โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

อดีตประธานศาล แฉ! 4 ปีที่ผ่านมา การเมืองแทรกแซง ชี้เลือกตั้งไม่ช่วยอะไร

Khaosod

อัพเดต 23 ต.ค. 2561 เวลา 12.41 น. • เผยแพร่ 21 ต.ค. 2561 เวลา 12.03 น.
46565112321321321321

อดีตประธานศาล แฉ! 4 ปีที่ผ่านมา การเมืองแทรกแซง ชี้เลือกตั้งไม่ช่วยอะไร ถ้าโครงสร้างรัฐธรรมนูญยังเป็นแบบนี้

วันที่ 21 ต.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเมื่อวันที่ 18 ต.ค. ที่ผ่านมา นายศิริชัย วัฒนโยธิน อดีตประธานศาล อุทธรณ์ ได้เปิดเผยผ่านรายการ Over View ที่ออกอากาศทางช่อง Voice ทีวี ถึงประเด็นเรื่อง การเมือง กับองค์กรศาลยุติธรรม จากกรณีที่ไม่ผ่านการเห็นชอบจากคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม (ก.ต.) ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานศาลฎีกา เมื่อปี 2560 ที่ผ่านมา ว่าขณะนี้ตนเป็นประชาชนธรรมดาจากที่ได้ลาออกจากประธานศาลอุทธรณ์เเล้ว

เรื่องดังกล่าวนั้นต้องเรียนว่า ปกติเเล้วศาลยุติธรรมนั้นจะยึดหลักอาวุโสเป็นหลัก ขณะนั้นตอนที่มีการเสนอชื่อขึ้นเป็นประธานศาลฎีกาตนเป็นผู้ที่มีลำดับอาวุโสสูงสุด และในขณะนั้นตนก็ไม่เคยมีข้อเสียเกี่ยวกับเรื่องความไม่บริสุทธิ์ ผู้พิพากษาทุกคนรู้ดีว่าตนเป็นคนตรง ไม่เคยช่วยใครทุกคนจะได้รับความเป็นธรรมจากตนเท่ากัน ในอดีตก็เคยมีประธานศาลอุทธรณ์และเเม้ไม่ได้ขึ้นเป็นประธานศาลฎีกาก็มีการให้ดำรงดำแหน่งเดิมคือประธานศาลอุทธรณ์ไว้

แต่ตนถือเป็นคนแรก ที่เมื่อไม่ได้ขึ้นประธานศาลฎีกาก็ไม่ได้อยู่ในตำแหน่งประธานศาลอุทธรณ์ที่เป็นตำแหน่งเดิม เเต่กลับให้ไปเป็นที่ปรึกษาประธานศาลฎีกา มีเหตุเชื่อได้ว่าที่ตนไม่ได้อยู่ตำเเหน่งประธานศาลอุทธรณ์ต่อนั้น อาจเป็นเพราะช่วงนั้นคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม (ก.ต.) ในชั้นอุทธรณ์จะว่างลง

ถ้าตนยังอยู่ในตำแหน่งประธานศาลอุทธรณ์ก็มีการคาดการณ์กันว่า ตนคงจะได้รับเลือกเป็น ก.ต.ในชั้นศาลอุทธรณ์แน่นอน จึงมีการพยายามที่จะสกัดกั้นตนไม่ให้อยู่ในตำแหน่งประธานศาลอุทธรณ์เพื่อไม่ให้ได้เป็น ก.ต. ด้วย

เพราะก่อนที่จะมีคำสั่งให้ตนย้ายไปเป็นที่ปรึกษาประธานศาลฎีกาก็เคยมีการต่อรองให้ตนขอขึ้นเป็นอาวุโสในศาลอุทธรณ์ เเลจะพิจารณาไม่ดำเนินการเอาเรื่องที่ตนถูกร้องอันเป็นสาเหตุให้ไม่ผ่านขึ้นเป็นประธานศาลฎีกา ซึ่งตอนนั้นการติดต่อดังกล่าวมาในรูปแบบให้เพื่อนตนกับคนที่รู้จักเข้ามาเจรจา ซึ่งตนก็ได้ปฏิเสธไป

  • เมื่อพิธีกรถามว่ามีการเมืองจากภายนอกมาสกัดไม่ให้ขึ้นเป็นประธานศาลฎีกาหรือไม่

นายศิริชัยกล่าวว่า ตนไม่แน่ใจนัก แต่ก็มีนักข่าวได้สอบถามประเด็นนี้โดยถามขึ้นมาว่าหากตนได้เป็นประธานศาลฎีกา จะได้เข้าเป็นประธานกรรมการสรรหาองค์กรอิสระ และตนเป็นคนตรงใครจะสั่งตนไม่ได้ ซึ่งก็ไม่รู้ว่าจะเป็นประเด็นนี้ตามที่นักข่าวถามมาหรือไม่

