โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

องคมนตรี ยก “ศาสตร์พระราชา” ขจัดปัญหายากจนตรงจุด ลดเหลื่อมล้ำหลังโควิด

เส้นทางเศรษฐี

อัพเดต 13 ก.ค. 2563 เวลา 04.06 น. • เผยแพร่ 12 ก.ค. 2563 เวลา 01.36 น.
107792261_290627375584960_7886629561484295588_n

องคมนตรี ยก “ศาสตร์พระราชา” ขจัดปัญหายากจนตรงจุด ลดเหลื่อมล้ำหลังโควิด

เมื่อเร็วๆ นี้ สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) จัดเวที Recover Forum เพื่อหาแนวทางในการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมของไทยหลังโควิด-19 โดยมีการหารือถึง การขจัดความยากจนอย่างตรงจุด ลดความเหลื่อมล้ำในสังคมไทยยุคหลังโควิด-19  ศ.เกียรติคุณ นพ.เกษม วัฒนชัย องคมนตรี ได้ให้เกียรติบรรยายและร่วมแลกเปลี่ยน

ศ.เกียรติคุณ นพ.เกษม กล่าวว่า โดยส่วนตัวสนใจเรื่องความยากจนมานานแล้ว เพราะได้มีโอกาสถวายงานใกล้ชิดในโครงการหลวง ซึ่งให้ความสำคัญกับปัญหาความยากจน เกิดเป็น “ศาสตร์พระราชา” ที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นเครื่องมือรับมือวิกฤตของโลก และเชื่อว่ากลยุทธ์การพัฒนา การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อววน.) ที่ สอวช.จัดทำนั้น ถือเป็นครั้งแรกที่มีการบรรจุเศรษฐกิจพอเพียงไว้ อยากให้ไปศึกษาศาสตร์พระราชามาปรับใช้เพื่อการแก้ปัญหาความยากจนอย่างตรงจุด เช่น โครงการหลวง โครงการพระราชดำริทั่วประเทศ เป็นโครงการแก้จน ที่พลิกความจนเป็นความพอดี จนไปสู่อยู่ดีกินดี ตลอด 51 ปี ที่น้อมนำแนวคิดของพระองค์มาใช้ ในภาวะวิกฤตก็กระทบแต่สามารถฟื้นตัวได้เร็ว

ศ.เกียรติคุณ นพ.เกษม กล่าวอีกว่า วิกฤตโควิด ทำให้เห็นชัดเจนว่าประเทศไทยมีจุดแข็งสำคัญที่ทั่วโลกยกย่องว่าการจัดการสาธารณสุขได้อย่างยอดเยี่ยม โดยดึงศักยภาพของ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เป็นกำลังสำคัญที่ทำงานกับชุมชนได้อย่างเข้มแข็ง อย่างไรก็ตามก็ยังมีจุดอ่อนแออยู่คือการเตรียมความพร้อม เพื่อรับมือวิกฤต ช่วงที่โรงงานปิดคนตกงาน หลายคนไม่มีแม้แต่ที่อยู่ ทุกวงการได้รับผลกระทบและอยู่ในภาวะชะงักงัน ดังนั้นการเตรียมการเพื่อการรองรับวิกฤตโดยใช้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง จึงเป็นแนวทางที่ตรงจุดและได้ยกวิธีคิดที่ท้าทายของ ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ที่สามารถขจัดความยากจนภายใน 5 ปี (2559 – 2563) ซึ่งในปี 2559 มีคนยากจนอยู่ 80 ล้านคน โดยในปี 2561 ได้มีโอกาสไปดูงานที่มณฑลหูหนาน ซึ่งรัฐบาลมีนโยบายไม่แก้จน เป็นรายบุคคล แต่แก้ใน 2 มิติคือ มิติครอบครัวและมิติชุมชน โดยมอบหมายให้ข้าราชการ 1 คนเป็นพี่เลี้ยง 1 ครอบครัว และมีเป้าหมายต้องหายจน ภายใน 5 ปี อย่าแก้แบบเหวี่ยงแห เพราะรายละเอียดปัญหาของแต่ละครอบครัว แต่ละพื้นที่ ไม่เหมือนกัน

