โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

อดีตผู้พิพากษาติงบางคนได้ทำตัวเป็นพนักงานสอบสวน พนักงานอัยการและศาล กรณีนายแพทย์ถูกร้องข่มขืนกระทำชำเรา

ไทยโพสต์

อัพเดต 21 พ.ย. 2561 เวลา 12.51 น. • เผยแพร่ 21 พ.ย. 2561 เวลา 12.51 น. • ไทยโพสต์

21 พ.ย.61 - นายชูชาติ ศรีแสง อดีตผู้พิพากษาศาลฎีกา โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก  Chuchart Srisaeng ว่า…..ขณะนี้มีข่าวที่เป็นที่วิพากวิจารณ์ของชาวโซเชียลเน็ตเวิร์คและสื่อมวลชนให้ความสนใจมากพอสมควรคือข่าวที่สุภาพสตรีคนหนึ่งไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนว่าถูกนายแพทย์คนหนึ่งข่มขืนกระทำชำเรา …..ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๗๖ ผู้ใดข่มขืนกระทําชําเราผู้อื่นโดยขู่เข็ญด้วยประการใดๆ โดยใช้กําลังประทุษร้าย โดยผู้อื่นน้ันอยู่ในภาวะท่ีไม่สามารถขัดขืนได้ หรือโดยทําให้ผู้อื่นน้ันเข้าใจผิดว่าตนเป็นบุคคลอื่น ต้องระวางโทษจําคุกต้ังแต่สี่ปีถึงยี่สิบปีและปรับตั้งแต่แปดหมื่นบาทถึงสี่แสนบาท …..การกระทำชำเราตามวรรคหนึ่ง หมายความว่าการกระทําเพื่อสนองความใคร่ของผู้กระทําโดยการใช้อวัยวะเพศของผู้กระทํากระทํากับอวัยวะเพศ ทวารหนัก หรือช่องปากของผู้อื่น หรือการใช้สิ่งอื่นใดกระทํากับอวัยวะเพศหรือทวารหนักของผู้อื่น  …………..ฯลฯ………. …..ขณะนี้พนักงานสอบสวนอยู่ในระหว่างดำเนินการสอบสวนแสวงหาพยานหลักฐาน ยังไม่อาจรู้ได้ว่า พนักงานสอบสวนจะมีคำสั่งฟ้องผู้ถูกกล่าวหาหรือไม่และพนักงานจะมีคำสั่งอย่างไร รวมทั้งถ้าพนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการมีคำสั่งให้ฟ้องผู้ถูกกล่าวต่อศาลแล้ว ศาลจะพิจารณาพิพากษาลงโทษหรือยกฟ้อง …..แต่ปรากฎว่า มีทั้งผู้ที่ไม่มีความรู้ทางกฎหมายและนักกฎหมายบางคนได้ทำตัวเป็นพนักงานสอบสวน พนักงานอัยการและศาล ได้วินิจฉัยคดีนี้กันเรียยร้อยแล้ว …..นี่คือสิ่งที่ทำให้ประชาชนทั่วไปที่ไม่มีความรู้และเข้าใจกฎหมายและกระบวนการดำเนินการในคดีอาญาสับสนและหากในอนาคตคดีขึ้นสู่ศาลและศาลมีคำพิพากษาไม่ตรงกับที่ผู้ทำตัวเป็นผู้พิพากษาโดยไม่ต้องเรียนกฎหมายหรือเป็นนักกฎหมายแต่ไม่ต้องสอบเป็นผู้พิพากษาให้ความเห็นไว้ ประชาชนก็คงพากันด่าศาลอีกแน่นอน …..การพิจารณาพิพากษาคดีทั้งคดีแพ่งและคดีอาญา มีเรื่องที่ต้องพิจารณาวินิจฉัยอยู่ ๒ ประการ คือ ข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย …..ถ้ายังไม่รู้ข้อเท็จจริงอย่างแน่ชัด ก็ไม่อาจที่จะวินิจฉัยชี้ขาดคดีได้ เพราะไม่อาจนำข้อกฎหมายปรับกับเรื่องที่ต้องวินิจฉัยได้ หรือรู้ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นแน่ชัดชัดแล้ว แต่ไม่เข้าใจข้อกฎหมาย ไม่ว่าเป็นกรณีหนึ่งกรณใดหรือทั้งสองกรณี การวินิจฉัยก็ต้องผิดพลาดแน่นอน …..แพทย์ผู้ตรวจรักษาตรวจผู้ป่วยแล้วยังไม่ทราบว่าผู้ที่มารับการตรวจรักษาป่วยเพราะสาเหตุอะไรหรือเป็นโรคอะไร การสั่งจ่ายยาให้แก่ผู้ป่วยก็ยากที่จะจ่ายให้ได้ถูกต้อง ฉันใดก็ฉันนั้น …..กรณีที่เกิดขึ้นในคดีดังกล่าว ขณะเกิดเหตุที่ผู้กล่าวหาหรือผู้เสียหายอ้างว่าผู้ถูกกล่าวหาข่มขืนกระทำชำเรานั้น ตามข่าวปรากฎว่ามีผู้อยู่ในเหตุการณ์ขณะเกิดเพียง ๒ คนเท่านั้น คือผู้เสียหายและผู้ถูกกล่าวหา จึงมีเพียงผู้เสียหายและผู้ต้องหาเท่านั้นที่รู้ว่า มีการข่มขืนกระทำชำเราเกิดขึ้นจริงหรือไม่ และหากเกิดขึ้นจริงผู้เสียหายยินยอมหรือไม่ นอกจากนี้ก็อาจมีทนายความของผู้เสียหายและพนักงานสอบสวน ถ้าผู้เสียหายเล่าเรื่องที่เกิดขึ้นให้ทราบตามความเป็นจริง …..ส่วนบุคคลอื่นๆ นอกจากที่กล่าวแล้วก็ไม่มีใครรู้ว่า ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นเป็นอย่างไร ถ้าเป็นเพียงการพูดเฉพาะปัญหาข้อกฎหมายเช่น อ้างคำพิพากษาศาลฎีกามาให้ความรู้แก่ผู้อ่านก็เป็นสิ่งที่ดี แต่การให้ความเห็นในข้อเท็จจริงที่ตนเองไม่รู้และวินิจฉัยไปเหมือนคำพิพากษาของศาล เป็นสิ่งที่ไม่สมควรกระทำเป็นอย่างยิ่ง  …..แต่ถ้าบุคคลใดต้องการทำหน้าที่เป็นศาลหรือผู้พิพากษา ก็ควรจะสมัครสอบเข้ามาเป็นผู้ช่วยผู้พิพากษา เมื่อสอบได้แล้วท่านจะได้ทำหน้าที่ผู้พิพากษาอย่างเต็มที่ แต่ถ้าท่านไม่ชอบการเป็นผู้พิพากษาหรือสมัครสอบเป็นผู้ช่วยผู้พิพากษาแล้วแต่สอบไม่ได้ ก็ไม่ควรแสดงความคิดเห็นเฉกเช่นการพิจารณาพิพากษาคดีของผู้พิพากษา

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0