โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

หอยเชลล์ไฟฟ้า

Thairath - ไทยรัฐออนไลน์

อัพเดต 17 ก.ค. 2562 เวลา 10.20 น. • เผยแพร่ 17 ก.ค. 2562 เวลา 22.01 น.
ภาพไฮไลต์
ภาพไฮไลต์

งานประมงน้อมเกล้าที่เพิ่งผ่านไป หลายคนคงสงสัยถึงหอยทะเลเปลือกขาว มีขนสีแดง ที่กรมประมงนำมาโชว์ไว้ในตู้ ว่าคือหอยอะไร

มนทกานติ ท้ามติ้น ผอ.ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งเพชรบุรี ไขปริศนามันคือ “หอยไฟ” (Electric Scallop) หรือ หอยเชลล์ไฟฟ้า มีเปลือกแข็งสีขาวและหนวดสีแดงยื่นออกมา มีลักษณะคล้ายกับเปลวไฟขนาดยาวสูงสุดประมาณ 10 ซม. และมีกระแสไฟฟ้าอยู่ในปากหอยด้วย

มีถิ่นกำเนิดในทะเลแคริบเบียน พบในแนวปะการัง เป็นสัตว์กินพืช อาหารส่วนใหญ่ คือแพลงก์ตอนพืช ไม่ใช่สัตว์ที่มีพิษ จึงมักตกเป็นเหยื่อของปูทะเล ดาวทะเล และกุ้ง มีการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ โดยปล่อยน้ำเชื้อและไข่ลงในมวลน้ำ สืบพันธุ์ได้ตลอดปี แต่ช่วงที่มีการสืบพันธุ์สูงสุด คือปลายฤดูร้อน

โดย น.ส.ลินซี่ ดอเทอรี่ นักชีววิทยา มหาวิทยาลัยเบิร์คลีย์ ของสหรัฐอเมริกา ได้ศึกษาพฤติกรรมของหอยเชลล์ไฟฟ้า ที่พบได้บริเวณชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก โดยหอยชนิดนี้ถูกตั้งชื่อตามพฤติกรรมการเรืองแสงแบบเส้น ที่มีลักษณะคล้ายกับกระแสไฟฟ้า ทำให้คนส่วนใหญ่มักเข้าใจผิด คิดว่าการเรืองแสงของหอยเชลล์ไฟฟ้าเกิดจากการเรืองแสงทางชีวภาพ

แต่ที่จริงแล้วเกิดจากเซลล์บริเวณปากของหอยหลายพันเซลล์ ซึ่งมีคุณสมบัติในการรับแสง และสะท้อนกลับออกมาในรูปแบบเส้นคล้ายกับกระแสไฟฟ้า

และเมื่อดูภาพจากวิดีโอช้าๆ จะเห็นว่าแสงที่ออกมาจากหอยเชลล์ไฟฟ้า เกิดจากการสะท้อนแสงออกมาจากบริเวณปากหอยที่มีเซลล์รับแสง สลับขึ้นลงกับบริเวณที่ไม่มีเซลล์รับแสง ไม่ใช่การเปล่งแสงออกมาด้วยการเรืองแสงทางชีวภาพแต่อย่างใด.

ข่าวอื่นที่เกี่ยวข้อง

ตามข่าวก่อนใครได้ที่
- Website : www.thairath.co.th
- LINE Official : Thairath

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0