โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

สุขภาพ

หึงแค่ไหนถึงเรียกว่าป่วย

Rabbit Today

อัพเดต 18 เม.ย. 2562 เวลา 10.09 น. • เผยแพร่ 18 เม.ย. 2562 เวลา 10.09 น. • Rabbit Today
Jealous-Delusion-health-and-sport-Rabbit-Today-banner

เคยคิดไหมคะว่าการหึงหวงคู่รักหรือคู่สมรสของเรานั้นจะเป็นโรคได้ 

เมื่อไรที่เรามีความสัมพันธ์แบบคู่รักเกิดขึ้น เราก็ต้องการให้คู่รักของเราซื่อสัตย์กับเรา

แล้วเมื่อไรที่ความไม่ซื่อสัตย์เริ่มฉายแววก็เป็นธรรมดาที่เราทุกคนจะเกิดอาการหึงหวง

ดังนั้น ความหึงหวงจึงอาจดูเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้บ่อยในความสัมพันธ์

แต่ก็ยังมิวายมีกรณีหึงหวงที่สร้างความทุกข์ให้กันและกันจนถึงขั้นต้องมาพบจิตแพทย์

เคยไหมที่คุณอยากตรวจตรามือถือของคู่รักตลอดเวลา

เคยไหมที่คุณไม่เป็นอันทำอะไรเพราะกังวลว่าคู่รักกำลังไปหาคนอื่น 

เคยไหมที่นั่งแอบส่องเฟซของแฟนทั้งวัน

เคยไหมที่ไปปรึกษาเรื่องแฟนนอกใจแล้วใครๆ ก็บอกว่าเราคิดมากไปเอง 

เคยไหมที่ความคิดว่าเขามีคนอื่นผุดขึ้นมาในหัวตลอดเวลาโดยอัตโนมัติทั้งที่ไม่มีอะไรมากระตุ้นเลย 

เคยไหมที่เราเองก็รู้สึกทุกข์ทรมานมากจากความคิดนี้และไม่รู้ว่าจะจัดการมันอย่างไร

ถ้าคุณมีภาวะแบบนี้แล้วเลือกที่จะเดินมาพบจิตแพทย์เอง ยังมีความลังเลว่าอาจเกิดจากการคิดไปเอง โอกาสจะเป็นเพราะความป่วยนั้นน้อยมากค่ะ แต่หมอก็ยังอาจจะต้องขอเวลาตรวจเพิ่มเติมเพื่อที่จะค้นหาความหมายของความหึงหวงนี้

แต่ถ้าคุณกลายเป็นคนที่คนรอบข้างจะต้องบังคับหรือจับมาส่งโรงพยาบาลเพราะไม่มีความลังเลสงสัยใดกับความคิดที่เกิดขึ้นเลย และความหึงนี้เริ่มสร้างความเดือดร้อนอย่างไม่สมเหตุสมผล โอกาสที่อาการหึงหวงนี้เกิดจากการป่วยทางด้านจิตเวชมีสูงมาก

สภาวะหึงหวงคู่รักแบบผิดปกตินี้เรียกว่า Jealous Delusion คือหลงผิดว่าคู่ของตนนอกใจ เป็นโรคหลงผิดชนิดหนึ่ง อาการนี้อาจแยกได้ยากจากความจริง จิตแพทย์จึงต้องใช้ระยะเวลาและความละเอียดในการตรวจวินิจฉัย โรคหลงผิด (Delusion) คือความผิดปกติทางความคิดที่ผู้ป่วยเชื่ออย่างสนิทใจในเรื่องที่ไม่เป็นจริง

ไม่สมกับพื้นฐานของเชาว์ปัญญา วัฒนธรรม และความสามารถในการคิดเป็นเหตุเป็นผล โดยผู้ป่วยเองไม่ได้มีอาการหูแว่ว เห็นภาพหลอน ยังสามารถพูดคุยกับผู้อื่นและใช้ชีวิตได้ตามปกติ หากไม่ใช่เรื่องที่ตัวเองกำลังหลงผิดอยู่ 

สาเหตุที่แน่ชัดยังไม่ทราบ อาการหลงผิดนี้โดยทั่วไปจะเป็นมากกว่า 1 เดือน หากไม่ได้รับการรักษาอาจอยู่ยาวนานเป็นปี หรือบางคนอาจเป็นตลอดชีวิต

ในคนที่มีอาการหลงผิด แน่นอนว่าเขาจะตกหลุมของความคิดและเชื่อว่ามันเป็นจริงอย่างสนิทใจ ดังนั้น การที่เราในฐานะของคนใกล้ตัวที่แน่ใจว่าคนข้างกายน่าจะกำลังมีอาการหลงผิด

การพยายามขัดแย้งหรือชี้แจงด้วยเหตุผลอาจจะไม่ได้ช่วย หรืออาจทำให้ผู้ป่วยยิ่งมีภาวะเครียดและหลงผิดมากขึ้น สิ่งที่ดีที่สุดคือการรับฟังความคิด เพื่อรักษาสัมพันธภาพที่ดี พามาพบจิตแพทย์หากมีโอกาสที่เหมาะสม เพราะการรักษาโรคนี้ได้ดีที่สุดคือการให้ยาเพื่อปรับสารเคมีในสมองและการทำครอบครัวบำบัด

สำหรับคนบางคน ในบางสถานการณ์การใช้เหตุผลอาจจะยากเกินไป  แต่ความรู้สึกอยากทำความเข้าใจนั้นเป็นสิ่งสำคัญที่เรามีให้กันและกันได้เสมอ

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0