โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

หากเจอ ‘ขน’ ในไก่เหมือนเธอคนนี้ ในฐานะผู้บริโภคมี ‘สิทธิ’ มากน้อยแค่ไหน…

Rabbit Today

อัพเดต 19 ก.ย 2562 เวลา 03.50 น. • เผยแพร่ 19 ก.ย 2562 เวลา 03.50 น. • ธีรภัทร์ เตชะเอื้อย
กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค

อาหารที่หยิบเข้าปากนั้นควรสะอาด ปลอดภัย และถูกหลักอนามัยจริงไหม! แล้วถ้ามีอะไรก็ไม่รู้ไปอยู่ในอาหารเหมือนกับสาวคนหนึ่งที่สั่งไก่ทอดเจ้าดัง หวังกินให้อร่อย แต่กลับต้องชะงักเพราะเจอขนอะไรก็ไม่รู้ปนมากับไก่จนเป็นเรื่องเป็นราวดราม่ายกใหญ่ แต่อย่างไรก็ดีทางไก่ทอดเจ้าดังได้ออกมารับผิดชอบ โดยการมอบบัตรกำนัล จำนวน 2,000 บาท และหญิงสาวผู้เสียหายก็ไม่ติดใจเอาความแต่อย่างใด

แล้วกรณีแบบนี้เราจะเรียกร้องอะไรได้บ้างล่ะ? สิทธิสำหรับผู้บริโภคมีมากน้อยแค่ไหนกันนะ?  

กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2541 (ฉบับที่ 2) บัญญัติสิทธิของผู้บริโภคที่จะได้รับความคุ้มครองตอนหนึ่งดังนี้

  • สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าหรือบริการ ได้แก่ สิทธิที่จะได้รับสินค้า หรือบริการที่ปลอดภัยมีสภาพและคุณภาพได้มาตรฐานเหมาะสมแก่การใช้ ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิตร่างกาย หรือทรัพย์สิน ในกรณีใช้ตามคำแนะนำ หรือระมัดระวังตามสภาพของสินค้า หรือบริการนั้นแล้ว
  • สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาและชดเชยความเสียหาย ได้แก่ สิทธิที่จะได้รับการคุ้มครอง และชดใช้ค่าเสียหายเมื่อมีการละเมิดสิทธิของผู้บริโภค

จะเห็นได้ว่ากฎหมายนั้นมุ่งคุ้มครองผู้บริโภคอย่างเราๆ อยู่แล้วละ หากผู้บริโภครู้สึกว่าโดนเอาเปรียบจากสินค้าและบริการ และการกระทำเหล่านั้นเกิดขึ้นต่อผู้บริโภคจริง ถือว่าการกระทำนั้นได้ละเมิดสิทธิโดยตรง ผู้บริโภคจึงมีสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองทางกฎหมายอย่างเป็นธรรม 

ยังจำคดีหญิงสาวคนหนึ่งในรัฐฟลอริดาของสหรัฐฯ ที่ถูกกาแฟร้อนร้านดังลวกจนได้รับบาดเจ็บกันได้ไหม หลายคนมองว่าเป็นเรื่องเล็ก แต่เธอกลับไม่ยอม โดยมองว่าทางร้านกาแฟเจ้าดังไม่บอกกล่าวกับเธอก่อน ว่าให้ระมัดระวังฝาของแก้วกาแฟอาจจะเปิดเอง เป็นเหตุให้เธอถูกน้ำร้อนลวก และศาลได้ตัดสินให้ร้านกาแฟเจ้าดังจ่ายเงินชดใช้ถึง 100,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ เลยทีเดียว ทั้งนี้ทั้งนั้นความยุติธรรมก็ต้องว่ากันตามจริง แต่ไม่ใช่การทำให้ตัวเองเดือดร้อนเอง แล้วจะเร่งเอาผิดกับผู้ประกอบการ แบบนี้ตัวผู้บริโภคเองอาจมีความผิดฐานแจ้งความเท็จ หรือศาลอาจมองว่าไม่เป็นความผิดของผู้ประกอบการก็ได้

ด้านผู้ประกอบการก็ต้องการให้สินค้าของตนมีคุณภาพที่สุด เพื่อตอบสนองผู้บริโภคที่ต้องการความพึงพอใจจากสิ่งตอบแทนที่ตนได้จ่ายไป หากมีเหตุการณ์ที่ไม่เป็นธรรรม หรือการละเมิดเกิดขึ้น กฎหมายที่สร้างมาเพื่อคุ้มครองทั้ง 2 ฝ่ายก็พร้อมที่จะให้ความเป็นธรรมอย่างแน่นอน

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0