่น ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์ โดยมีระยะเวลาในการเรียนรวม 6 ปีด้วยกัน

6 ปีของการเรียน ต้องเจออะไรบ้าง?

ชั้นปีที่ 1 : เรียนวิชาพื้นฐานด้านวิทย์และสังคม 

สำหรับชั้นปีที่ 1 วิชาที่น้อง ๆ จะได้เรียนนั้น ส่วนใหญ่แล้วเป็นวิชาพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์และสังคมทั่วไป และในหลาย ๆ วิชาก็จะได้เรียนรวมกับคณะ/สาวิชาอื่น ๆ เช่น วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ มนุษย์กับการรู้จักตนเอง วิชาชีพทันตแพทย์ขั้นแนะนำ มหกายวิภาคศาสตร์ทั่วไป จุลกายวิภาคศาสตร์ และภาษาอังกฤษ เป็นต้น

ชั้นปีที่ 2 : เรียนวิชาด้านการแพทย์มากขึ้น 

พอขึ้นชั้นปีที่ 2 น้อง ๆ จะเรียนเกี่ยวกับพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์และทันตแพทย์มากยิ่งขึ้น เช่น วิชากายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาช่องปาก ทันตวัสดุ การส่งเสริมสุขภาพช่องปาก รังสีวิทยาช่องปาก ทันตกรรมบดเคี้ยว พยาธิวิทยา จุลชีววิทยา เภสัชวิทยา และชีวเคมี เป็นต้น

ชั้นปีที่ 3 : เรียนวิชาคลินิก ก่อนฝึกปฏิบัติจริง 

ในชั้นปีที่ 3 จะเริ่มเข้าสู่วิชาบรรยายและวิชาปฏิบัติทางด้านทันตกรรมพื้นฐานมากขึ้น เช่น วิชาทันตกรรมหัตถการ ฟันปลอมทั้งปาก การสบฟัน โรคในช่องปาก ฟันปลอมบางส่วน และทันตกรรมป้องกัน เป็นต้น

ชั้นปีที่ 4 : เริ่มรักษาผู้ป่วยเบื้องต้น 

น้อง ๆ จะได้เริ่มขึ้นคลินิกรักษาผู้ป่วยที่มีปัญหาด้านทันตกรรมเบื้องต้น และยังได้ฝึกปฏิบัติงานภาคสนามทางทันตกรรมชุมชน อีกด้วย

ชั้นปีที่ 5 : ได้ฝึกปฏิบัติงานจริงในคลินิก  

ในชั้นเรียนปีที่ 5 น้อง ๆ จะได้เรียนในคลินิกมากขึ้น โดยนับเป็นสัดส่วนประมาณครึ่งหนึ่งของหน่วยกิตทั้งหมด รวมทั้งยังได้ฝึกปฏิบัติงานภาคสนามในงานทันตกรรมโรงเรียน และการทำงานโครงงานวิจัยทางด้านทันตกรรม อีกด้วย

ชั้นปีที่ 6 : ฝึกงานทั้งในคลินิก และภาคสนาม 

สำหรับในชั้นเรียนปีสุดท้ายเทอมแรก น้อง ๆ จะใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่ในคลินิก โดยจะฝึกปฏิบัติงานการดูแลผู้ป่วย การตรวจบำบัดรักษาทางทันตกรรม การส่งเสริมและป้องกันโรคของฟัน เหงือก และเนื้อเยื่อในช่องปาก เป็นต้น ส่วนเทอมที่สอง น้อง ๆ จะได้หมุนเวียนไปฝึกงานในโรงพยาบาล หรือในชุมชนจริง ๆ

** ทั้งนี้การเรียนในแต่ละชั้นปีของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ อาจจะมีวิชาเรียน หรือวิธีการเรียนที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้นน้อง ๆ จะต้องเข้าไปดูรายละเอียดหลักสูตรการเรียนทั้งหมดที่เว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย ที่น้อง ๆ สนใจ เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจว่าเราจะเลือกเรียนที่สถาบันแห่งไหนดี

เรียนจบ ป.ตรี แล้ว ต่อสาขาเฉพาะทางได้

เมื่อน้อง ๆ เรียนจบในปริญญาตรี หลักสูตรทันตแพทยศาสตรบัณฑิตแล้ว น้อง ๆ สามารถเลือกเรียนต่อในสาขาเฉพาะทางด้านทันตแพทย์ได้ โดยเวลาเรียนในแต่ละสาขาจะไม่เท่ากัน (อยู่ที่ประมาณ 1-3 ปี) สาขาเฉพาะทางที่เปิดสอน มีรายละเอียดดังต่อไปนี้

สาขาปริทันตวิทยา เรียนเกี่ยวกับการป้องกันและรักษาโรคที่เกี่ยวกับเหงือก และอวัยวะต่าง ๆ บริเวณฟัน
สาขาทันตกรรมหัตถการ เรียนเกี่ยวกับการทำให้ฟันกลับมาใกล้เคียงกับสภาพเดิมมากที่สุด
สาขาศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล เรียนเกี่ยวกับการผ่าตัด เริ่มตั้งแต่การถอนฟันธรรมดา ผ่า/ถอนฝันคุด การผ่าตัดกระดูกในช่องปาก ฯลฯ
สาขาทันตกรรมสำหรับเด็ก จะเรียนเกี่ยวกับการรักษาฟันของเด็ก และยังเรียนทางด้านจิตวิทยาอีกด้วย
สาขาทันตกรรมประดิษฐ์ เรียนเกี่ยวกับการทำฟันปลอม (แบบเจาะลึกกว่าในระดับ ป.ตรี)
สาขาวิทยาเอ็นโดดอนต์ จะเรียนเกี่ยวกับการรักษารากฟัน
สาขาทันตกรรมจัดฟัน เรียนเกี่ยวกับการจัดฟัน
สาขาวิทยาการวินิจฉัยโรคช่องปาก เรียนเกี่ยวกับการวิเคราะห์โรคที่เกิดขึ้นภายในช่องปาก ฟัน และวิธีการรักษาโรคต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น
สาขาทันตสาธารณสุข เป็นสาขาที่เน้นการเรียนออกภาคสนาม ให้ความรู้เกี่ยวกับชุมชน เพื่อให้ทุกคนในชุมชนมีสุขภาพฟันและช่องปากที่ดี

สถาบันการศึกษาที่เปิดสอน

บทความที่น่าสนใจ

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0