โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

อยากเป็นผู้ฟังที่ดีไหม? งั้นจงหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่น่าอาย 3 ข้อนี้

issue247.com

อัพเดต 18 ก.พ. 2562 เวลา 04.51 น. • เผยแพร่ 18 ก.พ. 2562 เวลา 00.00 น.

การฟังคือศิลปะอย่างหนึ่งที่ขาดหายไปและเป็นการฝึกที่คนส่วนใหญ่มองข้าม หลายคนชอบที่จะพูดมากกว่าและการอยู่ในโลกที่มีแต่ผู้พูดก็ทำให้ทุกคนรู้สึกราวกับว่าไม่มีใครรับฟังพวกเขาเลย เหตุผลที่คนส่วนใหญ่รู้สึกไม่พอใจเกิดจากการสื่อสารที่ไร้ประสิทธิภาพ พวกเขามักจะสนใจแต่ความคิดของตัวเองจนลืมที่จะฟังคนอื่น ผู้คนจำนวนไม่น้อยมีปัญหาในการฟังและบางครั้งก็เผลอทำให้คนรัก เพื่อนๆ และเพื่อนร่วมงานของพวกเขารู้สึกด้อยค่าโดยไม่รู้ตัว สุดท้ายเหตุการณ์เหล่านี้จะกลายเป็นวงจรที่เลวร้ายซึ่งเมื่อการสื่อสารล้มเหลวถึงแม้ปรับปรุงแล้วก็ล้มเหลวอีกครั้ง การพัฒนาทักษะในการฟังจะช่วยลดความรุนแรงของการสื่อสารที่ล้มเหลว นอกจากนี้ยังทำให้ผู้อื่นมีความเข้าใจและเห็นคุณค่าในตนเองมากขึ้นด้วย ดังนั้นหากต้องการพัฒนาทักษะการฟัง คุณควรหลีกเลี่ยงพฤติกรรม 3 ข้อข้างล่างนี้

 

1. ประเมินสิ่งที่อีกฝ่ายกำลังพูดอยู่

เมื่ออีกฝ่ายประเมินสิ่งที่คุณพูดมากกว่าที่จะฟัง คุณจะรู้สึกได้ถึงความเหินห่างเหมือนว่าพวกเขาไม่ได้อยู่ตรงนี้ คุณกำลังพูดอยู่ก็จริงแต่คำพูดของคุณกลับเข้าหูซ้ายทะลุหูขวาของพวกเขา และถ้าคุณวิเคราะห์คำพูดของอีกฝ่ายมากกว่าที่จะฟัง คุณจะได้ยินคำพูดสำคัญเพียงไม่กี่ประโยคจากนั้นคุณก็จะปิดหูของตัวเองและแสดงอีโก้ออกมา หยุดพฤติกรรมเหล่านั้นเดี๋ยวนี้! หากคุณต้องการเป็นผู้ฟังที่ดีก็จงเลิกวิเคราะห์คำพูดของอีกฝ่ายจนกว่าพวกเขาจะพูดเสร็จ

 

2. ออกความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่คนอื่นพูดไปแล้ว

เมื่ออีกฝ่ายเลือกออกความคิดเห็นมากกว่าที่จะรับฟังคุณ คุณจะรู้สึกเหมือนถูกเข้าใจผิดและถูกมองข้าม พวกเขาจะพยายามชี้ให้คุณเห็นว่าคุณผิดอย่างไร ซึ่งพฤติกรรมดังกล่าวคือการบ่งบอกชัดเจนว่าความคิดเห็นของคุณไม่สำคัญ หากคุณเป็นฝ่ายที่จะออกความคิดเห็นก็แปลว่าคุณไม่เผื่อที่ว่างให้กับความคิดเห็นของผู้อื่นและสมองของคุณก็ทำงานเร็วมากจนลืมใส่ใจคำพูดของอีกฝ่าย ดังนั้นความรู้สึกของทั้งคู่จึงไม่มีการแลกเปลี่ยน

 

3. รอให้อีกฝ่ายหยุดพูดเพื่อที่คุณจะได้แบ่งปันความคิดเห็นบ้าง

หากคุณกำลังพูดและอีกฝ่ายรอให้คุณหยุดพูดเพื่อที่จะได้แบ่งปันแนวคิดบ้าง อารมณ์ของคุณก็จะเปลี่ยนจากปกติไปเป็นหงุดหงิด โกรธ หรือผิดหวัง คุณจะรู้สึกได้โดยสัญชาตญาณว่าคุณกำลังเสียเวลาให้กับคนที่ไม่ใส่ใจคุณเลย หากคุณเป็นฝ่ายรอที่จะพูด รู้ไหมว่าคุณกำลังทำลายโอกาสในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน นี่คือพฤติกรรมที่เห็นแก่ตัวและทำให้ทั้งสองฝ่ายไม่เข้าใจกัน การไม่เชื่อมต่อกันจะทำให้ไม่มีความสุข ก่อเกิดความไม่มั่นใจ ความอ่อนแอ และความรู้สึกกลัวต่อผู้พูด ดังนั้นหากคุณต้องการทำลายวงจรนี้ก็ควรขัดเกลาพฤติกรรมการฟังของตัวเอง

การหลีกเลี่ยงพฤติกรรมทั้ง 3 ข้อที่กล่าวมาจะช่วยปรับปรุงความสัมพันธ์และสานต่อการสนทนาอย่างแท้จริง เมื่อเวลาผ่านไปคุณจะมีศิลปะในการช่วยให้ผู้อื่น (และตัวเอง) รู้สึกมีคุณค่า พึงพอใจ และเข้าใจซึ่งกันและกัน

 

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0