ส่วนในระดับชุมชน มหาวิทยาลัยหูหนาน ซึ่งได้รับมอบหมายให้ไปทำงานกับชุมชน ชาวเขาของจีน เพื่อดำเนินการ 5 เรื่อง คือ 1. ดิน ต้องวิเคราะห์ว่าเหมาะปลูกพืชชนิดไหน 2. น้ำต้องมีทั้งปี 3. ต้องวางแผนว่าข้าวที่เคยปลูก จะเปลี่ยนพันธุ์หรือไม่ โดยคณะเกษตรของมหาวิทยาลัย มาเป็นพี่เลี้ยงตลอดปี  4. การเก็บเกี่ยวจะมีนักวิชาการมาช่วยทำ สมาร์ตฟาร์มมิ่ง 5. ตลาด ต้องหาตลาดให้กับชุมชน โดยให้คณะวิจิตรศิลป์ นำดิจิตอลเข้ามาสอนให้กับชาวบ้าน ออกแบบแพ็กเกจและทำการค้าขายออนไลน์กับต่างประเทศ นอกจากนี้ในทางการแพทย์ มีการเน้นเรื่องการรักษาโรคเฉพาะบุคคล อย่างไรก็ตาม การปรับใช้ในประเทศไทยสามารถทำได้ในบางจุด เพราะแนวนโยบายของรัฐบาล และสภาพสังคมก็แตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่

“โควิด-19 กระตุกต่อมคิดอย่างไม่เคยมีมาก่อน เรามีมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ  มีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล มหาวิทยาลัยราชภัฏ วิทยาลัยชุมชน ตลอดจนมหาวิทยาลัยเอกชนอีกหลายแห่ง จะดึงศักยภาพของมหาวิทยาลัยมาช่วยแก้ปัญหาความยากจนได้อย่างไร เพื่อลดความเหลื่อมล้ำให้กับสังคมโดยมีรัฐบาลร่วมลงทุน ต้องฉีดวัคซีน 4 ด้าน ได้แก่ เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม โดยต้องมีคุณธรรม รู้จริง เอาวิชาการต่างๆ มาใช้ในการวางแผนและปฏิบัติ ขวนขวายและเอาวิชาการใหม่มาใช้ ต้องขยันหมั่นเพียร อดทน” ศ.เกียรติคุณ นพ.เกษม กล่าว

สำหรับกลยุทธ์การพัฒนา อววน. ตามที่ ศ.เกียรติคุณ นพ.เกษม กล่าวว่า เป็นครั้งแรกที่การนำเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการแก้ปัญหาความยากจน นั้น ดร.กิติพงค์ พร้อมวงศ์ ผู้อำนวยการ สอวช. กล่าวว่า สอวช.ได้ดำเนินการจัดทำ กรอบนโยบายและยุทธศาสตร์ อววน. เพื่อการพัฒนา พ.ศ. 2563-2570 โดยมี 6 กลยุทธ์การพัฒนา อววน. คือ 1. สร้างเสริมความมั่นคงของมนุษย์และพลังทางสังคม เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน 2. เปลี่ยนความยากจนสู่ความมั่งคั่งอย่างทั่วถึง 3. ขับเคลื่อนบีซีจี เพื่อบรรลุเป้าหมายการเติบโตที่ยั่งยืนบนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 4. เปลี่ยนผ่านภาคการผลิตอุตสาหกรรมและบริการสู่เศรษฐกิจฐานนวัตกรรม 5. พัฒนาการอุดมศึกษาและกำลังคนตอบโจทย์ประเทศ 6. ปฏิรูประบบ อววน.ให้เกิดประสิทธิผล โดยจะใช้พลังมหาวิทยาลัยลงช่วยเหลือชุมชนทั่วประเทศ

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0