โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

หุ้นคืออะไร...หลักการออมในหุ้นทำยังไง ?

Stock2morrow

อัพเดต 21 พ.ย. 2561 เวลา 05.11 น. • เผยแพร่ 21 พ.ย. 2561 เวลา 05.03 น. • Stock2morrow
หุ้นคืออะไร...หลักการออมในหุ้นทำยังไง ?
หุ้นคืออะไร…หลักการออมในหุ้นทำยังไง ?

หุ้นคืออะไร ทำไมต้องออมในหุ้น มีแค่เงินฝากไม่พอใช่ไหมหรือ หลักการของการออมในหุ้นทำยังไง ?

สมัยก่อน… คนมองว่าการนำเงินไปฝากธนาคารมันเสี่ยง มักจะนิยมเก็บไว้ที่บ้านน่าจะปลอดภัยกว่า เพราะฉะนั้นใครก็ตามที่เสี่ยงเอาเงินมาฝากธนาคารก็จะมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยที่สูง อย่างเช่น ช่วงยุคก่อนปี 2540 อัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ประมาณกว่า 10% !!

เช่น ถ้าคุณมีเงินฝากธนาคารอยู่ 1,000,000 บาท ที่อัตราดอกเบี้ย 12% เป็นเวลา 60 ปี เงินก้อนนั้นจะเพิ่มเป็น 1,000 ล้านบาท ! แล้วนี้คือพลังของอัตราดอกเบี้ยทบต้น 

แต่ในปัจจุบันนี้ดอกเบี้ยธนาคารอยู่ที่ 0.5 - 1 % เท่านั้น ดังนั้นการฝากธนาคารในยุคสมัยนี้จึงไม่ใช่ตัวเลือกที่ดีนัก แต่การลงทุนในหุ้น กลับน่าสนใจกว่า เพราะแค่ค่าเฉลี่ยของตลาดหุ้นปันผลเฉลี่ยอยู่ที่ 3% แล้ว 

หุ้นคืออะไร ?

หุ้นที่เรารู้จักกันดี ที่สามารถซื้อขายผ่านตลาดหลักทรัพย์ ปกติบริษัทมหาชนที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่ต้องการระดมเงินทุนจากประชาชน จะนำหุ้นออกมาแบ่งแล้วให้สิทธิแก้ผู้ถือหุ้น ร่วมเป็นเจ้าของบริษัทตามสัดส่วนที่ถือหุ้น โดยปกติผู้ถือหุ้นจะมีสิทธิออกเสียง และประชุมผู้ถือหุ้น รวมถึงได้รับประโยชน์จากเงินปันผล หรืออื่นๆ เช่น เพิ่มทุน ปันผลเป็นหุ้น เป็นต้น 

พูดง่ายๆ ว่า เราถ้าเป็นผู้ถือหุ้นมีสิทธิเป็นเจ้าของกิจการใหญ่ๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็น กลุ่มพลังงาน กลุ่มธนาคาร และกลุ่มสื่อสาร และอื่นๆ อีกมากมาย หรือบริษัทขนาดเล็ก-กลางที่กำลังจะเติบโต เราก็เปรียบเสมือนกับเป็นเจ้าของด้วยเช่นกัน 

หลักการออมในหุ้น ทำยังไงบ้าง เริ่มต้นจาก ?

1. หุ้นนั้นๆ ต้องเป็นเสมือน ที่ดินในทำเลดี คือ มีอนาคต ..ซื้อหุ้นดี ก็เหมือนซื้อที่ดิน

2. หุ้นนั้นๆ จะต้อง มีปันผลให้ผู้ถือหุ้นอย่างสม่ำเสมอ และมากขึ้นเรื่อยๆ ตามการโตของกิจการ

3. เราจะต้องซื้อแล้วถือหุ้นนั้นๆ เสมือนเรามีดินทำเลดี ที่เราไม่อยากขายชั่วชีวิต คือ มองหุ้นเป็นห่านทองคำ ที่จะออกไข่ทองคำเลี้ยงเราจนตาย

