โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

อดีตขุนคลัง ปชป. อัดหุ้นกู้ 4 แสนล้าน เอื้อรายใหญ่ ชี้ถ้าจีดีพีหลุดเป้า หนี้สาธารณะเกิน 60%

Khaosod

อัพเดต 27 พ.ค. 2563 เวลา 13.46 น. • เผยแพร่ 27 พ.ค. 2563 เวลา 13.46 น.
พิสิฐ ลี้อาธรรม

อดีตขุนคลัง ปชป. อัดหุ้นกู้ 4 แสนล้าน เอื้อรายใหญ่ จี้แบงก์เร่งปล่อยรายย่อย ชี้รัฐบาลประเมินจีดี 63-64 ดีไป หากไม่เป็นตามคาด หนี้สาธารณะอาจพุ่งเกิน 60%

เมื่อเวลา 18.10 น.‬ วันที่ 27 พ.ค. นายพิสิฐ ลี้อาธรรม ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ อดีต รมว.คลัง ลุกขึ้นอภิปรายว่า เศรษฐกิจโลกในครั้งนี้ จะมีความเสียหายพอๆ กับปี 1929 ดังนั้น มาตรการเยียวยาต้องเข้มข้นมาก เพราะที่ผ่านมาเราพึ่งพาธุรกิจด้านการท่องเที่ยวสูงมาก เราจึงได้รับผลกระทบรุนแรงมาก สิ่งที่รัฐบาลดำเนินการแม้จะช้าบ้าง แต่ต้องระวังหลายประการ อาทิ เรื่องซอฟท์โลนมาตรการออกมาเดือนกว่า มีเงินกองถึง 5 แสนล้านบาท ปรากฏว่า ธนาคารพาณิชย์ใช้ไปเพียงร้อยละ 10

สถานการณ์ที่ร้ายแรงแบบนี้ ธนาคารต้องช่วยลูกค้าเยียวยาผลกระทบ ดังนั้น ธนาคารต้องปรับมาตรการให้เงินออกเร็วขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งธนาคารที่เป็นห่วงเรื่องหนี้เสียที่อาจจะเกิดขึ้น สำหรับพ.ร.ก.หุ้นกู้ จำนวน 4 แสนล้านบาท ตนเห็นด้วยที่ต้องเยียวยาการให้สภาพคล่อง และสิ่งที่คิดว่า ไม่ถูกต้อง คือการทอดสะพานให้แต่เฉพาะรายใหญ่ ให้กับเฉพาะผู้กู้ที่เรตติ้งดี ผู้กู้หรือผู้ออกหุ้นกู้ที่มีเรตติ้งไม่ดี ในฐานะอ่อนแอกว่า กลับไม่ยอมทอดสะพานให้ ปิดโอกาสไม่ให้บริษัทเล็กบริษัทน้อยได้รับประโยชน์ด้วย จริงๆ วันนี้ธนาคารพาณิชย์ไม่ใช่ผู้ลงทุน อย่าไปห่วงเรื่องเรตติ้ง

"ในเรื่องนี้ ผมเป็นห่วงว่า ในกฎหมายสองฉบับของแบงค์ชาติ มีการตั้งกรรมการเข้ามาดูแล มีฐานะเป็นผู้ดำรงตำแหน่งในหน่วยงานต่างๆ ซึ่งดูแล้วก็น่าจะเหมาะสม ซึ่งกรรมการเหล่านี้มีอำนาจในการที่จะจ่ายเงินชดเชยให้แบงค์พาณิชย์ หรือเลือกบริษัทหลักทรัพย์เพื่อบริหารจัดการ ที่เป็นห่วงคือเรื่องขัดกันของผลประโยชน์ อย่าลืมว่า กรรมการเหล่านี้บางท่านเป็นกรรมการในธนาคารพาณิชย์หรือบริษัทจัดการกองทุนด้วย แล้วท่านจะมาเป็นผู้ที่ตัดสินในการเยียวยาหรือชดเชยเงินให้กับธนาคารพาณิชย์ อาจมีปัญหาในอนาคต"

นายพิสิฐ กล่าวต่อว่า วันนี้รัฐบาลได้ประกาศตัวเลขฐานะการคลัง ณ กันยายน 2564 ตัวเลขหนี้สาธารณะไม่เกินร้อยละ 60 แต่วิกฤตครั้งนี้รุนแรงมาก และเป็นเพียงช่วงต้นๆ ของวิกฤต ดังนั้น ยังมีปัญหาอีกมาก โดยเฉพาะความเสียหายของระบบแบงก์ ที่ธนาคารจะเรียกจากกระทรวงการคลัง ซึ่งจีดีพีที่รัฐบาลได้ประเมินไว้ในปีหน้า จะเพิ่ม 3% คงจะยากพอสมควร หรือจีดีพีปีนี้ที่รัฐบาลประเมินติดลบร้อยละ 5.3 อาจประเมินดีไปหน่อย ฉะนั้น ถ้าจีดีพีไม่ได้โตตามที่คาดไว้ ตัวเลขที่นายกฯ กล่าวไว้ก็จะผิดพลาด หนี้สาธารณะก็จะเกิน 60 %

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0