โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

อดีตนักศึกษาช่างกลโรงงาน ผันชีวิตเป็นไปเกษตรกรปลูกเมล่อนพันธุ์ คิโมจิ จนประสบความสำเร็จ

Manager Online

อัพเดต 13 ธ.ค. 2561 เวลา 15.24 น. • เผยแพร่ 13 ธ.ค. 2561 เวลา 15.24 น. • MGR Online

ราชบุรี - อดีตนักศึกษาช่างกลโรงงาน ผันชีวิตไปเป็นเกษตรกร ปลูกเมล่อนสายพันธุ์คิโมจิ ประสบความสำเร็จ คุณภาพ ความหวาน ได้มาตรฐานจากการดูแลเอาใจใส่ดี กับผลเมล่อนสดจากฟาร์ม

“ ฟาร์มละมุน” อ.โพธาราม จ.ราชบุรี ฟาร์มเล็ก ๆ ปลูกเมล่อนปลอดสาร ที่ประสบความสำเร็จในเรื่องของคุณภาพ ของนายชรินทร์ อินทับ อายุ 38 ปี อยู่ ซึ่งหลังจากจบการศึกษาช่างกลโรงงาน ได้ผันชีวิตมาทดลองปลูกเมล่อนสายพันธุ์คิโมจิ ของญี่ปุ่นที่มีรสชาติหวาน กรอบเนื้อฉ่ำละมุนลิ้น หลังจากที่ลองหาความรู้ตามแหล่งต่าง ๆ ทั้งเดินทางไปศึกษาแหล่งเรียนรู้ของเกษตรกรตัวจริงที่ปลูกเมล่อน พร้อมกับลงแรงสร้างโรงเรือนด้วยตนเองในการก่อสร้าง

เตรียมพื้นที่วางท่อน้ำ วางระบบสายยางและส่วนที่เกี่ยวข้อง โรงเรือนมีขนาดกว้าง 6 เมตร ยาว 18 เมตร โดยลงทุนไปประมาณ 1 แสนบาท หลังจากที่ทดลองปลูกรุ่นแรกก็ยังไม่ประสบผลสำเร็จ เพราะลูกมีขนาดเล็ก แต่ได้ความหวาน ด้วยใจที่มุ่งมั่นและพยายามไม่ยอมแพ้ปลูกเรื่อยมาจนมาถึงในรุ่นนี้ซึ่งเป็นรุ่นที่ 5 ของการปลูก ผลปรากฏว่ารุ่นนี้มีคุณภาพความหวาน ได้ตรงตามมาตรฐานของเมล่อน พันธ์ คิโมจิ มีน้ำหนักประมาณ 1 - 1.4 กก ทำให้ยิ้มออกได้

นายชรินทร์ เล่าว่า ตนเองปลูกเมล่อนพันธุ์ คิโมจิว่า ประมาณ 400 ต้น การปลูกค่อนข้างยากพอสมควร ต้องดูแลเอาใส่เป็นพิเศษโดยจะเน้นความสะอาดเพื่อป้องกันโรค และยังควบคุมความชื้นไม่ให้มากจนเกินไป เพื่อป้องกันโรคต่าง ๆ มารบกวน โดยจะใช้พลาสติกปูพื้น 2 ชั้น ชั้นล่างเป็นพลาสติกสีดำป้องกันหญ้าขึ้น ด้านบนจะเป็นพลาสติกสีขาวสะท้อนแสง เพื่อไล่ความชื้นออกไป โครงหลังคาคลุมด้วยพื้นพลาสติกที่กรองแสงได้ดี

โดยเมล่อนจะเป็นผลไม้ที่ต้องการแสงแดดมาก บางคนอาจจะเข้าใจผิดว่า ที่ญี่ปุ่นปลูกและยังเป็นเมืองหนาวทำไมประเทศไทยเมืองร้อนถึงปลูกเมล่อนได้ แต่จริง ๆ เมล่อนเป็นพืชที่ต้องการแสงมาก จึงต้องใช้พลาสติกเข้ามาช่วยป้องกันน้ำค้างและน้ำฝน มีการดูแลตกแต่งต้น เด็ดยอดอ่อน ๆ ออกไปบ้างเพื่อให้ต้นสมบูรณ์ ใช้ระบบรดน้ำคล้ายกับการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ ส่วนอันนี้จะใช้ลักษณะเป็นวัสดุการปลูก แต่ใช้ปุ๋ยไฮโดรโปนิกส์ที่ให้ไปพร้อมกับน้ำ เริ่มจากการเพาะเมล็ดที่นำเข้ามาจากญี่ปุ่นก่อน 1 เม็ดได้ 1 ต้น ไม่มีการนำเมล็ดจากผลเมล่อนนำมาเพาะอย่างเด็ดขาด ซึ่งหากเป็นสายพันธุ์ คิโมจิหลังผสมเกสรประมาณ 50-55 วัน รวมระยะเวลาปลูกทั้งหมดประมาณ 90 -95 วันจึงเก็บผลผลิตขายได้

