โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

อดีตปลัดอำเภอช่วยคนจีนสวมสัญชาติไทย ลอบเข้ามาทำธุรกิจ ทุนจดทะเบียน 3,600 ล้าน

TODAY

อัพเดต 26 พ.ค. 2563 เวลา 15.26 น. • เผยแพร่ 26 พ.ค. 2563 เวลา 15.26 น. • Workpoint News
อดีตปลัดอำเภอช่วยคนจีนสวมสัญชาติไทย ลอบเข้ามาทำธุรกิจ ทุนจดทะเบียน 3,600 ล้าน

วันที่ 26 พ.ค. ที่ที่ว่าการอำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย พันตำรวจโท ปกรณ์ สุชีวกุล รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ, ร้อยตำรวจเอก วิษณุ ฉิมตระกูล ผู้อำนวยการกองคดีความมั่นคง และ นายธวัชชัย รัตนปรีชาชัย ผู้อำนวยการส่วนคดีความมั่นคง 2 ร่วมกับ กรมการปกครอง โดย นายวีระชาติ ดาริชาติ ผู้อำนวยการสำนักบริหารการทะเบียน, นายเอกอนันต์ ศรีอินทร์ ผู้อำนวยการส่วนป้องกันและปราบปรามการทุจริตการทะเบียนและบัตรประจำตัวประชาชน, นายอุดม อยู่อินไกร นายอำเภอเวียงแก่น และตำรวจภูธรจังหวัดเชียงราย   ตรวจสอบกรณีคนต่างด้าวสวมสิทธิสัญชาติไทยโดยมิชอบด้วยกฎหมาย และได้ใช้สิทธิไปประกอบธุรกิจต้องห้าม อันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542

  สืบเนื่องจากสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองในประเทศจีน พบว่า นายแก้ว แซ่ลี ถือหนังสือเดินทาง 2 ฉบับ ทั้งสัญชาติไทยและสัญชาติจีน จึงประสานมาที่ กรมการกงสุล ซึ่งได้ส่งข้อมูลให้กองคดีความมั่นคง กรมสอบสวนคดีพิเศษ ตรวจสอบพบว่า นายแก้ว แซ่ลี เป็นคนต่างด้าว ได้สวมสิทธิสัญชาติไทยโดยใช้วิธีสวมชื่อบุคคลสัญชาติไทยที่ยังมีชีวิตอยู่โดยมิชอบ เหตุเกิดที่สำนักทะเบียนอำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย โดยมีเจ้าหน้าที่รัฐ (อดีตปลัดอำเภอเวียงแก่น) ที่ทำหน้าที่ในฐานะผู้ช่วยนายทะเบียนอำเภอเวียงแก่น เป็นผู้ดำเนินการ   กรมสอบสวนคดีพิเศษได้ส่งเรื่องดังกล่าวให้กรมการปกครอง เพื่อเพิกถอนการรายการสิทธิสัญชาติไทยและดำเนินคดีอาญาต่อผู้กระทำผิดทางอาญาที่เกี่ยวข้องแล้ว และดำเนินการสืบสวนขยายผลร่วมกับสำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง ตรวจสอบข้อมูลพบว่า มีการสวมสิทธิโดยมิชอบในช่วงเวลาที่ปลัดอำเภอเวียงแก่น ซึ่งเป็นผู้กระทำผิด อีกจำนวน 255 รายชื่อ

  จึงเป็นที่มาของการร่วมกันใน 2 ด้าน ได้แก่ ด้านความมั่นคงของประเทศ ซึ่งกรมการปกครองเป็นผู้รับผิดชอบ และด้านการประกอบธุรกิจต้องห้ามของคนต่างด้าว ซึ่งกรมสอบสวนคดีพิเศษเป็นผู้รับผิดชอบ และได้รับกรณีดังกล่าวเป็นเรื่องสืบสวนที่ 23/2563 และขณะนี้ได้นำรายชื่อบุคคลจำนวน 255 รายชื่อ ที่ปรากฏภาพลายนิ้วมือในขณะแจ้งถิ่นพำนัก ส่งไปยังสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ตรวจเปรียบเทียบกับลายพิมพ์นิ้วมือขณะทำบัตรประชาชน เพื่อพิสูจน์ตัวบุคคล   รวมทั้งได้นำรายชื่อทั้ง 255 ราย ตรวจสอบกับฐานข้อมูลกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ พบว่ามีการไปจดทะเบียนประกอบธุรกิจต้องห้ามของคนต่างด้าวจำนวน 15 ราย ในลักษณะนิติบุคคลรวม 19 บริษัท   โดย 1 ใน 15 ราย ซึ่งจดทะเบียน เป็นนิติบุคคล 3 บริษัท มีทุนจดทะเบียนรวมกันไม่น้อยกว่า 3,600 ล้านบาท ซึ่งถือว่ามีสินทรัพย์ของนิติบุคคลรวมเกิน 100 ล้านบาท อันเข้าข่ายลักษณะที่เป็นคดีพิเศษ ซึ่งกรมสอบสวนคดีพิเศษจะดำเนินการบังคับใช้กฎหมายกับผู้กระทำผิดต่อไป

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0