  • เมื่อถามว่าชีวิตในปัจจุบันหลังจากลาออกจากประธานศาลอุทธรณ์เกิดผลกระทบด้านใดบ้าง

นายศิริชัย ระบุว่า ตนเป็นคนที่เติบโตมาจากชั้นล่างขึ้นมา มีความระมัดระวังตัวในการทำงานและการใช้จ่ายเงินทอง ซึ่งตนก็มีเงินเก็บบางส่วน ถ้าไม่มีเงินเก็บก็คงจะแย่ เพราะจากกรณีที่เมื่อตนไม่ได้ดำรงตำแหน่งประธานศาลฎีกาก็จะต้องมีการตั้งกรรมการสอบ เพื่อให้สอดคล้อง ซึ่งคณะกรรมการที่ถูกตั้งขึ้นดังกล่าวได้เคยเรียกตนไปให้ถ้อยคำทั้งหมด 2 ครั้ง

นับจากวันแรกที่ถูกตั้งคณะกรรมการก็เป็นระยะเวลากว่า15 เดือนแล้ว ก็ยังสอบข้อเท็จจริงตนไม่เสร็จสิ้นซักที ซึ่งการสอบสวนข้อเท็จจริงนั้นในระเบียบมีการกำหนดระยะเวลา แต่ก็สามารถขอขยายได้ แต่ตรงนี้ก็ทำให้ตนได้รับความเสียหายเนื่องจากตนไม่ได้รับบำนาญทั้งที่ความจริงแล้วการที่ไม่ได้เงินควรจะต้องเป็นกรณีที่สอบวินัยร้ายแรง

แต่กรณีของตนยังอยู่ในขั้นตอนการสอบข้อเท็จจริงอยูซึ่งกรมบัญชีกลางก็ไม่จ่ายเงินส่วนนี้ให้ อีกทั้งตนจะไปเป็นอนุญาโตตุลาการก็ไม่ได้ เรื่องจากติดในประเด็นนี้เช่นเดียวกัน

  • เมื่อถามเรื่องการมองปัญหาการเมืองของประเทศไทยในปัจจุบัน

นายศิริชัย กล่าวว่า เดิมทีตนเป็นคนสนใจการเมืองมานาน จึงมองว่าประเทศไทยมักประสบปัญหาเรื่องการทุจริต โดยเฉพาะนักการเมืองจะถูกกล่าวอ้างว่าทุจริตอยู่เรื่อย ซึ่งในต่างประเทศก็มีการกล่าวกันว่าถ้าไม่มีนักการเมือง ประเทศก็จะเจริญ ซึ่งความหมายของนักการเมืองก็คือคนที่ทำงานเกี่ยวกับการเมือง คสช.นายกรัฐมนตรี และ สนช.ซึ่งขณะนี้มาทำหน้าที่บริหารงานและออกกฎหมาย ไม่ว่าจะมาจากการเลือกตั้งหรือไม่ ก็ถือเป็นนักการเมือง

รัฐบาลเปรียบเสมือนเรือหรือรัฐนาวา แต่ทุกวันนี้คณะรัฐมนตรีเหมือนเป็นคนพายเรือ ซี่งต่างคนต่างพายไม่ได้มีการประสานงานว่าจะดำเนินการกันอย่างไร เลยทำให้งานไปคนละทิศทางทำให้บ้านเมืองไม่ได้เดินต่อไป

  • เมื่อถามว่า ช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมามองว่าการปกครองเเละระบบกฎหมายในประเทศเราครบถ้วนหรือไม่

นายศิริชัยกล่าวว่า การปกครองบริหารบ้านเมืองในขณะนี้ ก็ไม่ได้แตกต่างจากตอนมีรัฐธรรมนูญซักเท่าไหร่บางจุดอาจจะดูด้อยกว่าเสียด้วยซ้ำ อย่างข้าราชการที่ถูกลงโทษวินัยไปแล้ว เเต่พอ คสช.เข้ามา ก็ประกาศให้พ้นโทษแม้กระทั้งในศาลยุติธรรมเองก็มีผู้พิพากษาที่ถูกให้ออกไปแล้ว ก็มีประกาศ คสช.ให้กลับมาเป็นข้าราชการธุรการ

อย่างที่จะสังเกตกันว่า หลักนิติธรรมมันจะต้องมีมาตรฐาน ทุกวันนี้ต้องดูว่าองค์กรอิสระมันดีหรือไม่ ถ้าเซ็ตซีโร่ ก็ต้องทำทั้งหมด แต่กลับไปเซ็ตซีโร่เฉพาะบางองค์กรแล้วเราจะตอบคำถามใครได้อย่างไร ตรงจุดนี้ตนมองว่าเป็นจุดด้อยของยุคนี้