การปลูกนั้นจะปลูกใส่ถ้วย ๆ ละ 2 ต้น ดิน 1 ถุงความยาวประมาณ 80เซนติเมตร จะปลูกได้ 2 หลุม หรือเท่ากับ 4 ต้น เพื่อไม่ให้เกิดความหนาแน่นเกินไป โดยผลผลิตที่ประเทศญี่ปุ่นมีราคาสูงมาก แต่สำหรับเมืองไทยขายอยู่ประมาณกิโลกรัมละ 150 บาท ที่นี่ปลูกสายพันธุ์คิโมจิ มีน้ำหนักได้ประมาณลูกละ 1 กิโลกรัมเศษ หรือเฉลี่ยต่อลูกประมาณ 1.4 กก. ความหวานตามสายพันธุ์ 14 องศาบริกซ์ เป็นขนาดที่พอรับประทานได้พอดี คาดว่ารุ่นนี้ 400 ต้น น่าจะได้ผลผลิตประมาณ 90 % หรือเฉลี่ยขายหมดรุ่นนี้จะได้เงินประมาณ 50,000 บาท ซึ่งใช้เวลาการปลูกประมาณ 3 เดือนเศษต่อรุ่น และได้ทดลองปลูกมาปีกว่า รุ่นนี้ปลูกมาเป็นรุ่นที่ 5 แล้ว ถือว่าประสบผลสำเร็จในชีวิตของการปลูกเมล่อนสายพันธุ์นี้

“แม้ว่าตนเอวจะเรียนจบช่างกลโรงงาน เรียนไม่ตรงสายกับอาชีพที่ทำแต่หากมีความพยายามศึกษาหาความรู้และมีความตั้งใจจริง ก็สามารถประสบความสำเร็จในชีวิตได้ และที่สำคัญที่ฟาร์มนี้มีการดูแลเป็นพิเศษ สภาพสวยงาม เน้นความสะอาด สังเกตว่าเมื่อเข้ามาเที่ยวในฟาร์มแล้วจะพบกับความแปลกตาของพื้นที่ขาวสะอาด สามารถนั่งหรือนอนกับพื้นชมความสวยงามของลูกเมล่อนได้อย่างใกล้ชิดไม่เหมือนฟาร์มทั่วไป ที่เคยเห็นแต่ไม่สามารถนั่งหรือนอนชมได้ ถือเป็นไอเดียและความแปลกใหม่ที่ใส่ใจในการดูแลอย่างดีเพื่อให้ผลผลิตออกมามีคุณภาพ สามารถมาเที่ยวชม แชะ เลือกผลเมล่อนสด ๆ จากฟาร์มไปรับประทาน แถมยังได้ถ่ายภาพมุมภาพสวย ๆ อีกด้วย”

นายชรินทร์ กล่าวว่า ขณะนี้ได้เริ่มเก็บผลผลิตที่มีลูกค้าสั่งจองเข้ามาทางเพจเฟซบุ๊ก Lamoonfarm และเตรียมนำไปวางจำหน่ายที่ตลาดเกษตรกร ด้านหน้าสำนักงานเกษตรอำเภอเมือง ทุกวันศุกร์ ซึ่งจะเก็บจากต้นบรรจุกล่องส่งลูกค้า สำหรับเคล็ดลับของการรับประทานเมล่อนของผู้ที่ชื่นชอบรสชาติหวานมากกว่าปกติ ให้เก็บไว้นอกตู้เย็นประมาณ 4-5 วัน และคอยสังเกตที่ขั้วจะเริ่มเหี่ยว จากนั้นนำไปแช่ตู้เย็นทั้งลูกประมาณ 1 ชั่วโมง ก่อนรับประทานจะได้เนื้อเมล่อน ฉ่ำ หวาน หอม กรอบ อร่อย ละมุนลิ้นกว่าปกติ..

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0