โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

หายนะแบบสโลว์โมชั่น เมืองฟิลิปปินส์ค่อยๆ จมบาดาล ไม่เว้นร่างในสุสาน

Khaosod

อัพเดต 20 พ.ค. 2562 เวลา 14.46 น. • เผยแพร่ 20 พ.ค. 2562 เวลา 14.30 น.
PHILIPPINES-WATER-CLIMATE
(Photo by Noel CELIS / AFP) FEATURE by Joshua MELVIN

ฟิลิปปินส์เมืองจม ปมสูบน้ำบาดาล ดินทรุด เจอภาวะโลกร้อนซ้ำอีก

ฟิลิปปินส์เมืองจม เซาท์ ไชนา มอร์นิง โพสต์ เผยแพร่รายงานของ เอเอฟพี  ที่เผยสภาพเมืองสิติโอ ปาเรียฮาน ทางตอนเหนือของฟิลิปปินส์ ค่อยๆ จมทะเล ปีละ 4-6 เซนติเมตร แม้แต่คนที่ตายไปแล้ว ร่างฝังอยู่ในสุสานก็ค่อยๆ จมไปด้วย คล้ายเป็นหายนะในจังหวะสโลว์โมชั่น

“ที่นี่เคยสวยงามมาก่อน เด็กๆ เล่นกันบนถนน แต่ตอนนี้เราจำเป็นต้องใช้เรือ” แมรี ซาน โฮเซ ชาวบ้านที่เข้ามาอาศัยที่เกาะปาเรียฮาน เมื่อ 20 ปีก่อน รับรู้ถึงความเปลี่ยนแปลงนี้ทีละน้อย เนื่องมาจากการสูบน้ำบาดาลเข้าไปรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ และผลกระทบจากความเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ หรือภาวะโลกร้อน ทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น

การขุดบ่อสูบน้ำบาดาลตามบ้านเรือน โรงงานและฟาร์มต่างๆ เพื่อให้มีน้ำใช้เพียงพอต่อประชากรที่เพิ่มมากขึ้นและเศรษฐกิจที่ขยายตัวขึ้น ไม่เพียงทำให้ดินทรุด ยังส่งผลให้น้ำกร่อยจากอ่าวมะนิลาไหลบ่าเข้ามาในผืนดิน  ประชาชนอย่างน้อย 5,000 คน ต้องย้ายบ้านหนีไปอยู่ส่วนอื่นของภูมิภาคและหลงเหลือเพียงไม่กี่คนเท่านั้นที่ทนอยู่ในเมืองแห่งนี้

เด็กๆ ที่นี่ต้องไปโรงเรียนด้วยเรือเป็นเวลา 20 นาทีกว่าจะถึงโรงเรียนในฝั่งและประชาชนต้องพายเรือไปโบสถ์แทนการเดิน

นักวิทยาศาสตร์ชี้แจงว่าภาพจากดาวเทียมแสดงให้เห็นว่าจังหวัดปัมปังกาและจังหวัดบูลากัน ที่ตั้งของหมู่บ้านปาริฮาน มีระดับน้ำสูงขึ้น 4-6 ซ.ม. ต่อปี ตั้งแต่ปี 2546 ขณะที่สหประชาชาติคาดการณ์ว่าระดับน้ำทะเลโลกสูงขึ้นปีละ 3 ม.ม.

บางพื้นที่จึงต้องถมถนนให้สูงกว่าระดับน้ำท่วม จึงเห็นถนนบางสายที่ระดับผิวถนนสูงถึงลูกบิดบานประตูบ้านริมถนนเลยทีเดียว เนื่องจากปัญหาดินทรุดตัวเป็นปัญหาที่แก้ไม่ตกเเพราะดินส่วนใหญ่เป็นดินเหนียว

ส่วนพื้นที่ชายฝั่งบางส่วนของกรุงมะนิลาก็จมน้ำเช่นเดียวกันเนื่องจากสูบน้ำบาดาลมากเกินไป แต่ระดับน้ำเพิ่มขึ้นช้ากว่าทางตอนเหนือของประเทศเพราะสูบน้ำบาดาลน้อยกว่าและดินเป็นดินคนละชนิดกัน อีกทั้ง เมืองรอบๆ กรุงมะนิลาก็ออกกฎห้ามขุดเจาะบ่อบาดาลมาตั้งแต่ปี 2547

ขณะที่มีความต้องการน้ำที่มากขึ้น โดยเฉพาะภาคการเกษตรและอุตสาหกรรม เนื่องจากประชากรในกรุงมะนิลาเพิ่มขึ้นเท่าตัวตั้งแต่ปี 2528 และเศรษฐกิจเติบโตขึ้น 10 เท่า

ส่วนเมืองใหญ่ในเอเชียก็เผชิญปัญหาเดียวกัน เช่น กรุงจาการ์ตา ของอินโดนีเซีย น้ำท่วมประมาณ 25 ซ.ม. ต่อปี แม้มีแม่น้ำ 13 สายที่ไหลมาบรรจบกันในเมืองหลวงที่ีมีประชากรประมาณ 10 ล้านคน แต่ประชากรครึ่งหนึ่งไม่มีน้ำประชาใช้ ทำให้ต้องลักลอบขุดเจาะบ่อบาดาล

อ่านข่าว : จาการ์ตา เมืองที่ทรุดตัวเร็วที่สุดในโลก

นอกจากนี้ กรุงเทพและเซี่ยงไฮ้ก็ประสบปัญหาน้ำท่วมมานานหลายสิบปีแล้วเพราะการจัดการที่ไม่ดี และยังมีพายุกระหน่ำปีละหลายลูก รวมทั้ง ระดับน้ำที่สูงขึ้น ทำให้กลายเป็นปัญหาถาวรไปเสียแล้ว

youtube
0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0