โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

สุขภาพ

หูอื้อ เป็นบ่อยๆ ต้องดูแลอย่างไร?

MThai.com - Health

เผยแพร่ 12 พ.ย. 2561 เวลา 04.17 น.
หูอื้อ เป็นบ่อยๆ ต้องดูแลอย่างไร?
หูอื้อ เป็นอาการที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้กับทุกคน ไม่ว่าจะเป็นตอนที่ขึ้นลิฟท์ ขึ้นเครื่องบิน ว่ายน้ำ มีขี้หูอุดตัน เราลองมาดูวิธีแก้ไขที่ถูกต้องกันค่ะ

หูอื้อ เป็นอาการที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้กับทุกคน ไม่ว่าจะเป็นตอนที่ขึ้นลิฟท์ ขึ้นเครื่องบิน อยู่ในที่ที่มีเสียงดัง ดำน้ำ หรือว่ายน้ำ รวมไปถึงการมีขี้หูอุดตัน มันจะทำให้เราได้ยินไม่ค่อยชัด ดังนั้นเราเลยจะมาแชร์ วิธีดูแลเมื่อเกิดอาการหูอื้อ ที่ถูกต้องให้ฟังกันค่ะ

หูอื้อคืออะไร?

คือมีการได้ยินลดลง ความคมชัดของเสียงลดลง หรือบางรายอาจมีเสียงรบกวนในหู

จะรู้ได้อย่างไรว่าหูอื้อ?

ส่วนใหญ่อาการหูอื้อที่เกิดขึ้นโดยฉับพลันนั้นตัว ผู้ป่วยเองมักรู้สึกถึงความผิดปกติ แต่ในกลุ่มที่อาการค่อยๆ เป็น เจ้าตัวมักไม่ทราบต้องอาศัยผู้ใกล้ชิดปกติ เช่น เรียกไม่ค่อยได้ยินหรือเปิดโทรทัศน์เสียงดัง เป็นต้น

วิธีทดสอบการได้ยินด้วยตัวเองแบบง่ายๆ

ลองใช้นิ้วมือถูกันเบาๆ หน้าหูทีละข้าง สังเกตความแตกต่างของระดับเสียงที่ได้ยิน ซึ่งการทดสอบนี้จะใช้ได้เมื่อหูสองข้างได้ยินไม่เท่ากันเท่านั้น

สาเหตุที่ทำให้หูอื้อ

  1. การอุดกั้นสัญญาณเสียง ซึ่งจะเกิดในส่วนของหูชั้นนอกและหูชั้นกลาง เช่น ขี้หูอุดตัน หูชั้นนอกอักเสบจากการปั่นหูหรือว่ายน้ำบ่อยๆ และหูชั้นกลางอักเสบจากหวัด เป็นต้น

  2. ความผิดปกติในส่วนอวัยวะรับเสียงในหูชั้นในและหรือเส้นประสาทนำเสียงสู่สมอง

หูอื้อควรทำอย่างไร?

ต้องแก้ไขตามสาเหตุ โดยสาเหตุที่พบได้บ่อยมีดังนี้ คือฃ

1. ขี้หูอุดตัน ไม่แนะนำให้ใช้การแคะหู เพราะมักจะเอาขี้หูไม่ออก แล้วยังจะทำให้ขี้หูอัดแน่นและถูกดันลึกมากขึ้น นอกจากนั้นอาจทำให้ช่องหูชั้นนอกเกิดแผล มีเลือดออกและมีการติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำเติม ซึ่งเรียกว่าเกิดภาวะหูชั้นนอกอักเสบได้ ส่วนวิธีที่ปลอดภัยกว่า และแนะนำให้ใช้คือ ลองหยอดยาละลายขี้หู โดยหยอดให้ท่วมรูหูทิ้งไว้สักครู่แล้วเทออก ถ้ายังรู้สึกอื้อ ให้ทำซ้ำอีก 2 – 3 ครั้ง ถ้าอาการไม่ดีขึ้นหรือมีอาการปวดหูร่วมด้วย ควรไปพบแพทย์หู คอ จมูก เพื่อทำการตรวจหูโดยละเอียด และทำความสะอาดช่องหู

2. อาการหูอื้อที่เกิดจากหวัด ควรได้รับการตรวจหูเพื่อดูความผิดปกติในหูชั้นกลาง และตรวจภายในโพรงจมูกร่วมด้วยเนื่องจากมักพบจมูกอักเสบเรื้อรัง หรือไซนัสอักเสบได้บ่อย ในภาวะดังกล่าว

3. อาการหูอื้อที่เกิดหลังจากได้ยินเสียงดังมากๆ เช่น เสียงระเบิด เสียงประทัด หรือหูอื้อที่เกิดขึ้น โดยไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดร่วมกับมีอาการเวียนศีรษะ บ้านหมุน หรือมีเสียงดังรบกวนในหู ควรรีบไปพบแพทย์เฉพาะทาง โดยแพทย์จะตรวจช่องหูและอวัยวะอื่นๆ เพื่อหาสาเหตุ จากนั้นจะส่งตรวจวัดระดับการได้ยิน และอาจส่งตรวจการทำงานของระบบประสาทหู และตรวจเลือดเพิ่มเติม

4. กลุ่มหูตึงในผู้สูงอายุ ควรพาไปพบแพทย์ด้วยเช่นกัน เพื่อตรวจหาความผิดปกติอื่นๆ ที่ทำให้ประสาทหูเสื่อมเร็วกว่าปกติ และรับการประเมินระดับการได้ยินว่าสมควรใช้เครื่อช่วยฟังหรือไม่ เพื่อเลือกชนิดของเครื่องช่วยฟังที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยในแต่ละรายต่อไป

ที่มา : ภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0