4. เราควรซื้อหุ้นนั้นๆ ในเวลาที่เขามีวิกฤต และเป็นเวลาที่คนส่วนใหญ่ขายหุ้นนั้นๆ ซึ่งเราอาศัย Technical เรื่อง Overbought & Oversold ในภาพใหญ่แบบ Week หรือ Month ในการจับจังหวะในการเข้าซื้อ

5. การออมในหุ้นต้องรู้จักการลงทุนเป็น Portfolio เพื่อกระจายความเสี่ยง ..ห้ามทุ่มซื้อหุ้นตัวเดียว

6. นักลงทุนระยะยาว แนวออมในหุ้นมีเวลาเป็นเพื่อน เพราะยิ่งลงทุนยาว ก็ยิ่งขจัดความผันผวน และให้ผลตอบแทนที่ดีขึ้นไปอีก (ระยะสั้นราคาอาจผันผวนขึ้นลงเกิน 50% แต่ในระยะยาวหุ้นดีจะโตสะท้อนมูลค่าที่แท้จริงซึ่งโตหลายสิบเท่า หรือหลายร้อยเท่าตัว จากจุดเริ่มต้น)

7. คนที่ออมในหุ้น ต้องเป็นคนที่เห็นโอกาสในวิกฤตได้ เพราะถ้าหุ้นไม่ได้เกิดวิดฤต ก็ไม่มีทางที่จะซื้อหุ้นนั้นในราคาถูกได้ (No Free Lunch in real world)

8. คนที่ออมในหุ้นจะต้องไม่พยายามซื้อถูกที่สุด เพราะในโลกนี้ไม่มีถูกที่สุด การอยากซื้อถูกที่สุดจะไม่เคยได้ซื้อ

9. การเริ่มลงทุนต้องเริ่มวันนี้เลย ไม่สำคัญว่ามากหรือน้อย แต่ต้องเริ่มเลย เหมือนเล่นกีฬา เราจะรอให้เขาคัดตัวทีมชาติสัปดาห์หน้า แล้วจะเริ่มหัดเล่นสัปดาห์นี้ คงไม่สามารถประสบความสำเร็จในการติดทีมชาติ เราจึงต้องก้าวเข้าสู่ตลาดวันนี้เลยเพื่อเตรียมความพร้อมของจิตใจเพื่อการลงทุนรอโอกาสที่ยิ่งใหญ่

10. กฎเหล็กของการรวยจากหุ้นคือ อยู่ในตลาดนานพอ นั่นคือ อย่างน้อยต้องอยู่ในตลาดหุ้นให้ครบ 10 ปี แม้ว่าจะล้มตลอดเวลา เพราะคุณจะเห็นรอบของหุ้นแบบ 'เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปของหุ้นทุกตัว' และจะเข้าใจแก่นแท้ของตลาด จนสามารถชนะตลาด ก็คือชนะใจตัวเองแล้วรวยจากการออมในหุ้นได้"

-------------------------------------

stock2morrow สรุปแนวคิดสำคัญของหุ้น ทั้งเรื่อง หุ้นคืออะไร และหลักวิธีการออมหุ้นทำยังไงบ้าง หวังว่านักลงทุนมือใหม่จะเข้าใจการลงทุนดียิ่งขึ้น และขอแนะนำเพื่อนๆ มือใหม่ มาเรียนหุ้นกับหลักสูตรรุ่นสุดท้ายที่สอนโดยแพ้ท ภาววิทย์ ที่จะสอนแนวคิด และเครื่องมือการลงทุน เพื่อออมหุ้นให้พอร์ตเติบโตต่อไปได้ในระยะยาว >>>

มือใหม่เข้าใจหุ้น by ภาววิทย์

เรียนหุ้น
เรียนหุ้น

stock2morrow

ศูนย์รวมความรู้เรื่องหุ้น ศูนย์รวมนักลงทุนรายย่อย ที่อยากรู้วิธีการลงทุนในหุ้นอย่างถูกต้องและได้กำไรอย่างยั่งยืน ติดตามเราได้ที่

www.stock2morrow.com 

FB: stock2morrow 

LINE@stock2morrow

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0