  • เมื่อถามว่า คิดว่าการเลือกตั้งจะเป็นทางออกของประเทศหรือไม่ในเวลานี้

นายศิริชัย กล่าวว่า หากพูดกันตรงๆตนว่ายังไม่ใช่ทางออกของประเทศ เพราะ หากว่ารัฐธรรมนูญยังมีโครงสร้างแบบนี้ อำนาจอธิปไตย ที่แบ่งเป็น นิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ เป็นเรื่องดี ถ้าหากมันสามารถที่จะแบ่งกันได้จริงๆ เพราะมันจะตรวจสอบกันอยู่ แต่ในความเป็นจริงมันไม่ใช่ เราจะเห็นได้ว่า อำนาจนิติบัญญัตินั้นเป็นลูกน้องของอำนาจบริหาร นายกรัฐมนตรีก็เคยพูดเองว่าเป็นคนตั้ง สนช.ด้วยตนเอง

อย่างที่มี สนช.หลับก็พูดเองว่า ต่อไปจะไม่ตั้งคนที่หลับให้มีตำแหน่งอะไรอีกแล้ว ตรงนี้แสดงว่ารัฐบาลเป็นฝ่ายดูแลนิติบัญญัติ และการที่เรามีองค์กรอิสระก็เพื่อจะให้มีการตรวจสอบอีก แต่ฝ่ายบริหาร ก็ไปควบคุมโดยส่งคนของตัวเองเข้าไปในองค์กรอิสระ ซี่งทุกยุคก็พยายามที่จะเป็นแบบนี้เพราะถ้าควบคุมองค์กรอิสระได้ ตัวเองก็จะปลอดภัยโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ป.ป.ช. เป็นหน่วยงานที่ฟอกการกระทำได้ดี เพราะถ้า ป.ป.ช.ไต่สวนแล้วชี้ว่าคดีไม่มีมูล ถือว่าเป็นอันจบเลย

คนคนนั้นเหมือนว่าไม่ได้กระทำความผิดถ้าเขาจะมีการช่วยกันเขาก็ชี้ว่าไม่มีมูลก็จบ เว้นแต่จะมีคนที่มีพยานหลักฐานใหม่เข้ามา เรื่องบางเรื่อง ป.ป.ช.ควรจะชี้แจงว่ามันช้าเพราะอะไรเราควรจะต้องมีการแก้กฎหมายว่าการชี้คดีของ ป.ป.ช.มันควรจะไม่ถึงที่สุด ควรที่จะมีหน่วยงานหรือองค์กรอิสระคอยตรวจสอบอีก อาจจะเป็นกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ หรือสำนักผู้ตรวจการแผ่นดินขึ้นมาดูอีกทีว่ามันถูกต้องหรือไม่ คล้ายกับอัยการที่คอยตรวจสอบจากพนักงานสอบสวน

  • เมื่อถามว่า นายศิริชัย วางตัวเองไว้อย่างไรพร้อมจะมีบทบาทอย่างไรเกี่ยวกับประเทศนี้หรือไม่

นายศิริชัย กล่าวว่า เดิมคนที่จะเป็นนายกฯได้ก็จะต้องเป็นหัวหน้าพรรคการเมืองแต่ทุกวันนี้อย่างที่เรารู้กันมันก็เป็นเหมือนเดิมเพียงแต่นายกฯตอนนี้มันไม่จำเป็นต้องเป็นหัวหน้าพรรค ซึ่งช่วงนี้จะเป็นการจัดตั้งพรรคการเมืองเพื่อเตรียมเลือกตั้ง ตนก็อยากจะสมัครเป็นหัวหน้าพรรคการเมือง หากมีพรรคไหนมาติดต่อตนจะทำให้ เพราะผมคิดว่าจะต้องแก้ปัญหาบ้านเมืองที่มันค้างคา

  • เมื่อถามว่า เมื่อเป็นหัวหน้าพรรคการเมือง จะต้องเจอกับ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี จะกล้าลุยหรือไม่

นายศิริชัย กล่าวว่า ตนเป็นคนตรงไปตรงมาอยู่แล้วก็ไม่ได้กลัวอะไร การที่จะเป็นหัวหน้าพรรคการเมืองเราต้องมีนโยบายที่ให้ประชาชนเลือก ถ้าประชาชนอยากได้ของใหม่ก็เลือกผม ผมจะปรับประเทศใหม่ทั้งหมดแก้ไขทุกระบบ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการศึกษา ที่เราจะมาสอนให้ท่องจำอย่างเก่าไม่ได้

