โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

หากคนไทยไม่ได้มาจาก 'เทือกเขาอัลไต' แล้วสถานที่แห่งนี้คืออะไร และอยู่ที่ใดบนโลกใบนี้!?

Amarin TV

เผยแพร่ 15 พ.ย. 2561 เวลา 05.38 น.
หากคนไทยไม่ได้มาจาก 'เทือกเขาอัลไต' แล้วสถานที่แห่งนี้คืออะไร และอยู่ที่ใดบนโลกใบนี้!?
เป็นอีกหนึ่งประเด็นที่มีการถกเถียงกันอย่างกว้าง สำหรับแผ่นดินต้นกำเนิดของคนไทย ว่าอยู่ ณ ที่แห่งใดบนโลกบนนี้กันแน่ และมีหลายคนที่เชื่อว่า 'เ

เป็นอีกหนึ่งประเด็นที่มีการถกเถียงกันอย่างกว้าง สำหรับแผ่นดินต้นกำเนิดของคนไทย ว่าอยู่ ณ ที่แห่งใดบนโลกบนนี้กันแน่ และมีหลายคนที่เชื่อว่า ‘เทือกเขาอัลไต’ เป็นที่ตั้งดั้งเดิมของชาวไทยสมัยโบราณ ก่อนจะอพยพลงมาจนถึงบริเวณประเทศไทยในปัจจุบัน แต่ปัจจุบันนี้ความคิดดังกล่าวไม่ได้รับการสนับสนุนจากนักวิชาการส่วนใหญ่ (แม้ว่าจะยังมีเนื้อหาเช่นนี้ปรากฏในตำราเรียน หรือหนังสือด้านประวัติศาสตร์บางฉบับ)

ซึ่งล่าสุด ศาสตราจารย์ ดร.เสมอชัย พูลสุวรรณ ได้นำเสนอข้อมูล และผลการศึกษาดีเอ็นเอโดยใช้ตัวอย่างจากโครงกระดูกมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ทางภาคอีสานของไทย ศึกษาเปรียบเทียบกับคนพูดภาษาตระกูลไททางตอนใต้ของประเทศจีน, คนไทยในภูมิภาคต่างๆ รวมถึงคนที่อยู่อาศัยในแถบเทือกเขาอัลไต พบว่า คนไทยไม่ได้มาจากเทือกเขาอัลไต แต่อพยพเคลื่อนย้ายมาจากตอนใต้ของจีน มีความสัมพันธ์ทางพันธุกรรรมใกล้ชิดทางพันธุกรรมกับคนภาคใต้ของจีนหลายกลุ่ม รวมถึงชาวจ้วง ซึ่งพูดภาษาตระกูลไต ปัจจุบันยังอาศัยในมณฑลกวางสี

มาถึงตรงนี้ เชื่อว่าหลายคนเกิดคำถามว่า หากคนไทยไม่ได้มาจาก ‘เทือกเขาอัลไต’ แล้วสถานที่แห่งนี้คืออะไร และอยู่ที่ไหนบนโลกใบนี้กันแน่ เอาเป็นว่างานนี้ AmarinTV ขอพาทุกคนไปทำความรู้จักกับเทือกเขาที่ว่านี้กันสักหน่อยดีกว่า ว่ามันคืออะไรกันแน่!?

<strong>wikipedia.org : แผนที่และพิกัดของเทือกเขาอัลไต</strong>
wikipedia.org : แผนที่และพิกัดของเทือกเขาอัลไต

ว่ากันตามหลักภูมิศาสตร์แล้ว เทือกเขาอัลไต คือเทือกเขาแห่งหนึ่งที่ตั้งอยู่ในเอเชียกลาง บริเวณพรมแดนร่วมของประเทศรัสเซีย จีน มองโกเลีย และคาซัคสถาน ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดของแม่น้ำสำคัญหลายสาย อาทิ แม่น้ำอิร์ทีช (Irtysh) แม่น้ำอ็อบ (Ob) และแม่น้ำเยนิเซ (Yenisei)

ทั้งนี้คำว่า อัลไต (Alytau หรือ Altay) ตามภาษามองโกเลีย นั้นหมายถึง ‘หุบเขาทองคำ’ แม้ว่าที่นี่จะไม่ได้มีทองคำตามชื่อ ทั้งยังเป็นดินแดนแห่งนี้เต็มไปด้วยเทือกเขาสูงตระหง่านอันยากแก่การปีนป่าย และมีอากาศเย็นจัดตลอดทั้งปี โดยยอดเขาที่สูงที่สุดของเทือกเขาอัลไต คือยอดเขาเบลูกา ที่อยู่ในดินแดนของคาซักสถาน สูงกว่าระดับน้ำทะเลถึง 4,500 เมตร

<strong>wikipedia.org : ยอดเขาเบลูชา แห่งเทือกเขาอัลไต</strong>
wikipedia.org : ยอดเขาเบลูชา แห่งเทือกเขาอัลไต
<strong>wikipedia.org</strong>
wikipedia.org
<strong>wikipedia.org</strong>
wikipedia.org

แต่นอกเหนือจากโซนเทือกเขาอันหนาวเย็น เทือกเขาอัลไตยังมีที่ราบระหว่างหุบเขาที่อุดมไปด้วยทุ่งหญ้าและทะเลสาบสวยงาม เหมาะแก่การเลี้ยงสัตว์ หรือการท่องเที่ยวอยู่ด้วย รวมถึงยังเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์หายากเช่นเสือดาวหิมะ และด้วยความหลากหลายเช่นนี้ ทำให้อัลไตได้รับการยกย่องจากองค์การยูเนสโกให้เป็นมรดกโลก ภายใต้ชื่อ หุบเขาทองคำอัลไต เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีภูมิประเทศหลากหลาย ตั้งแต่ทุ่หญ้าสเต็ปไปจนถึงป่าสนและป่าเบญจพรรณ

สำหรับชาวอัลไตที่อาศัยอยู่ในบริเวณเทือกเขาแถบนี้นั้น ยังคงรักษาขนบธรรมเนียมแบบดั้งเดิมเอาไว้แทบทุกประการ และแม้ว่าวัฒนธรรมความเป็นอยู่ของพวกเขาจะคล้ายคลึงกับชาวทิเบตหรือชาวจีน แต่ที่จริงคนกลุ่มนี้เป็นชาวเติร์ก เผ่าพันธุ์เดียวกับชาวเอเชียกลางอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นชาวอุยกูร์ในจีน หรือชาวคาซัก ทาจิก และคีร์กีซซึ่งไม่ได้มีเชื้อจีน มองโกล หรือไทยแต่อย่างใด

<strong>wikipedia.org</strong>
wikipedia.org
<strong>wikipedia.org</strong>
wikipedia.org
<strong>wikipedia.org</strong>
wikipedia.org

ที่มา – wikipedia.org

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0