เราต้องสอนให้เด็กคิด สอนการปฎิบัติ หลักสูตรจะต้องเปลี่ยน ประเทศไทยเราใช้เวลาเรียนกันหนัก แต่คุณภาพการเรียนของเราเป็นอันดับท้ายของอาเซียน เราปล่อยกันมาเป็นแบบนี้ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลเลือกตั้งหรือทหาร การศึกษาก็ยังเป็นแบบนี้ ทำไมมันถึงแก้ไม่ได้

  • เมื่อพิธีกรถามว่า ในช่วงหลังการที่ศาลมายุ่งเรื่องการเมืองมันจะเป็นปัญหาหรือไม่

นายศิริชัย กล่าวว่า ตามหลักแล้ว ตามสมัยดั้งเดิม ผู้พิพากษาเราจะเก็บตัวจะไม่มีการเข้ามาเปิดตัวแบบนี้ เวลาโยกย้ายสถานที่ทำงานจะไม่มีการเลี้ยงส่ง ซึ่งเมื่อถามว่าเป็นสิ่งที่ดีมั้ยบางคนก็กล่าวไว้ว่าศาลไม่ควรเก็บตัว ควรจะต้องสัมผัสกับประชาชน แต่จริงๆแล้วศาลไม่จำเป็นต้องสัมผัสกับประชาชน เพราะชาวบ้านธรรมดาไม่ได้เข้ามาหาเรามีแต่พ่อค้าผู้มีอิทธิพล ซึ่งพอเข้ามาสนิทกันก็จะมีการมาขอกันถึงเรื่องคดี

ซึ่งความเป็นมนุษย์ปุถุชนก็ทำให้ศาลทำงานไม่สะดวก อย่างตนเองตอนที่พิจารณาพิพากษาคดี ตนจะไม่ดูเลยว่าทนายเป็นใครกลัวจะเป็นคนรู้จักหรือเพื่อน เพราะกลัวว่าตัดสินไปแล้วเพื่อนจะมาว่าทีหลัง ศาลควรจะต้องอยู่ในที่ตั้งจะต้องพยายามไม่ไปยุ่งเกี่ยวใคร

  • เมื่อถามว่า ในข่วง 4 ปีที่ผ่านมามีการเมืองข้างนอกมายุ่งเกี่ยวกับศาลและกระบวนการยุติธรรมหรือไม่

นายศิริชัย กล่าวว่า ตนเองเป็นคนตรงไปตรงมาเลยไม่มีใครเข้ามาหาตน แต่หากดูจากสิ่งแวดล้อมต่างๆคิดว่าน่าจะพอมีบ้าง อย่างคำถามที่ว่าตนไม่ได้เป็นประธานศาลฎีกาเพราะอะไร ก็เพราะตนเป็นคนตรงไปตรงมา หากได้เป็นประธานกรรมการสรรหาองค์กรอิสระแล้วจะขอไม่ได้ ตรงนี้ก็เป็นจุดหนึ่งที่ทำไมต้องเป็นแบบนั้น มันก็มีขบวนการที่พยายามจะเข้ามายุ่งเกี่ยวกับศาลอยู่

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับ นายศิริชัย วัฒนโยธิน อดีตประธานศาลอุทธรณ์ เคยเป็นผู้ที่สำนักงานศาลยุติธรรมเสนอบัญชีรายชื่อขึ้นเพื่อแต่งตั้งเป็นประธานศาลฎีกา คนที่ 44 แทนนายวีระพล ตั้งสุวรรณ ซึ่งเกษียณอายุราชการในวันที่ 30 กันยายน 2560 เนื่องจากอาวุโสสูงสุดตามหลักธรรมเนียมประเพณีปฏิบัติของศาล

เเต่ในครั้งนั้น อนุ ก.ต.มีมติเสียงข้างมาก 19 เสียงไม่ผ่านคุณสมบัติ จากปมเรื่องการโอนสำนวนคดียาเสพติด เเละส่งขึ้น ให้ก.ต.15 คนเป็นผู้พิจารณาเห็นชอบขึ้นดำรงตำเเหน่งประธานศาลฎีกา เเต่สุดท้ายเเล้ว ก.ต.ก็มีมติเสียงข้างมากไม่เห็นชอบให้นายศิริชัยขึ้นดำรงตำเเหน่งประธานศาลฎีกา เเละหลังจากนั้นก็มีการตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องการโอนสำนวนดังกล่าว

นายศิริชัยระบุในการสัมภาษณ์ครั้งนี้ว่า ระยะเวลาผ่านไป15 เดือนเเล้วเเต่ผลสอบข้อเท็จจริงยังไม่ได้ปรากฏออกมา

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0